6เส้นทางเสมือนจริงสัมผัส’อุทยานธรณีโลกสตูล’


เพิ่มเพื่อน    

 

เส้นทางข้ามกาลเวลา ชวนสัมผัสธรรมชาติและความงามทางธรณีวิทยา

 

 

 

 

         อุทยานธรณีโลกแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจากยูเนสโก คือ อุทยานธรณีโลกจังหวัดสตูล และนับเป็นอุทยานธรณีโลกลำดับที่ห้าในภูมิภาคอาเซียน สร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนไทย

         แม้วิกฤตโควิดเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง แต่มีทางเลือกยอดฮิตเป็นการท่องเที่ยวเสมือนจริง เร็วๆนี้ เตรียมพบกับมหกรรมที่จะพาทุกคนมารู้จักและสัมผัสกับอุทยานธรณีโลกสตูลให้มากขึ้นผ่านการเที่ยวทิพย์ อุทยานธรณีโลกสตูล ปีปกติใหม่ 2564 (Virtual Satun UNESCO Global Geopark Tourism in the New Normal Year 2021 Festival) ระหว่างวันที่ 23-24 .ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมเปิดโลกธรณีวิทยาเพื่อการท่องเที่ยว อุทยานธรณีโลกสตูลจาก 500 ล้านปี สู่ขุนคีรียิ่งใหญ่ จัดโดยกรมทรัพยากรธรณี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองปีสากลแห่งถ้ำและคาสต์

เส้นทางเชื่อมทะเลอันดามันสู่ทะเลโบราณ 1ใน 6 เส้นทางสตูล 

 

 

        ไฮไลท์ชวนเดินทางท่องเที่ยวและเพลิดเพลินไปกับ 6 เส้นทางเสมือนจริง (Virtual Trails) กับอุทยานธรณีโลกสตูล  ประกอบด้วย 1.เส้นทางถ้ำเลสเตโกดอน LE STEGODON , THE LONGEST SEA CAPE TRAIL 2.เส้นทางข้ามกาลเวลา TIME TRAVELLER’S TRAIL  3.เส้นทางตื่นตาท่องป่าหินปูน SATUN KRAST WONNERER’S TRAIL

          4.เส้นทางท่องดงฟอสซิลเขาน้อย KHOANOI FOSSIL EEXPLORER’S TRAIL 5.เส้นทางบุกถ้ำ-ทะลุป่าหลุมยุบโบราณ ANCIENT SINKHOLE FOREST TRAIL และ 6.เส้นทางเชื่อมทะเลอันดามันสู่ทะเลโบราณ ANDAMAN SEA - ANCIENT SEA TRAVELLING TRAIL ผ่านเว็บไซต์ www.dmr.go.th พร้อมย้อนอดีตท่องโลกบรรพกาลไปกับ 7 นิทรรศการอุทยานธรณีเสมือนจริงผ่านระบบ Virtual Exhibition สนใจลงทะเบียนออนไลน์ได้แล้ววันนี้คลิกลิงก์ https://forms.gle/CxC2KjZqHbggB7Lp9

 

เพลิดเพลินกับเส้นทางเสมือนจริงที่เกาะตะรุเตา 

 

    สตูลเป็นจังหวัดเล็ก ทางภาคใต้ แต่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ทั้งทะเล น้ำตก ภูเขา ถ้ำหิน ป่าไม้ รวมถึงชนิดพันธุ์สัตว์ ช่วยเติมเต็มให้เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติมากมาย ความสมบูรณ์ทางธรรมชาตินี้เองเป็นที่มายูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานธรณีโลกแห่งแรกในบ้านเรา

    อุทยานธรณีโลกสตูล ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอมะนัง อำเภอทุ่งหว้า อำเภอละงู และอำเภอเมือง มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทางธรณีวิทยามากกว่า 70 แห่ง แต่ละสถานที่ล้วนมีความงดงามและความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ที่เหล่านักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติรู้จักกันดี เช่น ถ้ำเจ็ดคต ถ้ำภูผาเพชร น้ำตกวังสายทอง เกาะไข่ เกาะตะรุเตา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา ถ้ำเลสเตโกดอน เป็นต้น

รู้จักหลักฐานทางธรณีวิทยาผ่านเที่ยวทิพย์อุทยานธรณีโลกสตูล

 

       ทุกสถานที่ท่องเที่ยวภายในอุทยานธรณีสตูล มีความเก่าแก่ทางธรรมชาติ เพราะแผ่นดินอุทยานธรณีโลกเริ่มต้นมาจากยุคแคมเบอเรียนที่มีอายุมากกว่า 500 ล้านปี หลักฐานที่ค้นพบ คือ ซากสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่มีการค้นพบที่หินสีแดงในบริเวณหมู่เกาะตะรุเตา รวมถึงหลักฐานธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ตลอดจนโบราณวัตถุและแหล่งโบราณคดีอันล้ำค่าและมีอายุเก่าแก่ แสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นทางธรณีวิทยาของจังหวัดสตูลที่มีมาช้านาน ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณี จัดตั้งพิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีสตูล แหล่งเรียนรู้สำคัญคู่ .ทุ่งหว้า รวบรวมเรื่องราววิวัฒนาการทางธรรมชาติให้ทุกคนได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้ไว้ในแห่งนี้ โดยเฉพาะความรู้ด้านธรณีวิทยารับรองเต็มอิ่มแน่นอน

       สมหมาย  เตชวาล อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า  กิจกรรมเที่ยวทิพย์อุทยานธรณีโลกสตูล ปีปกติใหม่ 2564 หวังให้ผู้เข้าชมได้รับความผ่อนคลายจากการสัมผัสธรรมชาติผ่านการท่องเที่ยวเสมือนจริง และได้รับความรู้ความเข้าใจในวิวัฒนาการของโลกจากหลักฐานทางธรณีวิทยาและนิเวศวิทยา การเรียนรู้วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนผ่านผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่หลอมรวมเรื่องราวของอุทยานธรณีไว้ด้วยกัน

           อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี บอกด้วยว่า ไฮไลท์ไม่ได้มีเพียงเที่ยวทิพย์อุทยานธรณีโลกสตูล แต่ในงานมหกรรมเปิดโลกธรณีวิทยาฯ จะมีการนำเสนอทิศทางและบทบาทของงานด้านอุทยานธรณีระดับโลกกับการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการขับเคลื่อนอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก พร้อมการนำเสนอการพัฒนาและกลไกการขับเคลื่อนอุทยานธรณีของประเทศไทย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละอุทยานธรณีเพื่อพัฒนาและต่อยอดงานด้านอุทยานธรณีของประเทศให้ก้าวหน้าต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"