แผนปีจอ'อสมท.’ตั้งเป้าบุกออนไลน์


เพิ่มเพื่อน    

            ต้นปีนี้วงการสื่อยังดูเงียบเหงา ไม่หวือหวาเท่าที่ควร ซึ่งในส่วนของ อสมท. ที่มี  ใหญ่-เขมทัตต์ พลเดช กุมบังเหียน นั่งแท่นเป็นผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยถึงความเคลื่อนไหวของ อสมท.ในปีนี้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านข่าว วาไรตี้ หรือบันเทิง โดยจะมีการย้ายแพลตฟอร์มไปอยู่ในออนไลน์มากขึ้น พร้อมกันนี้ยังเผยว่าในส่วนของรายการถ้าอันไหนดียังคงเก็บไว้แน่นอน ส่วนที่ไม่เข้าเป้าก็จำเป็นต้องโละทิ้ง ก่อนที่จะหาสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเสริมทัพ

            "ปีนี้เรื่องวาไรตี้ มีเพิ่มแต่ว่าเราคงจะทำแบบสมถะหน่อย ภาษาพี่เรียกสมถะ แต่มีแน่นอน คือเราเพิ่งปรับฐานในเรื่องการเงินหรือไฟแนนซ์ให้เสถียรภาพนิดหนึ่ง บริหารต้นทุนและบริหารเรื่องของคน จัดวางกันใหม่ จะเห็นได้ว่าตัวเรทติ้งเราค่อยๆ ขยับขึ้นช้าๆ แต่ขณะเดียวกันเราต้องหันไปดูคู่แข่งเราด้วยว่าคู่แข่งเราขยับไปขนาดไหน คือในแง่ธุรกิจเนี่ยเรทติ้งไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่าจะได้เงินหรือรายได้เท่าไหร่ ฉะนั้นสังเกตุดูได้ว่าอุตสาหกรรมนี้เรทติ้งมันจะสวิงไปสวิงมา ตอนนี้หลายๆ สถานีก็พยายามจะวิเคราะห์หรือค้นหาว่ามันสวิงเพราะอะไร

            สถานีไหนที่อยากจะขยับนั่นนี่บางทีอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้ มันอาจจะเสี่ยง แต่การเสี่ยงก็น่าลอง เพราะหลายที่ทดลองทำเรื่องของการทำคอนเทนท์ มันจะใช้หลายปัจจัยมาวิเคราะห์มากมาย พี่มองว่าในปีนี้หลายๆ สถานี ส่วนหนึ่งก็เริ่มจะปรับรายการ แต่ในส่วนของ อสมท. เราทั้งปรับปรุง ทั้งคงรายการที่ดีไว้ สังเกตุได้ว่าเรามองจากภาพรวมก่อนว่าในแพลทฟอร์มที่เป็นโทรทัศน์จะมีอะไรต้องเปลี่ยนแปลง ก็เหมือนกับแฟชั่น ต้องมีเสื้อผ้า หน้า ผมให้สวย ฉะนั้นเราจะเห็นได้พวกกราฟฟิกรายการเราจะปรับได้เลย สวยขึ้น สดใสขึ้น เหมาะกับคนรุ่นใหม่ และคอนเทนท์ไหนที่มันดูอืดอาดยืดยาดก็ทำให้มันกระชับ รายการข่าวหากดูโบราณมันก็ไม่ใช่ และเราต้องมีมุมมมองใหม่ๆ มีมิติใหม่ๆ ของข่าว เพราะช่องข่าวก็แข่งกัน ช่องทีวีก็แข่งกัน แล้วยังมีออนไลน์ โซเชียลมาแข่งกันอีก ประเด็นคือการออกกฎหมายมันคืออะไร ทำไมต้องบังคับให้เหมือนกันซึ่งมันไม่จำเป็น

            การทำวาไรตี้หรือบันเทิง ส่วนใหญ่คนทั้งโลกก็จะดูเรื่องดราม่า ละคร ซีรีย์ หนัง กีฬา วาไรตี้ เกมส์โชว์ มีอยู่แค่นี้ ส่วนตรงกลางที่มีอายุมากหน่อยก็จะดูสารคดี ซึ่งสารคดีมันก็คงสภาพ แต่การทำจะให้มันหวือหวาคือวาไรตี้ แต่จะทำวาไรตี้แบบไหนที่มันเหมาะสมกับแต่ละสถานี ซึ่งตอนนี้เราก็มองว่าคงไม่ใช่เกมส์โชว์ ที่ต้นทุนสูงและความเสี่ยงเยอะ แต่อาจจะเป็นวาไรตี้บางอย่างที่ให้ความรู้และสนุกด้วย อีกส่วนหนึ่งคือการไปซื้อสำเร็จรูปมาแล้วเรานำมาใส่ปุ๋ย ใส่การตลาดเข้าไป ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าถ้าเป็นรายการบันเทิงหรือวาไรตี้เราเริ่มมีซีรีย์จีน ซึ่งเรามีพาร์ทเนอร์กับจีนโดยตรง และมีคอนเทนท์เดิมอย่างเกาหลีเราจะเอามาปัดฝุ่นใหม่ 2 อันนี้จะเริ่มแข็งแรง พอเดือนมีนาคม-เมษายน เราจะเริ่มปรับเรื่องวาไรตี้ไทย

            คือแต่เดิมที่เป็นอะนาล็อก 4 ช่อง มันก็เริ่มจากฝั่งเอเชีย อย่างจีนฮ่องกง พอหมดยุคฮ่องกงแล้ว จีนแผ่นดินใหญ่ที่เขามีคอนเน็คชั่นที่ดีมากและราคาถูกลง เราก็เริ่มไปคุยเพราะเราเป็นหน่วยงานรัฐ เราก็ไปคุยกับหน่วยงานรัฐของจีน จริงๆ ก็อาจจะมีของผู้ผลิตรายย่อยบ้างแต่หลักๆ ยังคงเป็นของรัฐบาลจีน คือจีนและเกาหลีรัฐบาลเขาดูแลหมดเพราะมันเป็นการส่งออกทางวัฒนธรรม ซึ่งจีนตอนนี้เขาจะส่งออกเป็นโมเดิร์นไชน่า แบบโบราณๆ จะน้อยลงแล้ว การแต่งตัวยุคฮั่นยุคจิ๋นซีก็ยังมีแต่จะใส่แฟนตาซีเข้าไปเพราะเขาจะเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ และให้ทันต่อโลก เราก็สนใจเลยดึงมา เรทติ้งก็เริ่มดี คนก็สนใจมากขึ้นนะ

            4 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2551-2560 เรทติ้งมันถูกถัวเฉลี่ยลง เป้าหมายวัยรุ่นและวัยทำงานย้ายแพลตฟอร์มไปอยู่ในออนไลน์ เพราะจะเข้าถึงง่าย ดูเมื่อไหร่ก็ได้ ฉะนั้นคนที่อยู่บ้านคือใคร เด็กและผู้สูงอายุใช่ไหม ฉะนั้นเวลาจะทำรายการเราต้องดูก่อนว่า รายการเด็กเราแข็งแรงไหม รายการผู้สูงอายุเราแข็งแรงไหม  แต่ไอ้ตรงกลางซึ่งฐานมันใหญ่มาก ตอนนี้เรากำลังเริ่มปรับ บางรายการของบางสถานีเขาก็จะเน้นเกมส์โชว์ซึ่งดูแล้วหาย ดูแล้วจบ คือสนุกอย่างเดียว แต่ของเราดูแล้วจะจำได้ เช่นรายการวันนี้ที่รอคอย ดูเหมือนเป็นรายการเล็กๆ แต่มันแฝงด้วยเรื่องของสิทธิมนุษยชน เรื่องของสังคม เรื่องของครอบครัวที่แก่งแย่ง ซึ่งมันเกิดขึ้นอยู่ในทุกที่ ซึ่งผ่านมา 10 ปีสมาชิกหรือฐานมันเยอะขึ้น แสดงว่าสังคมแบบนี้มันยังอยู่ เรื่องจริงมันเน่ากว่าในรายการอีก นี่เราตัดทิ้งไปเยอะนะ ถ้าเอามาออกต้องร้องไห้กว่านี้อีก เรื่องจะดึงดราม่าไปอีกนี่เรามี แต่เราจะต่อยอดจากตรงนี้แหละ ซึ่งเดี๋ยวเราจะแถลงข่าวอีกทีประมาณเดือนมีนาคม เดี๋ยวบางรายการเราก็จะยุบทิ้งนะ บางรายการเราก็มีของใหม่เข้ามาซึ่งเป็นลักษณะวาไรตี้

            ตอนนี้รายการข่าวทุกคนเหมือนกัน แต่จะไปแข่งกันที่พิธีกร ซึ่งรายการข่าวเราจะไม่ไปแข่งเรื่องของการโหวกเหวก แต่พิธีกรเราจะมีคาแร็คเตอร์ เช่นรายการชัวร์ก่อนแชร์ ตอนนี้โยที่เป็นพิธีกรคิวแน่นมาก มีการต้องออกไปให้ความรู้ ไปสอนหนังสือ และต้องไปทำรายการอีก และรายการชัวร์ก่อนแชร์เรามีข้อมูลเข้ามาเยอะมาก ตอนนี้เรามีเรื่องของเทคโนโลยีมาช่วย จะใช้คนตอบอย่างเดียวก็ไม่ได้ อย่างเรื่องของการรณรงค์ให้พิธีกรใส่ผ้าไทย นี่ก็เป็นส่วนหนึ่งเหมือนกัน หรืออย่างมีเรื่องของประเด็นร้อน ครม. ถ้าเป็นคนอื่นทำอาจจะทื่อๆ แต่จริงๆมันสำคัญตรงที่ชาวบ้านจะได้อะไร ฉะนั้นเราก็จะมีพิธีกรที่สื่อสารกับชาวบ้านได้ง่าย เข้าใจง่าย อย่างคุณกำภู กับคุณรัชนีก็เข้าถึงชาวบ้านได้ง่าย

            บางช่องเขาเป็นการเซกเมนท์ทั้งช่อง แต่ของเราไม่ใช่ จะเป็นข่าวอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะเราจะเห็นว่ารายการข่าวอย่างเดียวมันไปไม่ได้ จะเป็นวาไรตี้อย่างเดียวก็ไม่ได้ ก็ต้องผสมผสาน อีกอย่างคือพฤติกรรมผู้บริโภคจะมีอีกแบบคือเปิดทิ้งไว้ แล้วตาดูภาพแต่หูอาจจะไม่ได้ยินเพราะอยู่ไกล เหมือนพวกร้านอาหาร หรือแม่บ้าน ดูกระทะโคเรียคิง ทำไมเขาไม่ไปที่อื่นเลย เขายังอยู่ที่เรา และตอนนี้เรากำลังทำระบบหลังบ้านอยู่เรื่องโชเชียล อย่างวิทยุที่พูดออกไปเราจะทำให้มีภาพ มีข้อความตัวอักษร ให้เกิดเป็นวิทยุออนไลน์ได้ ออนไลน์ก็เป็นยุทธศาสตร์ที่คณะกรรมการบอกให้เดินหน้า และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ และสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคด้วย คือเราละทิ้งตรงนี้ไม่ได้"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"