13 ชีวิตในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ที่ลึกเป็นอับดับ 4 ของประเทศ


เพิ่มเพื่อน    

26  มิ.ย.61- ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน กลายเป็นถ้ำที่คนไทยรู้จักมากที่สุด ณ เวลานี้ เพราะนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่า และครูฝึก รวม 13 คน หายไปในถ้ำ  ทั้งที่ก่อนหน้านี้แทบไม่มีใครรู้จัก เนื่องจาก ไม่ใช่สถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม รวมทั้งการเดินทางไปยังไม่สะดวกนัก จะมีเพียงคนในพื้นที่ และนักสำรวจเท่านั้นที่เข้า-ออก ถ้ำดังกล่าวนี้

วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน มีลักษณะเป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีน้ำซับตลอดทั้งปี และจะมีน้ำไหลในช่วงฤดูฝน  ตั้งแต่เดือน กรกฏาคม – พฤศจิกายน  โดยมีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีค้างคาวอาศัยจำนวนมาก  ปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้าง 

ถ้ำหลวงเป็นหนึ่งในถ้ำที่ยังคงมีการสำรวจจากนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลา เพราะการสำรวจมักไปได้ไม่ถึงที่หมายก็ต้องล่าถอยออกมา
 ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของถ้ำนั้น มีปากถ้ำที่สูง โถงถ้ำแรกที่เปิดกว้างระดับพื้นดินต่ำกว่าปากถ้ำมากเนื่องจากเป็นร่องทางน้ำที่ไหลออกจากถ้ำ โดยมีร่องน้ำผ่านระหว่างโถงที่ 1 และทางขวามือของร่องน้ำจะเป็นโนนดินที่สูงขึ้น มีร่องรอยหลุมยุบ และเป็นโถงที่ 2 ต่อจากโถงที่ 1 มีร่องรอยหินถล่มด้านซ้ายมือ 

เมื่อสิ้นสุดบันไดจากบริเวณปากถ้ำ เป็นทางเดินดินสั้น ๆ ต่อจากนั้นเป็นขั้นบันไดที่เทด้วยปูนซิเมนต์จำนวน 5-6 ขั้น ยกระดับขึ้นทอดเข้าสู่ความยาวของตัวถ้ำ โดยที่ในช่วงฤดูฝนน้ำจะท่วมภายในถ้ำ และบริเวณร่องน้ำโถงที่ 1 ดังนั้น จึงไม่พบหลักฐานทางโบราณคดี ภายในถ้ำ

ถ้ำเขาหลวงเป็นถ้ำกึ่งแห้ง เนื่องจากบางส่วนยังมีการเกิดของหินงอก และหินย้อยอยู่ และบางส่วนแห้งแล้ว อยู่ในพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศแบบหินปูน (Karst topography) มีลักษณะทางธรณีวิทยา ประกอบด้วยหินแข็งยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน (Carboniferous-Permian: CP) หินที่พบในพื้นที่ประกอบด้วยหินปูนสีเทาอ่อน (Limestone) หินอ่อน (Marble) หินยุคนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 270-320 ล้านปี 

ปากทางเข้าถ้ำสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 433 เมตร แนวโถงถ้ำมีโถงหลักเพียงโถงเดียว แต่เส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเดินเข้าถึงได้ง่าย บางช่วงมีเพดานต่ำ จนถึงเส้นทางเดินลำบาก มีความยาวรวม 759.76 เมตร เมตร และโถงแยกฝั่งตรงข้ามทางเดินเข้าถ้ำ มีความยาว 68.27 เมตร 

จากการสำรวจสิ้นสุดที่ห้องลับแล เนื่องจากทางที่จะไปโถงอื่น ๆ นั้นลำบากมาก แร่ทุติยภูมิที่พบเป็นแร่แคลไซต์ (calcite) ได้แก่ หินย้อย หินงอก เสาหิน ม่านเบคอน ผลึกแร่แปรงล้างขวด หลอดโซดา และตะกอนภายในถ้ำ ได้แก่ เศษหินถล่มจากหินน้ำไหล และหินปูน ตะกอนดินเหนียว หาดทราย 

พบหลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการของถ้ำจำนวนมาก เช่น รอยการไหลของน้ำเป็นริ้วคลื่นปัจจุบัน (Ripple Mark) ระดับพื้นถ้ำเก่า หินถล่มขนาดเล็ก และใหญ่จำนวนมาก รอยแตกแบบมีแรงดึง (Tension Crack) นอกจากนี้ยังพบรอยระดับน้ำ หลุมยุบ และโพรงบริเวณเพดานถ้ำ (Anastomosis) และการแตกออกของผนัง

ถ้ำหลวง จะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมพื้นที่ถ้ำ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นฤดูฝน เนื่องจากน้ำจะไหลเข้ามาท่วมภายในถ้ำซึ่งจะไม่ปลอดภัย 

ถ้ำหลวง    เป็นถ้ำที่มีความลึกเป็นอันดับที่ 4 ของถ้ำทั้งหมดในประเทศไทย     โดยถ้ำที่มีความลึกมากที่สุดคือ 1.ถ้ำพระวังแดง จังหวัดพิษณุโลก ลึก 13,761 เมตร 2. ถ้ำแม่ละนา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลึก 12,720 เมตร  3.ถ้ำใหญ่น้ำหนาว    จังหวัดเพชรบูรณ์     ลึก 10,631 เมตร. 

อ้างอิง https://www.thailandcaves.shepton.org.uk/longest-caves-thai


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"