“บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018”ครั้งแรกในไทย ยอดผู้ชม 3 ล้านคน


เพิ่มเพื่อน    

 

     ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญด้านวัฒนธรรมและมีคนพูดถึงในโซเชียลมีเดียต่อเนื่อง สำหรับ“บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 (Bangkok Art Biennale) งานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติที่จัดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยตลอด 4 เดือนเต็ม ตั้งแต่ 19 ตุลาคม 2561 ถึง 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีหัวเรือใหญ่อย่าง บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญ โดยได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในทุก ๆ 2 ปี ด้วยการนำผลงานศิลปะร่วมสมัยกว่า 200 ผลงาน ของ 75 กลุ่มศิลปินชั้นนำระดับโลก จาก 33 ประเทศ ภายใต้แนวคิด “สุขสะพรั่ง พลังอาร์ต” หรือ Beyond Bliss ที่ได้นำมาจัดแสดงบนสถานที่สำคัญของกรุงเทพมหานครกว่า 20 แห่ง อาทิ  วัดพระเชตุพนฯ วัดอรุณฯ วัดประยูรฯ อาคารอีสต์เอเชียติก โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล โรงแรมเดอะเพนนินซูล่า หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โครงการวัน แบงค็อก ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ฯลฯ

     ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในนามประธานกรรมการ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิ “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่2018” เราดำเนินการจัดงาน “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 หรือ BAB 2018 เพื่อสรรสร้างให้กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งการท่องเที่ยวด้านศิลปะร่วมสมัยของโลก และเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้รักงานศิลปะ ตลอดระยะเวลาของงาน 4 เดือน  เราได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรหลักทั้งภาครัฐ และเอกชน จำนวน 17 องค์กร และFriends of BAB จำนวน 74 องค์กร โดยมีทั้งนักท่องเที่ยว ชาวไทย ชาวต่างชาติ นักสะสมงานศิลปะ ภัณฑารักษ์ ศิลปิน คนในวงการศิลปะจากทั่วโลกเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

      “ ทั้ง 20 สถานที่แสดงงานศิลป์ มีจำนวนคนเข้าชมงานศิลปะเฉลี่ยมากกว่า 45,000 คนต่อวัน รวมมีผู้เข้าชมตลอดการจัดงานกว่า 3 ล้านคน ส่วนที่หอศิลป์กทม. มีมากกว่า 250,000 คน  สถาบันการศึกษามากกว่า 80 สถาบันที่ขอเข้าเยี่ยมชมเป็นหมู่คณะ รวมคณะนักเรียนและนักศึกษากว่า 3,000 คน รวมถึงนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติที่ให้ความสนใจ โดยเฉพาะตามสถานที่สำคัญอย่าง วัดพระเชตุพนฯ วัดอรุณฯ วัดประยูรฯ มีผู้เข้าชมรวมทั้ง 3 วัด เฉลี่ยมากกว่า 6,000 คนต่อวัน สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ชุมชนโดยรอบพื้นที่จัดงาน และ BAB ยังเป็นส่วนหนึ่งกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี2561 ถึงต้นปี 2562 อีกทั้งบอกเล่าความเป็นไทยไปทั่วโลกว่า “กรุงเทพมหานคร คือ เมืองแห่งศิลปวัฒนธรรมระดับโลก” และล่าสุดงานเทศกาล BAB 2018 ได้รับการจัดเป็นอันดับ Top 10 ART ASIA PACIFIC ALMANAC 2019 จัดโดย ArtAsiaPacific Magazine (AAP) พร้อมทั้งได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ “สุดยอดวัฒนธรรมสร้างสรรค์แห่งปี 2561” ประเภทเหตุการณ์สำคัญแห่งปีด้วย “ ฐาปน กล่าว

 

 

     ด้าน . ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ กล่าวว่า “บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 เป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในกรุงเทพ ในวงการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย จากการสอบถามศิลปินทั้ง 75 กลุ่มศิลปิน ต่างพูดเป็นเสียงเดียวมีความประทับใจมาก ได้รับการต้อนรับจากทีมงานและผู้เข้าชมงานเป็นอย่างดี นอกจากนี้ เรายังมีกิจกรรม DEK BAB เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มคนอาสาตั้งแต่ระดับนิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านศิลปะร่วมสมัยระดับโลก โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 800 คน และผ่านการคัดเลือกกว่า 200 คน ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดงาน พร้อมร่วมทำงานกับศิลปินทั้งไทยและต่างประเทศ ในการเป็นผู้ช่วยติดตั้งงานศิลปะ , ผู้ติดตามศิลปิน และผู้นำชมและดูแลชิ้นงาน รวมถึงร่วมเวิร์คช็อปและอบรมโดยทีมงานภัณฑารักษ์และกูรูด้านศิลปวัฒนธรรม โดยทำหน้าที่เสมือนทูตที่เชื่อมต่อระหว่างศิลปินกับผู้ชมงาน

     “ สำหรับภาพรวม 4 เดือนเต็มนี้ มีประชาชนสนใจเข้ามาชมงานเป็นหลักล้าน บางกลุ่มมาแล้วยังกลับมาอีก รวมถึงชาวต่างชาติให้ความสนใจงาน ทางยุโรป ออสเตรเลีย มีมาเยอะ สร้างกระแสในมิติใหม่ให้ศิลปะในกรุงเทพเต็มไปด้วยความคึกคัก งาน บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 มีผู้พบเห็นข่าวสารทางโซเชียลมีเดีย 47 ล้านคนทั่วโลก และคนพูดถึงในโลกออนไลน์ถึง 16 ล้านคน สุดท้ายนี้อยากเชิญชวนผู้ที่สนใจงาน BAB ในปี 2018-2019 คอยติดตามชมกิจกรรมที่จะมีขึ้นในปี 2020 ซึ่งจะมีงานศิลปะที่น่าสนใจ ให้รับชมอีกมากมาย โดยจะมีการจัดงานช่วงประมาณตุลาคม 2020 นี้ผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ กล่าวในท้าย

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"