สายเลือดลิเกตะพานหิน จ.พิจิตร มรดกวัฒนธรรมที่ยังมีลมหายใจ


เพิ่มเพื่อน    

 

     เสียงร้องลิเกของลิเกคณะมดแดงน้อย อ.ตะพานหิน จ.พิจิตร ดังกังวานผ่านเครื่องเสียง สู้กับสายฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่การแสดงยังดำเนินต่อไป เพราะมีผู้ชมที่เดินทางมารอชมการแสดงมากมาย แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็สร้างความประทับใจให้กับผู้ชมได้ไม่น้อย 
    ลิเกเป็นศิลปะการแสดงของไทยที่เคยได้รับความนิยมและใกล้ชิดกับคนไทยอย่างมากในอดีต แต่ในปัจจุบันก็ต้องยอมรับว่ากระแสของวัฒนธรรมต่างประเทศได้เข้ามามีอิทธิพลกับคนไทยอย่างมาก ทั้งละคร ดนตรี การแต่งกาย อาหาร ส่งผลให้ความนิยมในการดูลิเกลดน้อยลง แต่สำหรับนักแสดงลิเกที่อำเภอตะพานหิน จ.พิจิตร มีสายเลือดลิเกมาหลายชั่วอายุ ยังคงทำหน้าขับเคลื่อนในการอนุรักษ์และสืบสานมรดกไทยอันล้ำค่านี้ให้คงอยู่ 

 


    ด้วยเหตุนี้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับจังหวัดพิจิตร จัดพิธีเปิดโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ในกิจกรรม มหกรรมการแสดงลิเก จังหวัดพิจิตร เพื่อเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมด้านการแสดงลิเกให้แพร่หลาย และยังสามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างชุมชนด้วยภูมิปัญญาในการทำสินค้า อาหารพื้นบ้าน ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางเข้ามาสัมผัสความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างใกล้ชิด 
    โดยภายในงานมีการแสดงจากลิเกกว่า 200 ชีวิต จาก 10 คณะลิเกของอำเภอตะพานหิน อาทิ คณะแสงสว่างดาวร้าย คณะเพชรน้ำเอก คณะแสงวิรัตน์ ยื่นแก้ว คณะสิงห์แสวงชัย คณะเพชรเกษม คณะมดแดงน้อย คณะไพศาล เพียรศิลป์ คณะแสงสว่าง คณะฉัตรชัยมนต์กระจ่าง และรวมดาวลิเกเด็ก 
    นอกจากนี้ยังมีการจัดจำหน่ายสินค้าโอท็อปของชุมชนมากมาย ทั้งจักสานหวายไม้ไผ่ กล้วยตาก ผลไม้และอาหารหลากเมนู


  

      วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ศิลปะการแสดงลิเกจังหวัดพิจิตร เป็นอีกพื้นที่ที่มีศิลปินลิเกอาศัยอยู่จำนวนมาก ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่ม กระจายอยู่หลายชุมชน นอกจากจะได้ชมการแสดง ยังเป็นการเปิดพื้นที่แหล่งเรียนรู้ ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และคาดหวังว่าศิลปินลิเกจะเกิดขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจในอาชีพศิลปะการแสดงของตน ในการสืบสานและส่งต่อภูมิปัญญาการแสดงลิเกนี้สืบไป
    วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ลิเกเป็นศิลปกรรมพื้นบ้านที่ชาวอำเภอตะพานหินยังแสดงและยึดเป็นอาชีพกันอยู่หลายครอบครัวกว่า 30 คณะ ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งการประชาสัมพันธ์เพื่อต่อลมหายใจของศิลปินลิเกให้มีกำลังใจในการทำการแสดง มีรายได้ รวมถึงให้คนได้รู้จักลิเกมากยิ่งขึ้นด้วย อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ในจังหวัดพิจิตร ที่แม้ว่าจะเป็นเพียงจังหวัดเล็กๆ ที่ก็อุดมไปด้วยธรรมชาติและวัฒนธรรมประเพณี อย่างลิเก ที่เมื่อมาถึงจะไม่พลาดชมการแสดงอย่างแน่นอน เพราะนอกจากเหล่าลิเกจะมารวมกันในประเพณีไหว้ครูลิเกในแต่ละปีแล้ว นักท่องเที่ยวก็สามารถมาชมการแสดงนี้ได้ในช่วงเช้าทุกวันเสาร์ เวลา 07.00 น. บริเวณกำแพงแห่งความภัคดี นอกจากนี้ยังมีสินค้าโอท็อปจากชุมชนต่างๆ ยินดีต้อนรับให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมอีกด้วย 
    ด้านวิรัตน์ ยื่นแก้ว นายกสมาคมลิเกตะพานหิน จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ศิลปะการแสดงลิเกของชาวตะพานหินนับว่ามีเสน่ห์ที่แตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะทุกครั้งที่ขึ้นแสดงจะร้องกลอนสด และต่อกลอนสด ทำให้ผู้ชมรู้สึกสนุก และได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต แต่ในปัจจุบันก็เป็นเรื่องที่ชาวลิเกในทุกจังหวัดต้องยอมรับว่าความนิยมของการดูเริ่มน้อยลง แต่ก็ยังมีอยู่บ้างในกลุ่มของแม่ยกที่มีอายุ แต่การแสดงก็ไม่ได้ย่ำอยู่กับที่ก็คงมีการปรับรูปแบบ สถานการณ์ หรือแม้กระทั่งคำศัพท์สมัยใหม่ มาประยุกต์ให้เข้ากับการแสดง 
    “นอกจากความนิยมแล้ว ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจยังส่งผลต่อรายจ่ายด้วย เพราะค่าชุดของลิเก 1 ชุดราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท บางชุดราคาก็เกือบ 100,000 บาท และรายจ่ายอื่นๆ หากเป็นคณะที่มีงานแสดงก็จะไม่มีผลกระทบมากนัก แต่สำหรับคณะที่ไม่ค่อยมีงานแสดงก็ถือว่าลำบากไม่น้อย แต่ด้วยสายเลือดที่เป็นลิเกทำให้ทุกคนไม่ท้อที่จะสืบสานและยืนหยัดทำการแสดงต่อไปเรื่อยๆ และถ่ายทอดต่อไปยังรุ่นลูกรุ่นหลาน ให้เขาได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปะการแสดงของไทยที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาตนก็เป็นนักแสดงลิเกมาก่อน เห็นความเปลี่ยนแปลงมามาก แต่สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ลิเกตะพานหินยังอยู่ ก็คือความสุขที่ได้ทำการแสดงให้กับคนได้ชม เพื่อไม่ให้เลือนหายไปตามยุคสมัย” นายกสมาคมลิเกตะพานหินกล่าว 
    ลิเกสาวที่เคยแสดงมาหลากหลายบทบาท ณัฏฐ์ชานันท์ รอดละม้ายปภา นักแสดงลิเก คณะแสงสว่างดาวร้าย บอกว่า ทุกครั้งที่มีงานแสดงจะรู้สึกมีความสุข เพราะการแสดงเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิต ด้วยครอบครัวก็ยึดอาชีพเล่นลิเกมาโดยตลอด จึงอยากให้คนที่ยังไม่เคยดูลิเก หรือคนที่เคยดูแล้วเปิดใจมาชมการแสดงลิเกที่เป็นศิลปะพื้นบ้านของชาวตะพานหิน ที่จะทำให้ผู้ที่ได้ชมได้ประทับใจกับการร้องต่อกลอนสด การแสดง เหมือนกับการชมละคร เพียงแต่อยู่ในรูปแบบของการแสดงลิเก.


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"