สธ.เล็งบรรจุผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมในบัตรทอง รักษาลูกน้อยหูหนวก


เพิ่มเพื่อน    

 

     นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  กล่าวว่า การสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการพัฒนาทางอารมณ์และสังคมของเด็กโดยเฉพาะในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต พบได้ 3-5 คนในทารกปกติ 1,000 คน และสูงถึง 3-5 คนในทารกกลุ่มเสี่ยง 100 คน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงร่วมกับราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทยจัดโครงการรณรงค์ “การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกคลอด”เพื่อค้นหาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ให้เข้าถึงบริการรักษา  ตามยุทธศาสตร์ลดความเหลื่อมล้ำของรัฐบาล โดยจัดบริการตรวจคัดกรองการได้ยินตั้งแต่แรกคลอดในโรงพยาบาลที่ร่วมโครงการ ใช้วิธีการตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน เป็นวิธีพื้นฐานไม่ซับซ้อน หากพบว่า มีภาวะบกพร่องทางการได้ยินจะส่งต่อเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
    นพ.เจษฎา กล่าวว่า หากสามารถตรวจหาสาเหตุ และวินิจฉัยโรคประสาทหูเสื่อมได้ก่อนอายุ 6 เดือน และได้รับการรักษา เช่น ใส่เครื่องช่วยฟัง แก้ไขฟื้นฟู ฝึกพูด ฝึกฟัง ทำการผ่าตัด จะสามารถมีพัฒนาการเท่าทันเด็กทั่วไปส่งผลต่อการมีสุขภาพจิต อารมณ์ให้ดีด้วย ขอเชิญชวนประชาชนพาบุตรแรกคลอดที่ยังไม่ได้รับการตรวจคัดกรองหรือหากมีอายุ 1 ปีแล้ว สงสัยว่ามีปัญหาการได้ยิน เช่น เรียก พ่อ แม่ ไม่ได้ ขอให้รีบพามาตรวจและรับการรักษา โดยโรงพยาบาลของกระทรวงฯ ระดับจังหวัดของ สธ.คัดกรองได้ทุกแห่ง และอยู่ในระหว่างขยายผลไปสู่โรงพยาบาลขนาดเล็ก 
    นพ.มานัส โพธาภรณ์ ผู้อำนวยการ รพ.ราชวิถี  กล่าวว่า รพ.ราชวิถีดำเนินภารกิจเป็นตัวเชื่อมในการคัดกรองภายใต้การเป็นแพทย์เฉพาะทางด้านหู ตา จมูก พบว่าอุปสรรคสำคัญของโครงการ คือ ระบบส่งต่อมีข้อจำกัดในบางพื้นที่ จะต้องร่วมมือกันตรวจคัดกรองยืนยันต่อไป ถัดมาการจัดการข้อมูล โดยความผิดปกติจะแยกออกเป็นพอได้ยินบ้างจะมีเครื่องช่วยฟังบรรจุอยู่ในสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพ ซึ่งผู้ปกครอง ครู ต้องมีความรู้เพื่อนำไปดูแลอย่างใกล้ชิด ส่วนหูหนวก 100 % ที่จะต้องมีการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นสูง โรงพยาบาลขนาดใหญ่ โรงเรียนแพทย์ มีรายจ่ายสูงตั้งแต่หลักแสน-หลักล้าน ทั้งนี้ไม่ใช่ผ่าตัดแล้วจบ ต้องมีการดูแลอย่างเต็มที่ การฝึกพูด ฝึกเขียน ดังนั้น ต้องเลือกเคสและทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง ขณะนี้กำลังทบทวนเกณฑ์ในสิทธิ์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ได้หารือร่วมกับราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ฯ  และกองพัฒนาผู้พิการว่า หากใช้เกณฑ์เข้มข้นจะได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ ในต่างประเทศประเมินแล้วว่าคุ้มค่า เพราะทำให้เด็กสามารถได้ยินและกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"