มีแค่12โรงเรียน 10เขตพื้นที่ฯถูกร้องเรียนจัดอาหารกลางวันคุณภาพต่ำ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

19มิ.ย.61- นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบโครงการอาหารกลางวัน ว่า ตามที่มีจากร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการอาหารกลางวันว่า ไม่มีคุณภาพ การบริหารจัดการไม่ดำเนินการตามระเบียบต่างๆ มีการทุจริตเกิดขึ้น รวมถึงไม่มีระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจ ซึ่งขณะนี้มีโรงเรียนได้รับการร้องเรียนจำนวน 12 แห่ง ใน 10 เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ 1.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ปราจีนบุรี เขต 1 จำนวน 1 โรง ได้รับรายงานว่า จัดอาหารไม่ได้คุณภาพ 2.สพป.พิษณุโลก เขต 2 จำนวน 1 โรง จัดอาหารไม่ได้คุณภาพ 3.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 5 จำนวน 1 โรง จัดอาหารไม่ได้คุณภาพ ไม่ถูกสุขอนามัย 4.สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 2 จำนวน 1 โรง ทุจริตงบฯ โครงการอาหารกลางวัน 5.สพป.นราธิวาส เขต 2 จำนวน 1 โรง วัตถุดิบประกอบอาหารน้อย 6.สพป.สุรินทร์ เขต 3 จำนวน 3 โรง 7.สพป.ลพบุรี เขต 1 จำนวน 8.สพป.ลพบุรี เขต 2 จำนวน 1 โรง 9.สพป.ขอนแก่น เขต 1 จำนวน 1 โรง 10.สพป.อ่างทอง จำนวน 1 โรง ซึ่งสพฐ.ได้มีการดำเนินการอย่างเข้มงวด โดยตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงทั้งหมด และดำเนินการทางวินัยกับผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีทั้งให้ย้ายออกจากพื้นที่ หรือให้ออกจากราชการไว้ก่อน

นายบุญรักษ์ กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีโรงเรียนอนุบาลขอนแก่น ที่พบว่าอาหารกลางวันไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกหลักสุขอนามัย และไม่เป็นไปตามหลักโภชนาการนั้น ตนได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการกลุ่มตรวจสอบภายใน และผู้อำนวยการสำนักการคลังและสินทรัพย์ สังกัด สพฐ.ลงพื้นที่ตรวจสอบการดำเนินการบริหารโครงการของโรงเรียนว่า การใช้รูปแบบจ้างเหมาสามารถดำเนินการได้หรือไม่ และขั้นตอนการดำเนินการถูกต้องหรือไม่ สัญญามีรายละเอียดอย่างไร ซึ่งในทางปฏิบัติขณะนี้มีการสั่งให้ผู้อำนวยการโรงเรียนให้ไปประจำอยู่ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อสะดวกต่อการสืบสวนข้อเท็จจริง

“นพ.ธีระเกียรติ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก ดังนั้นเราจะต้องดำเนินการโครงการอาหารกลางวันให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของโครงการฯ แม้ว่าในบางพื้นที่จะมีราคาวัตถุดิบแพงก็ปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาด และดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างให้ถูกต้อง ซึ่งโรงเรียนในกลุ่มพื้นที่ห่างไกลที่วัตถุดิบราคาสูง สพฐ.ก็มีโครงการที่จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน คือ การส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะอาชีพ ปลูกผัก เลี้ยงปลา ไก่ไข่และเป็ด ผลิตเพื่อส่งเข้าโครงการอาหารกลางวัน และในส่วนของโรงเรียนที่ไม่มีพื้นที่ในการทำการเกษตร สพฐ.ก็จะประสานกับเขตพื้นที่ ชุมชน ให้เข้ามามีส่วนร่วม โดยใช้พื้นที่ของชุมชนในการทำการเกษตรและส่งขายให้กับโรงเรียนในราคาถูก ถือว่าเป็นการสนับสนุนเศรษฐกิจของชุมชนด้วย”เลขาฯ กพฐ.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"