นับถอยหลัง 'นาซา' ปล่อยยานลุยขอบดวงอาทิตย์ สำรวจ 'ลมสุริยะ'


เพิ่มเพื่อน    

องค์การนาซานับถอยหลังการส่งยานอวกาศ "พาร์เกอร์โซลาร์โพรบ" มูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ ไปยังชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ในวันเสาร์นี้ ซึ่งเป็นภารกิจแรกของมนุษยชาติในการสำรวจดาวฤกษ์ของระบบสุริยะ

จรวดเดลตา 4 เฮฟวี ของยูไนเต็ดลอนช์อัลลายแอนซ์ ที่ฐานลอนช์คอมเพล็กซ์ 37 ของสถานีกองทัพอากาศแหลมคานาเวอรัล เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2561 ภาพ NASA / AFP

    องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ (นาซา) ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ 10 สิงหาคมว่า ยานสำรวจสุริยะ พาร์กเกอร์โซลาร์โพรบ ซึ่งมีขนาดเท่ารถยนต์ จะถูกส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดเดลตา 4 เฮฟวี จากแหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดาเช้าวันเสาร์ของสหรัฐ โดยหน้าต่างการปล่อยจรวดเริ่มตั้งแต่เวลา 03.33 น. (14.33 น. วันเสาร์ของไทย) และมีเวลา 65 นาที พยากรณ์สภาพอากาศช่วงเวลาดังกล่าวเอื้ออำนวยสำหรับการปล่อยจรวด 70%

    วัตถุประสงค์หลักของภารกิจนี้คือการเผยความลับของชั้นโคโรนา ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศแผดเผาของดวงอาทิตย์ ที่อุณหภูมิไม่เพียงสูงกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ราว 300 เท่าเท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยพลาสมาและอนุภาคพลังงานสูงที่ปลดปล่อยพายุสุริยะผ่านอวกาศและก่อกวนพลังงานในโลกของเรา

    จัสติน คาสเปอร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยมิชิแกนซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งของโครงการนี้ กล่าวว่า ยานพาร์กเกอร์จะช่วยให้มนุษย์ทำนายได้ดีขึ้นว่าลมสุริยะจะก่อกวนโลกเมื่อใด

แฟ้มภาพ ยูจีน พาร์กเกอร์ ที่ได้รับเกียรติให้นำชื่อมาตั้งเป็นชื่อยานลำนี้ ภาพ  University of Chicago / AFP

    การไปเยือนดาวฤกษ์ดวงนี้ ยานพาร์กเกอร์ ซึ่งตั้งชื่อตามยูจีน พาร์กเกอร์ นักฟิสิกส์อาวุโสวัย 91 ปี ผู้กล่าวถึงลมสุริยะเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2501 จะได้รับการปกป้องด้วยเกราะป้องกันความร้อนอันทรงพลังยิ่ง แต่มีความหนาเพียง 4.5 นิ้ว (11.43 ซม.) เกราะนี้จะช่วยให้ยานรอดจากการเผาไหม้เมื่อเข้าใกล้พื้นผิวดาวอาทิตย์ที่ระยะห่าง 3.83 ล้านไมล์ (6.16 กิโลเมตร) และสามารถทนทานต่อรังสีจากดวงอาทิตย์ที่มากกว่าระดับที่โลกเผชิญถึง 500 เท่า

    ตามแผนการที่นักวิทยาศาสตร์คำนวณไว้นั้น ถึงแม้อุณหภูมิของดวงอาทิตย์จะสูงได้มากกว่า 1 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ แต่คาดว่าเกราะจะมีความร้อนเพียง 2,500 องศาฟาเรนไฮต์ (1,371 องศาเซลเซียส) และตัวยานที่อยู่ภายในจะยังคงอุณหภูมิไว้ที่ 85 องศาฟาเรนไฮต์ (29 องศาเซลเซียส) เท่านั้น

    เป้าหมายของภารกิจยาวนาน 7 ปีนี้ ยานพาร์กเกอร์จะผ่านชั้นโคโรนา 24 รอบ เมื่อยานเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ มันจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง เทียบได้กับการเดินทางจากนิวยอร์กไปโตเกียวภายใน 1 นาที หรือความเร็ว 700,000 กิโลเมตร/ชั่วโมง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"