ต้องเร่งปั้้น"อาชีวะ"อีก 5ปีต้องการ 2ล้าน


เพิ่มเพื่อน    


"ประจิน" เปิดงานสัมมนาวิชาการอาชีวะ 4.0 ศักยภาพแห่งอนาคต เผย แรวงานไทย มีแค่ 15% ที่จบอาชีวะและมีทักษะวิชาชีพ ชี้อีก 5 ปี ความต้องการแรงงานทักษะวิชาชีพของประเทศอยู่ที่ 2 ล้านคน ด้านท"เลขาฯ กอศ." เร่ง เพิ่มสัดส่วนสายอาชีพและสามัญอยู่ที่ 50:50  ผลิตกำลังครให้ตอบโจทย์ประเทศ


14ก.ค61- พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนาวิชาการอาชีวะ 4.0 ศักยภาพแห่งอนาคต หรือ TVET 4.0 จัดโดยโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด พร้อมกล่าวตอนหนึ่งว่า รัฐบาลมีนโยบายให้เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาทั้งปริมาณและคุณภาพเพื่อให้ตรงกับความต้องการในสาขาการผลิตต่างๆ โดยเฉพาะใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve และประเทศไทย 4.0 ซึ่งจะต้องเน้นทั้งความรู้ในด้านทักษะวิชาชีพ ที่ต้องผ่านการเรียนรู้ ฝึกประสบการณ์การทำงานจริงกับเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย ตรงนี้จะต้องร่วมมือกับผู้ประกอบทุกภาคส่วนในการมาร่วมจัดการศึกษา ซึ่งทำให้นักศึกษาที่เรียนจบการศึกษาสามารถทำได้งานทันทีโดยไม่ต้องไปผ่านการฝึกอบรมใหม่  


พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า ประเทศไทยมีแรงงานประมาณ 35-40 ล้านคน แต่พบว่าแรงงานที่จบอาชีวศึกษาและมีทักษะวิชาชีพ ประมาณ 6-8 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน ร้อยละ 15 เท่านั้น ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแรงงานทักษะฝีมือมากถึง ร้อยละ 40-50 เพราะฉะนั้น เรายังมีช่างเทคนิคที่มีทักษะวิชาชีพน้อยเกินไปจึงต้องเร่งสปีดในการผลิต ที่ต้องให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ซึ่งถ้ารอเพียงการผลิตในระบบการศึกษาคงไม่เพียงพอและไม่ทันกับความต้องการของประเทศที่ จึงต้องสร้างเครือข่ายร่วมกันพัฒนาแรงงานที่มีอยู่ให้มีทักษะเพิ่มขึ้น ซึ่งภายในระยะเวลา 5 ปีความต้องการแรงงานทักษะวิชาชีพของประเทศอยู่ที่ 2 ล้านคน 


“การร่วมมือกันสร้างและผลิตกำลังคนต้องอาศัยการร่วมมือทั้งภาคการศึกษาและผู้ประกอบการซึ่งจะเป็นจิ๊กซอว์ที่ทำให้เกิดการเชื่อมต่อที่ทำให้เกิดการทำงานที่เป็นภาพใหญ่ ดังนั้น ผู้บริหารวิทยาลัยจะไม่ใช่แค่บริหารสถานศึกษา หรือดูแค่หลักสูตร แต่ต้องสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคประกอบการในการร่วมขับเคลื่อน สร้างกำลังคน ตรงนี้จะช่วยให้การผลิตกำลังคนเพื่อพัฒนาประเทศและตอบสนองความต้องการของกลุ่ม S-Curve ของประเทศประสบความสำเร็จ”รองนายกฯ กล่าว


ด้าน นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) กล่าวว่า สอศ.เร่งดำเนินการผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งภาพรวมแนวโน้มดีขึ้น โดยในปีการศึกษา 2561 สัดส่วนผู้เรียนสายอาชีพเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 39.70 และสายสามัญ ร้อยละ 60.30 ขณะที่ตามนโยบายรัฐบาลต้องการเพิ่มสัดส่วนสายอาชีพและสามัญอยู่ที่ 50:50 ซึ่ง สอศ. กำลังเร่งสร้างความเข้าใจและแรงจูงใจเพื่อเพิ่มผู้เรียนสายอาชีพมากขึ้น ขณะที่ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่ภายใน 5 ปี ต้องการกำลังคนจำนวน 2 ล้านคน อยู่ในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ของรัฐบาล เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เป็นต้น ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน อย่างกลุ่มพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (อีอีซี) ก็จะมีความต้องการกำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรม

 

“ภายใน 5 ปีนี้จะต้องผลิตกำลังคนให้ได้ตามความต้องการของรัฐบาล และการดำเนินการจะมีการผลิตใน 2  ระบบ คือ การเรียนในระบบ ที่ผลิตกำลังคนได้ปีละ 2 แสนคน และหลักสูตรระยะสั้น ซึ่งหลักสูตรระยะสั้นสามารถผลิตกำลังคนได้ถึง 1.2 ล้านคนต่อปี ซึ่งก็จะพยายามเร่งดำเนินเพิ่มผู้เรียนมากขึ้น และการพัฒนาเชิงคุณภาพได้ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม รวมถึงโครงการ “Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” ในการร่วมกันพัฒนาทักษะครูและนักเรียนอาชีวะอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาค โดยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558  ซึ่งทำได้กว่า 2 แสนคนแล้วและคงจะมีความร่วมมือกันต่อไป”เลขาฯ กอศ. กล่าว 


นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า โครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต เป็นการทำงานร่วมกับ 7 องค์กรภาครัฐ ตามแนวนโยบาย “รัฐร่วมเอกชน” ในระยะเวลา 5 ปี(2558-2563) ภายใต้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท มุ่งตอบโจทย์ความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการ และพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชน โดยนำกระบวนการสอนรูปแบบสะเต็ม (STEM) ไปสู่ระบบการศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพครอบคลุมทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งพลังคนสาขาสะเต็มจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ เข้าสู่ปีที่ 4 ของโครงการได้ขับเคลื่อนงาน 3 ส่วน คือ การจัดตั้งศูนย์สะเต็มในโรงเรียนมัธยมศึกษา 12 แห่ง,การจัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ หรือ TVET Hub จำนวน 6 ศูนย์ทั่วประเทศเพื่ออบรมพัฒนาครู แรงงานนักเรียนอาชีวะเป้าหมายเพื่อผลิตช่างเทคนิคในกลุ่มอุตสาหกรรม ชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ แปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมพลังงาน เป็นต้น และการสร้างการเรียนรู้ ความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนรู้สะเต็มและอาชีวศึกษา โดยขณะนี้มีผู้ได้รับประโยชน์กว่า 9 แสนคน 


“หัวใจสำคัญในการผลิตช่างเทคนิคที่มีศักยภาพ คือ การเพิ่มและเติม 2S คือ STEM และ  SKILLs หมายถึง การเพิ่มองค์ความรู้ด้านสะเต็ม และเติมทักษะวิชาชีพให้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่แก่ครูอาชีวะเพื่อนำไปถ่ายทอดและผลิตช่างเทคนิครุ่นใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีตรรกะการคิด คำนวณ วิเคราะห์ และ สื่อสาร ได้หลายภาษา รวมถึงมีภาวะผู้นำและทักษะการเข้าสังคมควบคู่ทักษะการควบคุมเครื่องจักรกลสมัยใหม่”นายอาทิตย์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"