คล้ายว่าลอกแล้วกลายเป็นหลอก


เพิ่มเพื่อน    

    กรณีแบบชนะประกวดโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร 2 สนามบินแห่งชาติสุวรรณภูมิ (ภาพที่ 1) มีอาการกระตุกติดขัดเพราะรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมดันไปละม้ายคล้ายคลึงกับงานสถาปัตยกรรมของจีนและญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักยอมรับกันแล้วทั่วโลกนั้น (ดูภาพที่ 2-4) เมื่อ4-5 วันก่อนผู้เขียนได้เคยเขียนเป็นเชิง "รายงานสาธารณะ" คือรายงานไปตามเนื้อหาไม่ได้ใส่ความคิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์ลงไปด้วย

1

2

3

4
    มาคราวนี้ในฐานะสถาปนิกขออนุญาตท่านผู้อ่าน วิพากษ์วิจารณ์งานออกแบบ เทอร์มินัล 2 ของสนามบินแห่งชาติสุวรรณภูมินี้กันสักตั้ง
ความคล้ายคลึงกับมรดกวัฒนธรรมจีนและญี่ปุ่น

5

6
    สถาปัตยกรรมก็เป็นมรดกวัฒนธรรมชนิดหนึ่งของสังคมจารีต ระบบโครงสร้างในงานสถาปัตยกรรมจึงเป็นภาษาทางกายภาพของอัตลักษณ์หรือตัวตนของสังคม ในภาพที่ 5 เห็นหลังคาทรงจีน ยื่นออกมาจากเสาได้ด้วยทวยไม้อันประกอบด้วยท่อนไม้และตุ๊กตาขนาดเล็กๆซ้อนถ่ายน้ำหนักไล่กันไปเป็นชั้นๆ ยื่นออกมารับรียกกันว่า DOUGONG (อ่านว่าโต๋ก่ง) 
    เจ้าทวยเครื่องไม้ใช้รับและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาส่วนยื่นมาลงเสาดังกล่าวนี้ทางญี่ปุ่น ก็รับเทคนิคนี้มาพัฒนาต่อเรียกว่า  TOKYO (ภาพที่ 6) สันนิษฐานว่ามาพร้อมกับการรับเอาวัฒนธรรมจีนในช่วงยุคอซึกะ(ASUGA PERIOD) พร้อมกับศาสนาพุทธและระบบการปกครองที่ยึดตามธรรมเนียมจีน
    ย้อนกลับไปดูภาพที่ 2-4 อีกครั้ง พิเคราะห์ดูแล้วท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า เทคนิคของระบบโครงสร้างแต่โบราณนี้ถูกสถาปนิกจีนและญี่ปุ่นนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าชมในสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ใช้สำเร็จทำได้ดีได้รับการยอมรับและชื่นชมมีชื่อเสียงไปทั่วโลก
    ถามว่างานของสถาปนิกไทยที่ยืนยันว่าคิดเอง 100 % นั้น ใช้หลักการ "โต๋ก่ง" หรือเปล่าไปลอกแบบงานสถาปัตยกรรมของเขามาหรือเปล่า
    การพิสูจน์ยืนยันเรื่องอย่างนี้ยากมากๆเพราะมีวาทะกรรมตอบได้มากมายจับไม่มั่นคั้นไม่ตาย เอาเข้าจริงงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์เรานั้นก็ล้วนเกิดขึ้นมาจากการทำซ้ำหรือพัฒนาต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆมิใช่หรือ
    ด้วยคำถามและความสงสัยดังกล่าวผู้เขียนเลยลองลงลึกเดินตามรอยงาน อาคารผู้โดยสาร 2 สนามบินสุวรรณภูมิที่ได้รับคัดเลือกนี้ ดูว่าจะมีเค้าเงื่อนอย่างไรบ้าง
วี่แววจากงานของอันโดะ
    ทาดาโอะ อันโดะ สถาปนิกเอกของญี่ปุ่นฝากผลงานที่เลื่องชื่อไว้ใน JAPAN PAVILIONงาน เอ๊กซโป นครเซวีญ่า ปี 1992 ในภาพที่ 3 และภาพที่ 7 ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า นอกจากจะนำโครงสร้างกลุ่มเสาโปร่งรับคานโปร่งที่ค่อยๆซ้อนทับและค่อยๆยื่น (CANTILIVER) ออกไปเรื่อยๆ    ตามหลักของ "โต๋ก่ง" มารับหน้าตรงโถงทางเข้าแล้ว ภายในอาคารสองฟากซ้ายขวา เขายังนำโครงสร้างชุดนี้มาเล่นอีกกลุ่มใหญ่ แล้วค่อยนำเปลือกเป็นโครงเหล็กมาห่อคลุมไว้อีกชั้นหนึ่ง

7

8
    ในภาพที่ 8 เห็นรายละเอียดโครงสร้าง"โต๋ก่ง" ชัดเจน เสา 4 ต้นเกาะกลุ่มในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีคานโปร่งพาดไขว้สลับกันไปเรื่อยๆจนเกิดเป็นรูปปิรามิดคว่ำ เมื่อแหงนมอง ย้อน ขึ้นไปจะเห็นเป็นภาพขวามือ

9

10
    หันมาดูแบบที่ผ่านการคัดเลือก ในภาพที่ 9 จะเห็นได้ว่าการพาดไปพาดมาจนเกิดรูป
ปิรามิดคว่ำนี้หากค่อยๆลดขนาดไม้ลงไปเรื่อยๆใน ระยะยื่นเท่าเดิม เส้นตรงของขอบปิรามิดก็จะกลายเป็นเส้นโค้ง เมื่อทำไปเรื่อยๆใน MODULAR ขนาด 36X36 เมตรเราก็จะได้พุ่มโค้งคล้ายๆระบบหลังคาโค้ง (VAULT) ขึ้นมาคลี่คลุมต่อเนื่องกันไป แลเป็นดั่งต้นไม้ในป่าดังที่สถาปนิกเขาว่าไว้...ภาพที่ 10 หากแหงนดูจากข้างล่างก็จะเห็นเป็นภาพนี้
    คำไทยว่า "ละม้าย" แปลว่า "คล้ายจนเกือบเหมือน" ดูภาพที่ 8 เทียบกับภาพที่ 9 และ 10 แล้วท่านผู้อ่านคิดว่างานทั้งสองงานนี้ละม้ายเหมือนกันหรือไม่ จะเรียกว่าลอกได้มั้ย
คล้ายแต่คนละเรื่อง
    เรื่องยังไม่จบ..เมื่อมองกันที่รูปลักษณ์ภายนอกจะเป็นดังเช่นที่ผู้เขียนว่ามา แต่เมื่อพิจารณาดูรูปตัดในภาพที่ 11 จะพบด้วยความประหลาดใจว่า เจ้าปิรามิดหงายที่มองเห็นจาก

11

12

13
ข้างล่างนั้นไม่ได้เกิดจากลุ่มคานที่แทงลอดสอดประสานกันไปทั้งกลุ่มด้วยหลักการ "โต๋ก่ง" อย่างที่ อันโดะคิดทำก็หาไม่ เพราะมีเพียงคานคู่ตัวขอบรอบนอกเท่านั้น ที่วิ่งตลอดและทับกันจริงๆ คานที่เห็นเป็นหัวๆระหว่างคานคู่ริมนั้น วางแปะหลอกไว้เฉยๆเท่านั้น (ดูภาพที่12)
    พรรคพวกส่งภาพงานประดิษฐ์ที่พวกคนชราแถวลำลูกกา ปทุมธานี เขาคิดประดิษฐ์ทำกันเล่นๆมาให้ดู...ในภาพที่ 13 เห็นคุณปู่คุณย่าเอาไม้ไอติมมาต่อซ้อนทับและยื่นไปเรื่อยๆ ก็จะเป็นเหมือนเช่นที่เห็นในภาพรูปตัด คือข้างล่างเห็นเป็นปิรามิดคว่ำ ข้างบนได้หลุมมาเป็น กรวย รับน้ำฝนให้มันไหลลงรูเสาไปได้เลย...เทียบกับงานของอันโดะแล้วจึงกลายเป็นว่าดูข้างล่างคล้าย แต่พอดูข้างบนกลายเป็นแบบไม้ไอติม
    บรรดาใครที่หาว่างานนี้ลอกเลียนงานของทาดาโอะ อันโดะหรือ เคนโกะ คูมา ดูท่าว่าจะต้องต้องทบทวนกันใหม่แล้ว เพราะถึงคลับคล้ายแต่กลับกลายเป็นคนละเรื่อง


    ภาพที่ 14 เป็นภาพสุดท้ายเห็นภาพกว้างเป็นรูปตั้งตัวอาคาร จะเห็นได้ว่าบรรดา หมู่
เสาและเหล่าปิรามิดคว่ำที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น "โต๋ก่ง"นั้น แท้จริงบานจบลงไปเฉยๆไม่ได้ทำหน้าที่รับน้ำหนักอะไรไว้เลย 
    ปัญหาอันเกิดจากรูปลักษณ์ของอาคารที่กำลังได้รับคัดเลือกให้ก่อสร้างเป็นอาคารผู้โดยสารของสนามบินแห่งชาติไทยที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่า นอกจากจะมีปัญหาความไร้อัตลักษณ์ของตนเองซ้ำยัง ไปคล้ายคลึงกับงานของชาติอื่นวัฒนธรรมอื่นเขาแล้ว ยังมีปัญหา ความไม่กระจ่างชัดเจนของรูปลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม กับความคลุมเครือของโครงสร้างงานวิศวกรรมอีกต่างหาก นี่ยังไม่พูดถึงจุดอ่อนของการบำรุงดูแลรักษาต่างๆที่มองเห็น
ทิ้งท้าย...ต้องแก้ไขความไปไม่เป็น
    บทความนี้กำลังจะจบ เขียนแล้วก็ให้นึกสงสารสังคมไทย สงสารวงการวิชาชีพและวิชาการสถาปัตยกรรมศาสตร์ในเมืองไทย หรือกระทั่งสงสารตัวเองและน้องสถาปนิกคนออกแบบที่ได้รับคัดเลือกให้ทำโครงการนี้  ที่สงสารก็เป็นเพราะว่าสาเหตุที่อยู่เบื้องลึกสุดของการตีบตันไม่อาจสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ (MODERN  ARCHITECTURE) ในบ้านเรา ให้มีอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ความเป็นไทย อย่างที่เกิดขึ้นกับโครงการประกวดแบบอาคารสนามบินแห่งชาติครั้งนี้นั้น ก็คือ "ภาวะการไปไม่เป็น" ขาดลอยหลุดรากหลุดเหง้า ไม่ได้มีโอกาสพัฒนาเชื่อมต่อกับงานสถาปัตยกรรมไทยแต่เดิมมานั่นเอง 
    นอกจากจะต้องหาทางร่วมกันเข้าพบและแก้ไขปัญหาการออกแบบอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิที่กำลังเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตานี้แล้ว ในระยะยาว...การตื่นตัว มีสำนึกของวงการสถาปัตยกรรมทั้งวงวิชาการและวงผู้ปฏิบัติวิชาชีพในบ้านเราในอันที่จะย้อน
กลับไปวิวัฒน์ตนเองและวงการให้สามารถเชื่อมโยงกับรากเหง้าของสถาปัตยกรรมไทยแต่เดิมได้ คือการเริ่มเข้าพบและเริ่มแก้ไขปัญหาที่แท้จริง
                                                                             
                                                                                     ขวัญสรวง อติโพธิ
                                                                                      3 กันยายน 2561
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"