ไขปริศนาสิ่งมีชีวิตหายากใน”แหล่งวาฬอำแพง”


เพิ่มเพื่อน    

ฟอสซิลชิ้นส่วนครีบแขนวาฬอำแพงที่มีสภาพสมบูรณ์

 

 

     ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักธรณีวิทยาร่วมกันคลี่คลายปริศนาการตายของวาฬเมื่อหลายพันปีก่อนจนกลายเป็นซากฟอสซิลขนาดมหึมาที่ปรากฎในพื้นที่ตำบลอำแพงอำเภอบ้านแพ้วจังหวัดสมุทรสาครพบว่าวาฬอำแพงมีอายุกว่า 3,300 ปี 

           บริเวณบ้านแพ้วสมุทรสาครดังกล่าวเป็นทะเลโบราณราว 6,000 – 5,000 ปีก่อน ขอบเขตครอบคลุมเข้าไปถึงพื้นที่บางส่วนของจังหวัดสุพรรณบุรี,อ่างทอง,สิงห์บุรีลพบุรี,สระบุรีและฉะเชิงเทรา กระทั่งสมัยโฮโลซีนตอนปลายหรือประมาณ 5,000 – 2,000 ปีก่อนทะเลได้มีการลดระดับลงมาบริเวณจังหวัดสมุทรสาครจึงถูกปกคลุมด้วยตะกอนดินเหนียว ซึ่งเป็นชั้นที่พบซากกระดูกวาฬ      ทั้งนี้ การถ่อยร่นของทะเลยังคงมีต่อเนื่องจนปัจจุบันชายทะเลห่างจากจุดพบซากวาฬไปถึง 15 กิโลเมตร 

      “วาฬอำแพง” นับว่าเป็นซากฟอสซิลที่มีความสมบูรณ์มากถึง 90%  ซากกระดูกที่พบรวม  138 ชิ้น ขนาดความยาวประมาณ 12.5 เมตร ขณะนี้ทีมดูแลและอนุรักษ์ฟอสซิลไว้ที่  ณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ ปทุมธานี 

       นอกจากนี้ บริเวณที่พบซากวาฬ ยังมีซากหอยไรน้ำ กาบหอย  ซากปลากระดูกอ่อน พืชพรรณ สื่อความหลากหลายทางชีวภาพ นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เป็นการค้นพบหลักฐานทางธรณีวิทยาที่มีความสำคัญต่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศโบราณของพื้นที่ที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนด้านทิศตะวันตกอีกด้วย

 

กระดูกสันหลังวาฬอำแพงที่อยู่ในขั้นตอนอนุรักษ์

 

      ในเวทีประชุมหัวข้อ”สภาพแวดล้อมบรรพกาลกับวาฬอำแพง” จัดโดยกรมทรัพยากรธรณี เมื่อวันก่อน ทีมนักวิชาการระบุชัดพบซากฟอสซิลอีกมาก บ่งชี้สภาพแวดล้อมบรรพกาลได้และอาจมีชนิดพันธุ์ใหม่ของโลกในพื้นที่นี้

     ดร.ฉัตรเฉลิม เกษเวชสุริยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ให้ข้อมูลว่า บริเวณที่พบซากวาฬ สภาพแวดล้อมในอดีตเป็นชายฝั่งทะเลน้ำตื้นและจากน้ำขึ้นน้ำลงจึงปรากฏเป็นหาดโคลน ส่วนฟอสซิลกลุ่มหอยพบได้ในสภาพแวดล้อม เช่น  ทะเล ป่าชายเลน แม่น้ำ ทุ่งนาและภูเขา มีวิวัฒนาการมายาวนานจนถึงปัจจุบันก็ยังพบเห็นได้ 

      ส่วนซากหอยที่พบในชั้นตะกอนร่วมกับซากกระดูกวาฬโบราณมีมากกว่าอ1,000 ตัวอย่าง แบ่งเป็น 3 กลุ่มได้แก่หอยฝาเดียว หอยสองฝาและหอยงาช้าง

   “ กลุ่มที่พบมากที่สุดคือ หอยฝาเดียวมากถึง25 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นหอยปิ่นปักผมและหอยตะกายลายจุด ยังมีกลุ่มหอยขนาดเล็ก Ringicula propinquans Hinds, 1844 Orbitestellidae Iredale, 2460 น่าจะเป็นการค้นพบชนิดพันธุ์ใหม่จะต้องศึกษาเพิ่มเติม ที่พบหอยฝาเดียวมากสุดมาจากการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ส่วนหอยสองฝาพบหอยลายและหอยงาช้างเยอะสุด แล้วยังพบเพรียงทะเล ฟอร์แรม“ ดร.ฉัตรเฉลิม กล่าว 

     ด้าน ดร.สุชาดา คำหา สำนักงานวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติกล่าวว่า พบซากปลากระดูกอ่อนคือฟันฉลามฟันกระเบน  และเงี่ยงบริเวณหางกระเบนจากการจัดจำแนกและศึกษาเบื้องต้นฟันฉลามอยู่ในวงศ์Carcharhinidae ที่ปรากฏตั้งแต่ยุคไมโอซีนตอนปลายประมาณ 5 ล้านปีก่อนและมีวิวัฒนาการมาจนถึงยุคปัจจุบันมีรายงานการพบเจอในน่านน้ำไทย  ได้แก่ฉลามเสือ 

      “ นอกจากนี้พบฟันฉลามคาดว่าเป็นฉลามฟันหอกในสกุลGlyphis sp. เป็นฉลามที่หายากและสามารถปรับตัวอยู่ได้ทั้งน้ำกร่อยและน้ำจืด ส่วนฟันกระเบนและเงี่ยงบริเวณครีบหางอาจจะอยู่กลุ่มStingrays ยังระบุชนิดไม่ได้ แล้วยังมีซากกระดูกสันหลังของปลากระดูกแข็งอยู่ในขั้นศึกษาชนิดพันธุ์ จะช่วยเติมเต็มข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในอดีต และเป็นหนึ่งในหลักฐานอธิบายสภาพแวดล้อมของไทยช่วงระยะเวลาหลายพันปีได้” ดร.สุชาดา

 

กระดูกฟันฉลามโบราณที่พบแหล่งวาฬอำแพง จ.สมุทรสาคร

 

        ทีมวิจัยที่เก็บตัวอย่างตะกอนดินเหนียวในแหล่งพบวาฬอำแพง  อย่างดร.วิภานุ รักใหม่ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหิน มรฏ.นครราชสีมา เผยว่า  ผลศึกษาพบเรณูของพืช ซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์พืชดอกและพืชเมล็ดเปลือย ชี้ว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นระบบนิเวศป่าชายเลนมาก่อน พบเรณูของพืชวงศ์โกงกางเป็นหลักยังมีแสม ลำพู ลำแพน ปรงทะเล ปรงสวนแล้วยังมีเรณูของพืชในระบบนิเวศอื่นปะปนอยู่ด้วยได้แก่ พืชในวงศ์หญ้า วงศ์กก วงศ์ธูปฤาษี และเรณูพืชจากระบบนิเวศป่าที่ลุ่มต่ำ เช่น พืชในวงศ์ก่อ วงศ์ยางพารา วงศ์ชมพู่ เป็นต้น จะต้องศึกษาวิเคราะห์สัดส่วนของเรณูพืชที่พบในตะกอนดินแต่ละชั้นต่อ เพื่อชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลของพื้นที่แห่งนี้

กระดูกหูวาฬอำแพง ชิ้นส่วนที่หาได้ยาก

 

      ส่วน ผศ.ดร.อานิสงส์ จิตนารินทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มทร.สุรนารี ขยายภาพการพบ ไรน้ำกาบหอย ขนาดเล็กเพียง 1 มิลลิเมตร โดย 10 ตัวอย่างตะกอนดินเหนียวจากแหล่งขุดค้นซากวาฬ เฉพาะตัวอย่างหมายเลข20SS04 จำแนกได้มากกว่า10 ชนิด คาดว่าจะอยู่ในสกุลKeijella,Semicytherura,Neomonoceratina,Sinocytheride,Propontocypris, Pontocypris

   “ ปัจจุบันไรน้ำกาบหอยบางชนิดพบอยู่ในเขตทะเลตื้นของมหาสมุทรอินเดียแต่ไม่พบในเขตอินโด-แปซิฟิกนับว่ามีประโยชน์ในการศึกษาธรณีวิทยาจากการซากดึกดำบรรพ์และมีการประยุกต์ข้อมูลเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมบรรพกาลได้   “ผศ.ดร.อานิสงส์ยืนยันหลักฐานแสดงระบบนิเวศที่หลากหลายแหล่งวาฬอำแพง

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"