10 ปี หอศิลปกรุงเทพฯ สู้ต่อ! เป็นพื้นที่เรียนรู้ของประชาชน


เพิ่มเพื่อน    

 คณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปกรุงเทพฯ พร้อมผู้บริหารหอศิลปกรุงเทพฯ แถลงผลงานเด่นในรอบ 10 ปี

 

     ในปี พ.ศ. 2561 นี้ เป็นปีที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 ที่เปิดบริการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยสร้างแรงบันดาลใจและดึงดูดนักท่องเที่ยวบนพื้นที่ใจกลางเมืองย่านสยามและสี่แยกปทุมวัน

     ตลอด 10 ปีที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการกว่า 10 ล้านคน และปี 2560 ทำสถิติคนเข้าหอศิลปกรุงเทพฯ จำนวนสูงสุด 1.7 ล้านคน ผลงานโดดเด่นเป็นนิทรรศการ'พระราชาในดวงใจ' ยอดคนเข้าชมมากถึง 1,400 คนต่อวัน  เป็นหนึ่งในโครงการน้อมรำลึกการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  และยังมีนิทรรศการ เทศกาลศิลปะโดยศิลปินไทยและต่างชาติหลากหลายรูปแบบมาใช้พื้นที่หอศิลป์แห่งนี้สร้างการแลกเปลี่ยนกับผู้ชมงานในไทย 

 

 

     ในวาระครบ 10 ปี มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครจัดงานแถลงข่าวผลการทํางานร่วมกันระหว่างมูลนิธิหอศิลปฯ และกรุงเทพมหานคร และบทบาทของหอศิลปกรุงเทพฯ ที่มีต่อสังคม รวมถึงโครงการพิเศษในวาระ 10 ปี ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 หอศิลปกรุงเทพฯ 

     ปัญญา วิจินธนสาร รองประธานคณะกรรมการมูลนิธิหอศิลปกรุงเทพฯ กล่าวว่า หอศิลปกรุงเทพฯ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของเครือข่าย ศิลปินและคนรักศิลปะตั้งแต่ปี 2540 จนเปิดบริการเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2551 และมีพีธิเปิดอย่างเป็นทางการ วันที่ 19 ส.ค.2552 อาคารสวยงามบนพื้นที่ใจกลางเมืองท้าทายเยาวชนเข้ามาเรียนรู้  ระหว่างห้างสรรพสินค้ากับหอศิลป์ เด็กสนใจสิ่งใดมากกว่ากัน ซึ่งผลชัดเจนว่าการเสียสละพื้นที่ไม่ได้เสียผลประโยชน์ทางธุรกิจ กลับช่วยส่งเสริมพื้นที่ธุรกิจให้มีคุณค่า ส่งเสริมคนเข้ามาเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยไทย 

     " ตลอด 10 ปี หอศิลปกรุงเทพฯ ให้ความสำคัญกับประชาชนเรื่องความคิดและการทำงานสู่เป้าหมาย ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำศิลปะนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ศิลปะในปัจจุบันไม่ใช่เพื่อความบันเทิง แต่เป็นสาระความรู้ อีกทั้งเชื่อว่างานศิลปะสร้างระเบียบวินัย อีกเป้าหมายเราทำงานด้านสันติภาพเสมอภาค ซึ่งงานศิลปะพูดถึงเสมอทำให้ประชาชนได้เรียนรู้ สำหรับหอศิลปกรุงเทพฯ กำหนดฐานะเป็นหอศิลป์ประจำเมืองหลวงและเป็นโครงการนำร่องให้จังหวัดอื่นๆ  หอศิลป์เราไม่เหมือนใคร เป็นอาร์ทเซ็นเตอร์มากกว่าพิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย  " ปัญญา กล่าว

 

 

     ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูตร ประธานกรรมการบริหารหอศิลปกรุงเทพฯ กล่าวว่า จากการสร้างกิจกรรมที่น่าสนใจให้เกิดทั้งคุณภาพและปริมาณ เพราะสถานที่ตั้งอยู่ในทำเลทองแวดล้อมด้วยห้างสรรพสินค้า  ต้องทำทุกตารางนิ้วให้มีคุณค่า  ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น จากปีแรก 3 แสนคน 3 ปีหลังตัวเลขแตะล้านคนและแนวโน้มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ เราได้คิดต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อผู้ใช้บริการ 1 คน ในการจัดนิทรรศการและกิจกรรมตลอดทั้งปีอยู่ที่ 23 บาท เทียบกับบางประเทศต้นทุนมากกว่าเราครึ่งหนึ่ง

     " หอศิลปกรุงเทพฯ ไม่ใช่พื้นที่โชว์งานศิลปะล้ำค่า แต่จะเป็นสะพานนำเนื้อหาและความรู้ต่างๆ ถ่ายทอดผ่านผลงานศิลปะ มีหลายนิทรรศการได้เรียนรู้ปัญหาในสังคมไทย เห็นมุมมองของกลุ่มคนที่ไม่เคยสัมผัส   อย่างนิทรรศการแสดงผลงานของคาราวัจโจ จิตรกรอิตาลี มีคนเข้าชมถึง 4.9 หมื่นคน เรามีทีมนิทรรศการสกัดประเด็นสำคัญในการเรียนรู้ ก่อนคัดเลือกศิลปินและรูปแบบส่งเสริมการเรียนรู้ให้ประชาชน " ผศ.สรรเสริญ กล่าว 

 

 

ถ้าใครมาใช้บริการหอศิลปกรุงเทพฯ จะรู้ว่ามีกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้งปี ผศ.สรรเสริญให้ข้อมูลแบ่งเป็นนิทรรศการ 63% การศึกษา 15% กิจกรรมเครือข่าย 12% ดนตรี หนัง วรรณกรรม 7% ที่เหลือ 3%  เป็นห้องสมุดศิลปะ 

     หอศิลป์ในสายตาคนกรุงเทพฯ ชัดเจน สะท้อนผ่านกรุงเทพโพลล์ ผศ.สรรเสริญ เผยว่า 86% เห็นว่าหอศิลปกรุงเทพฯ มีส่วนสำคัญด้านการศึกษาศิลปะ ในฐานะพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์เยาวชน  87% เห็นว่าหอศิลป์กรุงเทพฯ เป็นความภาคภูมิใจของเมืองเมื่อเทียบกับหอศิลป์เมืองหลวงชั้นนำอื่นๆ ซึ่งผลสำรวจจะนำมาปรับวิสัยทัศน์บริหารองค์กรให้เป็นหอศิลปวัฒนธรรมของประชาชนสามารถส่งเสริมความหลากหลายทาง
ศิลปวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน 

     อย่างไรก็ตาม ประธานกรรมการบริหารฯ บอกว่า หอศิลป์กรุงเทพฯ อยู่ในความดูแลของมูลนิธิหอศิลปกรุงเทพฯ  ด้วยการจัดตั้งและสนับสนุนหลักจากกรุงเทพมหานคร 53% ของรายรับสนับสนับสนุนโดยกทม. ในส่วนที่ยังไม่เพียงพอจัดหาโดยมูลนิธิ ซึ่งได้จากการบริหารพื้นที่ ผู้สนับสนุน เงินบริจาค มีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนการสนับสนุนและเงินบริจาคมากขึ้น สร้างการเป็นเจ้าของร่วมกัน

 

  

     สำหรับกิจกรรมพิเศษในวาระ 10 ปี ผศ.ปวิตร มหาสารินันท์ ผู้อำนวยการหอศิลปกรุงเทพฯ  กล่าวว่า กิจกรรมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 ก.ค.61 - 19 ส.ค.62  นำเสนอผ่านธีม'10 ปีพื้นที่แห่งการเรียนรู้' ไม่ใช่ที่ชุมนุมศิลปินหรือพื้นที่เรียกร้องทางการเมือง แต่เป็นการเรียนสิ่งที่อยากเรียน รู้ในสิ่งที่อยากรู้ ไม่ใช่งานศิลปะอย่างเดียว รวมถึงมีแฮชแทค#yourbacc พร้อมคำขวัญร่วมมือ แบ่งปัน ยั่งยืน  

" เรามีกิจกรรมใหม่ Bacc Art of Nature Workshop ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหิดล เปิดพื้นที่เรียนรู้วิทยาศาสตร์และฝึกทักษะศิลปะ  เชื่อมโยงสองศาสตร์ไว้ด้วยกัน มีโครงการบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายศิลปินรุ่นใหม่ไปพำนักต่างประเทศ วันที่ 20 ก.ย. - 25 พ.ย. บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เราเป็นหนึ่งในพื้นที่หลักแสดงงาน วันที่ 19 ต.ค. 61- 3 ก.พ.62 กลางปีหน้าจะมี Art Brut : The Great Ordinary เป็นศิลปะจากผู้พิการ ระหว่างวันที่ 18 ก.ค.-3 พ.ย.  ตั้งเป้าทำนิทรรศการให้ผู้พิการเข้าชมได้ ก่อนงานแสดงจะจัดเวิร์คช็อปให้ผู้พิการด้วย ส่วนเทศกาลศิลปะการแสดงปี 62 กำหนดโจทย์ศิลปะบำบัด มีไม่บ่อยนักในบ้านเรา " ผอ.หอศิลปกรุงเทพฯ ย้ำกิจกรรมในหอศิลป์มีตลอดทั้งปี ชวนคนทุกเพศทุกวัยมาปักหมุดติดแฮชแทคกัน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"