สธ.เปิดทางนักเรียนที่จะฉีดวัคซีน ไม่มั่นใจชนิด mRNA สามารถฉีดประเภทเชื้อตายได้ แต่ต้องรออีกพัก  


เพิ่มเพื่อน    


17 ก.ย. 64 - ที่กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์การโควิด19 และฉีดวัคซีน  โดย นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ฉีดวัคซีนในประเทศไทย เมื่อวาน(16 ก.ย.64) มีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นกว่า 8.64 แสนคน รวมยอดสะสมอยู่ที่ 43.3 ล้านคน แบ่งเป็นเข็มที่ 1 จำนวน 28.4 ล้านคน เฉลี่ยเกือบ 40% ส่วนเข็มที่ 2 จำนวน 14 ล้านคน ก็เฉลี่ยเกือบ 20% โดยไทยอยู่อันดับที่ 2 ในการฉีดวัคซีนภูมิภาคอาเซียน ส่วนกรณีประชาชนที่จองวัคซีนโมเดอร์นากับรพ.เอกชน ข้อควรพิจารณา คือ ผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน สามารถฉีดโมเดอร์นาได้ตามแผนปกติ แต่หากมีการรับวัคซีนไปแล้ว อย่าง ซิโนแวคครบโดส อาจจะต้องปรึกษาแพทย์  เพราะโดยทั่วไปจะไม่มีการฉีดวัคซีนที่มากเกินความจำเป็น เช่นไม่ควรฉีดวัคซีนชนิด mRNA เข็มที่ 3 ในระยะเวลาใกล้ๆกับเข็มที่ 2 หรือได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าครบ 2 ครบ ก็ยังไม่ต้องกระตุ้นด้วยเข็มที่ 3 

นพ.โสภณ กล่าวถึงรายละเอียดการฉีดวัคซีนสำหรับนักเรียนว่า ส่วนการให้บริการวัคซีนในระยะแรกนี้เป็น วัคซีนไฟเซอร์ สำหรับนักเรียนอายุ 12-17  ปี ที่ภาครัฐจะจัดสรรได้ครอบคลุม โดยจะเริ่มฉีดในวันที่ 4 ต.ค.เป็นต้นไป มีเป้าหมายอยู่ที่ 4.5 ล้านคน เน้นในกลุ่มชั้นมัธยมศึกษา หรือปวช. ปวส. ที่กำลังจะเปิดเรียนในช่วงต้นเดือน พ.ย.ทั้งโรงเรียนหรือสถานศึกษาทั้งสังกัดภาครัฐและภาคเอกชน หรือสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) รร.ตำรวจตระเวนชายแดน รร.พระปริยัติธรรม  หรือรร.ที่มีนักเรียนในช่วงอายุดังกล่าว เช่น รร.คนพิการ รวมไปถึงเด็กที่อายุเกิน แต่ยังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยม เด็กที่ป่วยไม่ได้เข้าโรงเรียน หรือศึกษาอยู่ที่บ้านด้วย 

ในขณะนี้การดำเนินงานการฉีดวัคซีนเด็กนักเรียน อยู่ในขั้นตอนที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาสำรวจความประสงค์หรือไม่ประสงค์ของผู้ปกครองและนักเรียนที่จะเข้ารับวัคซีนไฟเซอร์ โดยจะมีการให้ข้อมูลรายละเอียดของผลข้างเคียงวัคซีนไฟเซอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึ่งข้อมูลจากต่างประเทศพบว่าภาวะข้างต้นเกิดขึ้นประมาณ 16 คนใน 1 ล้านโดส และในประเทศไทยพบเด็กที่มีโรคประจำตัวฉีดวัคซีนไฟเซอร์มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเพียง 1 คน  จากการฉีดไปแล้วกว่า  8.6 แสนโดส ซึ่งขณะนี้รักษาหายแล้ว โดยเด็กจะมีอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจไม่สะดวก หากพบและนำเข้าสู่การรักษาก็จะหายปกติ เพราะภาวะกล้ามเนื้อหัวสามารถรักษาให้หายได้ ซึ่งจะใช้เวลาสำรวจประมาณ 2 สัปดาห์ และแจ้งไปยังสาธารณสุขจังหวัด พร้อมจัดสรรวัคซีนลงพื้นที่ นัดวันเวลา สถานที่ฉีดวัคซีน และจะมีการติดตามรายงานผลการฉีดของนักเรียนในระบบ MoPH IC พร้อมกับการติดตามเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์อย่างน้อย 30 วัน เมื่อเด็กได้รับวัคซีนในจำนวนมากก็จะช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อ และจัดการเรียนการสอนได้ต่อเนื่อง

นพ.โสภณ  กล่าวอีกว่า สำหรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย อย่างซิโนแวค และซิโนฟาร์ม ที่ประเทศจีนมีการนำไปฉีดในเด็กจำนวนกว่า 1 ล้านคน ขณะนี้ไทยก็ได้มีการขอขึ้นทะเบียนกับทาง อย. วัคซีนทั้ง 2 ชนิดให้ฉีดได้ในเด็ก จากเดิมที่ขึ้นทะเบียนไว้ว่าสามารถฉีดได้ในผู้ที่มีอายุ  18 ปีขึ้นไป ซึ่งอาจจะได้ฉีดในระยะต่อไป อย่างไรก็ตามผู้ปกครองที่ไม่ประสงค์ให้บุตรหลายฉีดวัคซีนชนิด mRNA สามารถที่จะรอชนิดเชื้อตายได้ที่อาจจะต้องใช้เวลาสักระยะ 

ส่วนสถานการณ์โควิด19 ในประเทศ นพ.โสภณ กล่าวว่า  ผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 14,555 คน ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 171 คน นับว่าเป็นตัวเลขที่มีผู้เสียชีวิตต่ำกว่า 200 คนมาต่อเนื่องหลายสัปดาห์ โดยยอดผู้เสียชีวิตสะสมยังคสูงอยู่ที่ 1.06% ซึ่งในระยะต่อจากนี้คือการป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ และรักษาผู้ที่กำลังป่วยให้หายเพิ่มขึ้น เพื่อให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยผู้ป่วยโควิดอาการหนักที่เป็นปอดอักเสบมีจำนวนลดลงตามลำดับจาก 4,900 คน เหลือ 3,851 คน และผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ ก็ลดลงต่อเนื่องจากกว่า 1,000 คน เหลือ  787 คน ทำให้อัตราเตียงว่างในไอซียู รับผู้ป่วยเข้าดูแลได้มากขึ้น โดยในระยะต่อไปจะมีการติดตามผู้ป่วยที่อาการหนักเป็นหลัก ในขณะที่ผู้หายป่วยวันนี้จำนวน 13,691 คน หายป่วยสะสมมากกว่า 1.27 ล้านคน ส่วนที่กำลังรักษาอยู่มีจำนวน 1.29 แสนคน 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"