อย.แจงเปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความเห็นร่างพ.ร.บ.ยา


เพิ่มเพื่อน    

22 ส.ค.61-อย. เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นและข้อกังวลต่อร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับใหม่มุ่งให้ประชาชนได้รับประโยชน์และปลอดภัยจากการใช้ยา

นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่มีข้อกังวลต่อร่างพระราชบัญญัติยาฉบับใหม่            ที่จะใช้แทนพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า อย. ได้รับฟังความคิดเห็นจากองค์กรและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานด้วยความโปร่งใสและเปิดเผย โดยร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ....  เริ่มดำเนินการรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกทางเว็บไซต์สำนักยาระหว่างวันที่ 11-26 ม.ค. 61 และเมื่อปรับปรุงร่างกฎหมายแล้วก็ได้มีการจัดการประชุมเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในวันที่ 26 ก.พ. 61 ทั้งยังดำเนินการรับฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์สำนักยาระหว่าง                    วันที่ 26 ก.พ.-31 มี.ค.61 ภายหลังจากนั้นยังเปิดรับฟังความเห็นเพิ่มเติมจนถึงวันที่ 10 พ.ค. 61 ทั้งในรูปแบบจดหมายและอีเมล ต่อมา อย.ได้นำร่างดังกล่าวรับฟังความคิดเห็นทางเว็บไซต์ www.lawamendment.go.th ระหว่างวันที่ 17-31 ก.ค. 61 โดยหน่วยงาน สมาคม ชมรม สภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้ร่วมให้ความเห็นในทุกครั้ง  จากกระบวนการรับฟังความเห็นทั้งหมดมีความคิดเห็นเข้ามาราว 2,000 ความเห็น ซึ่งวัตถุประสงค์ของการยกร่างกฎหมายฉบับนี้ เพื่อให้มีบทบัญญัติที่สอดคล้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาต และ          เกิดความมั่นคงด้านยาของประเทศ

เลขาธิการฯ อย. กล่าวต่อไปว่า สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ยา พ.ศ. .... ประกอบด้วย การกำหนดให้มีคณะกรรมการยาแห่งชาติ  เพื่อกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องความมั่นคงด้านยาของประเทศ กำหนดนิยามยาเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตราย ยาที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ และยาสามัญประจำบ้าน ตามความเข้มงวดในการกระจายยา การเข้าถึงยาและบริบทของประเทศ ในการขออนุญาตเกี่ยวกับยาแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตผลิตยา แบ่งจ่ายยาและจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะรายของตน แต่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเข้าถึงยาของประชาชนในพื้นที่ทุรกันดาร นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการขออนุญาตผลิต ขาย นำเข้าและจดแจ้งวัตถุดิบในการผลิตยาเพื่อให้สามารถตรวจสอบคุณภาพและสอบกลับได้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น การไม่กำหนดให้เภสัชกรเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการเพียงแห่งเดียวเพื่อให้ การปฏิบัติหน้าที่ของวิชาชีพทำได้ครอบคลุมทั่วถึง และเพื่อลดปัญหาความขาดแคลนเภสัชกร  ในส่วนการควบคุมโฆษณาและการส่งเสริมการขายยาได้กำหนดให้มีทั้งการขออนุญาตและการจดแจ้ง ทั้งนี้ ยังปรับปรุงบทกำหนดโทษและอัตราค่าธรรมเนียมให้มีความเหมาะสมกับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้ขาย และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน

เลขาธิการอย.กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในการดำเนินงานของ อย. ที่มีเจตนารมณ์แน่วแน่ในการคุ้มครองประชาชน               ให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา และมิให้เกิดความเสียหายต่อระบบยาของประเทศไทย โดย อย.จะดำเนินการชี้แจงความคืบหน้าของร่างพ.ร.บ.ยา พ.ศ. .... แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 27 สิงหาคม 2561 เวลา 10.30- 12.00 น.               ณ ห้องประชุมไพจิตร ปวะบุตร อาคาร 7 ชั้น 9 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนผ่าน QR Code 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"