ปั้น 'นักวิจัยไทย' สร้างโมเดลการเงินรับมือเสี่ยงโลกร้อน


เพิ่มเพื่อน    

 

     ปัจจุบันประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและเผชิญกับความท้าทายด้านการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ อย่างกรุงเทพฯ ที่สร้างบนชั้นดินอ่อนสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงแค่ 1.5 เมตร จะเป็นหนึ่งในเมืองที่ถูกผลกระทบมากที่สุดในโลกเทียบเท่ากับเมืองใหญ่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จาการ์ตา และมะนิลา

      แต่บ้านเรายังพบอุปสรรคใหญ่ด้านการเงินเพื่อช่วยชาวบ้าน เกษตรกรที่เสียหายจากน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือภัยพิบัติ ขณะที่แหล่งเงินทุนเพื่อการปรับตัวส่วนมากมาจากการระดมทุนของภาครัฐและองค์กรระหว่างประเทศ ภาคเอกชนมีส่วนร่วมลงทุนน้อยมาก อีกทั้งไทยขาดผู้เชี่ยวชาญที่สามารถวิจัยด้านนโยบายการเงินเพื่อทำโครงการดีๆ ช่วยชาวบ้านที่เดือดร้อนจากภาวะโลกร้อน

      เพื่อสร้างนโยบายการเงินเพื่อการปรับตัวจากอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นและสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับแฟรงก์เฟิร์ตสกูล ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนแผนงานทุนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (AFFP) ที่โรงแรมเบิร์กลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ เมื่อวันก่อน โดยมีการให้ทุนส่งนักวิจัยไทย 2 คน และเจ้าหน้าที่ด้านสินเชื่อ 1 คน เข้าร่วมโครงการ AFFP

 

ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ TDRI

      ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ TDRI กล่าวว่า วันนี้คนไทยเริ่มตระหนักภัยและความสูญเสียจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จากผลกระทบรุนแรงของไต้ฝุ่นมังคุดที่พัดถล่มฟิลิปปินส์ ฮ่องกง และจีนตอนใต้ กลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา หรือภาวะฝนแล้งจากภาวะเอลนีโญปี 58 หรือมหาอุทกภัยปี 54 ที่มูลค่าความเสียหายของภัยพิบัติครั้งนี้ติดอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนว่าน้ำท่วม ฝนแล้ง พายุรุนแรง สภาพอากาศสุดขั้วเกิดจากการสะสมคาร์บอนในชั้นบรรยากาศ ภาวะอากาศสุดโต่ง สร้างความสูญเสียโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ด้อยพัฒนา และคนยากจน อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ประมาณต้นทุนการปรับตัวรับมือเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศต้องใช้เงิน 1.3-5.6 ล้านบาท  และจะเพิ่มเป็น 9.2 ล้านบาท ในปี 2593 หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไม่เกิน 2 องศา ขณะที่งบที่ประเทศพัฒนาแล้วระดมมาใช้รับมือในปี 2558 มีไม่ถึง 20% ที่ถูกใช้เพื่อการปรับตัว แสดงว่าคนยากจนและประเทศกำลังพัฒนาจะเจอความเสียหายทุกครั้งจากสภาพอากาศสุดขั้ว เพราะไม่มีเงินพอหนุนและเสริมให้คนปรับตัว ปรับระบบการผลิต ตลอดจนวางแผนป้องกันภัยธรรมชาติล่วงหน้า

      "หนทางที่จะระดมทุนให้พอคือ การพึ่งเอกชน ทั้งสร้างกลไก แรงจูงใจให้ประชาชน และเกษตรกรมีส่วนปรับตัวรับมือภัยดินฟ้าอากาศ ซึ่งโครงการ AFFP จะเน้นการฝึกอบรมศักยภาพและพัฒนาศักยภาพคนหนุ่มสาว 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักวิจัย กลุ่มผู้จัดทำนโยบาย และกลุ่มธุรกิจภาคเอกชน คนทั้งสามกลุ่มจะเป็นผู้นำวิจัย และบริหารจัดการสินเชื่อเกษตรรับมือโลกร้อน" ดร.นิพนธ์ เผย

 

อภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.

      ด้าน อภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวว่า โครงการ “แผนงานทุนสร้างทูตการเงินเพื่อการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (AFFP)” เป็นโครงการที่มีความสำคัญในการแสวงหามาตรการป้องกันที่ให้ความสำคัญต่อการปรับตัวของชุมชนและประชากรในการรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ธ.ก.ส.ต้องการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรอย่างยั่งยืน ดำเนินภารกิจเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความเสี่ยงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาด้านภัยธรรมชาติซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ โดยมีแผนงานที่ครอบคลุมทุกกลุ่มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในความพยายามที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยการเข้าไปทำงานร่วมกับชุมชนในกิจกรรม Low Emission Support Scheme : LESS โดยส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกต้นไม้ภายใต้โครงการธนาคารต้นไม้ ขณะนี้ได้ดำเนินการไปกว่า 6,800 ชุมชน มีต้นไม้ 11.7 ล้านต้น

      ส่วนเกษตรกรลูกค้า เขาเผยว่า ธ.ก.ส.ได้ดำเนินโครงการ Green Credit เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตอาหารปลอดภัย ส่งเสริมการใช้พลังงานทางเลือก เป็นต้น ซึ่งมีเป้าหมายการให้สินเชื่อ 5,000 ล้านบาท สิ้นสุดโครงการมีนาคม 2564

      นอกจากนี้ ผู้จัดการ ธ.ก.ส.บอกว่า ธ.ก.ส.ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai Rice NAMA โดยความร่วมมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ในการพัฒนาการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีที่สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ร่วมกับการนำมาตรฐานการผลิตข้าวยั่งยืน เป้าหมาย คือ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง ร้อยละ 20-25 ภายในปี 2573 โครงการนี้นำร่องในพื้นที่เขตชลประทานภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท, พระนครอยุธยา, ปทุมธานี, สิงห์บุรี, อ่างทองและสุพรรณบุรี เทคโนโลยีที่ใช้ลดปล่อยก๊าซ เช่น ปรับระดับพื้นที่ ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง จัดการปุ๋ย จัดการตอซังและฟาง เลือกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่ มีเงินทุนบริหารโครงการฝึกอบรมเกษตรกร ให้เกษตรกรใช้เป็นเงินทุนผลิตข้าวคุณภาพ มีกองทุนหมุนเวียน สนับสนุนการบริการเทคโนโลยีให้กับผู้บริการในรูปแบบสินเชื่อสีเขียว

      อภิรมย์กล่าวต่อว่า ธ.ก.ส.พยายามจะให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความรุนแรงของปัญหาภัยธรรมชาตินี้ในหลายวิธี แต่เกษตรกรยังเผชิญภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจึงได้ทำโครงการประกันภัยข้าวนาปีตั้งแต่ปี 2554 คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม ภัยแล้ง ลมพายุ พายุใต้ฝุ่น ภัยหนาว ลูกเห็บ และไฟไหม้ รวมถึงความเสียหายที่เกิดจากศัตรูพืชหรือโรคระบาด โครงการปีที่แล้วมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1.75 ล้านราย พื้นที่ 26.12 ล้านไร่ ส่วนปีนี้ ธ.ก.ส.มีเป้าหมายรับประกันภัย 30 ล้านไร่ เรายังมีความพยายามจะบริหารความเสี่ยงเรื่องของภัยธรรมชาติ ขยายผลไปยังพืชและผลผลิตทางการเกษตรอื่น เช่น ข้าวโพด โคนม เป็นต้น

       "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจุบันได้ส่งผลกระทบกับทุกประเทศในโลก โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาหรือประเทศยากจน เพราะระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศ โดยเฉพาะภาคการเกษตรจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องสร้างบุคลากรให้มีความรู้เรื่องการเงินเพื่อการปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เพื่อบูรณาการความรู้ทางด้านวิจัย นโยบาย และธุรกิจเข้าด้วยกัน ในการสนับสนุนการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในไทย ธ.ก.ส. พร้อมให้การสนับสนุนเงินทุน รวมถึงบุคลากรของธนาคารเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ" อภิรมย์ย้ำการสร้างคนจำเป็น

 

ศ.ดร.อุฟ มูสเลเนอร์ หัวหน้าแผนกวิจัยของแฟรงก์เฟิร์ตสกูล

      ขณะที่ ศ.ดร.อุฟ มูสเลเนอร์ หัวหน้าแผนกวิจัยของแฟรงก์เฟิร์ตสกูล กล่าวว่า เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สภาพอากาศจะแปรปรวน เช่น พายุไซโคลนและไต้ฝุ่นที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน และสภาวะฝนแล้งสลับกับน้ำท่วมที่มีแนวโน้มรุนแรงและถี่ขึ้น ซึ่งแฟรงก์เฟิร์ตสกูลร่วมกับศูนย์วิจัยด้านภูมิอากาศและการเงินของความยั่งยืนด้านพลังงาน (FS UNEP Center) เน้นการวิจัยระบุปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่ในด้านการเงินเพื่อมาตรการปรับตัว และได้พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และให้บริการที่ปรึกษาแก่ลูกค้าต่างประเทศหาทางออกเพื่อรับมือกับสภาพอากาศและการจัดหาเงินทุน ในหลายๆ กรณีเราไม่ได้เตรียมความพร้อมต่อความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่เรากำลังเผชิญอยู่ เงินลงทุนในวันนี้เพื่อการเตรียมการที่ดีจะสามารถปันผลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต บรรเทาความเสียหายของเกษตรกรได้

       เช่นเดียวกับ ดร.บิม อดิการี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจาก ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDRC) จากประเทศแคนาดา ระบุว่า ปัจจุบันเอกชนร่วมลงทุนเพื่อปรับตัวในระดับที่จำกัดมาก ทรัพยากรมนุษย์ในหลายประเทศกำลังพัฒนาถือเป็นข้อจำกัดหลักเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับตัว นอกจากนี้ ขีดจำกัดตอนนี้คือขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการวิจัยด้านนโยบายการเงินเพื่อการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล การเตรียมจัดทำโครงการที่ดี และการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่มีศักยภาพ ตลอดจนอุปสรรคในการระบุแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและวิธีการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเหล่านั้น การที่นักวิจัยไทยได้รับทุนทำวิจัยนวัตกรรมเรื่องแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับตัวรับมือเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยเฉพาะการปรับตัวของเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา สามารถระบุแนวโน้มและแนวทางใหม่ๆ ทำให้เติบโตอย่างยั่งยืน นักวิจัยไทยจะกลับมาสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"