เลขาฯครป. ฮึ่ม! นายกฯต้องรับผิดชอบ ปมรายชื่อบุคคลที่ต้องเฝ้าระวัง


เพิ่มเพื่อน    

11 ส.ค.64 - นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวว่า วันก่อนเครือข่ายภาคประชาชนได้มีการประชุมกันและจะร่วมกันจับตาสถานการณ์ความขัดแย้งบานปลายในเดือนสิงหาคมนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากจะมีการชุมนุมทางการเมืองจำนวนมากจากหลากหลายกลุ่ม และรัฐสภายังไม่เปิดประชุมหาทางออกให้บ้านเมือง เพราะพรรคร่วมรัฐบาลมัวไปล็อบบี้คดีทุจริตแสนล้านกันอยู่

นายเมธา กล่าวว่า บทเรียนการชุมนุมของประชาชนในวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมานั้น หลายฝ่ายห่วงใยเรื่องสถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชน รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องตระหนักว่าการชุมนุมที่ไร้แกนนำผู้ชุมนุมมีหลากหลายกลุ่ม ในรายงานของฝ่ายความมั่นคงก็มีกลุ่มราษฎรมากกว่า 29 กลุ่มและกลุ่มการ์ดมากกว่า 5 กลุ่ม การจัดการการชุมนุมจึงต้องอยู่บนหลักการสิทธิมนุษยชน หลักการสลายการชุมนุม กฎและมาตรฐานสากลในการใช้กำลังอย่างเข้มงวด เพราะไม่เหมือนการชุมนุมในอดีตที่มีแกนนำและมีการเจรจากันอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการกระทำของมือที่สามร่วมกันเพื่อป้องกันเหตุความรุนแรง

"ดังนั้น หากศึกษาบทเรียนจากการจลาจลในยุโรป การใช้กำลังจากเบาไปหาหนักจะต้องเพียงเพื่อการป้องกันความปลอดภัยของตนเองและผูุ้ชุมนุม เจ้าหน้าที่จะต้องไม่ขยายผลความรุนแรงทางกายภาพด้วยการปราบปรามด้วยความรุนแรงจนเหตุการณ์บานปลายและส่งผลให้เกิดความรุนแรงต่อผู้อื่น และผู้กระทำความผิดทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องรับผิดทางอาญาในภายหลังหากมีหลักฐานปรากฎชัดว่าได้กระทำความผิดทางอาญาอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้กระทบสิทธิ์ของประชาชนที่มาชุมนุมโดยสงบตามสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน"

โดยนอกจากรัฐธรรมนูญและกฎหมายไทยที่พึงระวังกระทำผิดทางอาญาตามมาตรา 157 แล้ว กฎกติกาสากลที่เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องปฏิบัติอย่างเข้มงวดประกอบด้วย 1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR)  2) หลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย (Basic Principles of the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials) ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อจำเลย  3) หลักปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย (Code of Conduct for Law Enforcement Officials)  และ 4) แนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุยชนของสหประชาชาติว่าด้วยการใช้อาวุธที่มีความร้ายแรงต่ำในการบังคับใช้กฎหมาย (United Nations Human Rights Guidance on Less-Lethal Weapons in Law Enforcement) 

เลขาฯครป. กล่าวด้วยว่า การแก้ปัญหาความขัดแย้งจึงต้องมีช่องทางกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติและเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องทำงานต่อไปแม้ว่ารัฐบาลใครจะไปรัฐบาลไหนจะมา การรับใช้ผู้มีอำนาจโดยเห็นผู้ชุมนุมไม่ใช่ประชาชนเจ้าของประเทศเป็นเรื่องที่ผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และจะทำให้เกิดการปะทะอย่างต่อเนื่องในอนาคต เพราะยุทธการณ์แคปซูลน้ำมันวันก่อนที่ท้องสนามหลวงคือยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดของรัฐบาลและเป็นความพยายามสร้างสถานการณ์ความรุนแรงโดยฝ่ายรัฐอย่างชัดเจน เพื่อโหมไฟแห่งความขัดแย้งและสถาปนาอำนาจต่อไป หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงสำนักงานพระราชวังควรออกมาท้วงติงเรื่องนี้ด้วย 

การที่เจ้าหน้าที่รัฐจัดทำรายชื่อบุคคลที่ต้องเฝ้าระวัง (Watchlist) นั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจน และจะต้องมีความรับผิดชอบตามมา ขอให้ ผบ.ตร.ออกมาชี้แจงเรื่องนี้และยุติการปฏิบัติในลักษณะรัฐตำรวจ (Police State) เพราะตอนนี้ประเทศไทยแทบจะแบกรับความล้มเหลวของระบอบประยุทธ์ไว้ไม่ไหวแล้ว อย่าให้ตำรวจกลายเป็นเครื่องมือของทหารเลวอีกเลย นอกจากนั้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ได้ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการหากการใช้อํานาจของรัฐเป็นไปโดยไม่สุจริต เลือกปฏิบัติ หรือเกินสมควรแก่เหตุ 

การที่ศาลแพ่งมีคำสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติในฐานะจำเลยระมัดระวังในการควบคุมและสลายการชุมนุมโดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของสื่อนั้น เป็นที่ชัดเจนว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีมิชอบ และจะต้องรับผิดด้วย แม้วันนี้จะออกมายกเลิกประกาศฉบับที่ 29 คำสั่งปิดปากสื่อมวลชนห้ามเสนอข่าวที่ทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวไปแล้วก็ตาม หลังศาลแพ่งสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามใช้ข้อกำหนดดังกล่าว  แต่คำสั่งที่ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม ถึงวันที่ 9 สิงหาคมนั้นเป็นวันที่กฎหมายบังคับใช้โดยมิชอบไปเรียบร้อยแล้ว นายกรัฐมนตรีต้องแสดงความรับผิดชอบชั่วดีในเรื่องนี้ด้วย รวมถึงต้องยกเลิกฉบับที่ 27 และฉบับอื่นๆ ที่ใช้อำนาจโดยมิชอบที่ผ่านมาด้วย

การใช้อำนาจตาม พรก.ฉุกเฉินฯ ทั้งๆ ที่มี พ.ร.บ.โรคติดต่ออยู่แล้ว ก็เพียงเพื่อคุ้มครองความผิดพลาดของนายกฯ เท่านั้น ในการเลี้ยงไข้โควิด-19 แต่ท่านไม่เข้าใจว่า อำนาจมีแนวโน้มแห่งความฉ้อฉลอยู่ในตัวเอง และอำนาจเด็ดขาดจึงฉ้อฉลอย่างเบ็ดเสร็จ และไม่สามารถใช้แก้โควิดระบาดได้ เพราะ พรก.ฉุกเฉินฯ  มีเจตนารมณ์ให้อํานาจฝ่ายบริหารใช้อํานาจพิเศษบางประการสําหรับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติลงโดยเร็ว แต่พล.อ.ประยุทธ์ พยายามลากยาว

"ส่วนการพยายามออก พรก.จำกัดความรับผิดฯ นั้น เป็นการใช้บุคลากรทางการแพทย์เป็นข้ออ้าง เพราะเหมือนรัฐบาลบังคับหมอ-พยาบาลรักษาโรคตามที่ตนวินิจฉัยและให้วัคซีนผิดพลาด พล.อ.ประยุทธ์และพวกจึงกลัวความผิดจากการใช้อำนาจเผด็จการดังกล่าวจะย้อนกลับมาทำร้ายตนเอง แม้พรก.ฉุกเฉินฯ จะป้องกันความผิดทางแพ่ง ทางอาญาและทางปกครอง แต่เฉพาะการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็นเท่านั้น และไม่ได้ตัดสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ดังที่ศาลรับไต่สวนคุ้มครองชั่วคราว รัฐบาลจึงใช้วิชาเดิมในการออกกฎหมายนิรโทษกรรมตนเอง แต่ไม่ได้สนใจการนิรโทษกรรมคดีทางการเมืองที่ตนเองก่อขึ้นต่อประชาชนเพื่อสร้างความปรองดองในสังคมตามเป้าหมายที่เป็นข้ออ้างของคสช.แต่อย่างใด" เลขาฯครป.ระบุ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"