เกษตรกร 36,605 รายเฮ ครม.เคาะพักหนี้


เพิ่มเพื่อน    

 

ครม.เห็นชอบแผนฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส.และกองทุนฟื้นฟู 3.6 หมื่นราย ยอดหนี้เงินต้น 6,382 ล้านบาท  พร้อมเห็นชอบ พ.ร.บ.อ้อยแฃะน้ำตาล

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติแนวทางการแก้ไข้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรวม 36,605 ราย วงเงิน 6,382 ล้านบาท ที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL และมีระยะเวลาการเป็นหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ปี ที่เป็นสมาชิกของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และเป็นลูกค้าของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. โดยจะพักเงินต้นให้ 50% ของมูลหนี้ และพักชำระดอกเบี้ยทั้งหมด ซึ่งเกษตรกรที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้จะต้องมีการชำระหนี้ให้ ธ.ก.ส. ตามที่มาแห่งรายได้ปีละ 1 ครั้ง

นอกจากนี้ จะต้องจัดทำแผนฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ในอนาคต และหากผิดนัดชำระหนี้ทาง ธ.ก.ส. จะคิดอัตราดอกเบี้ยในส่วนของเงินต้นที่ค้างชำระในอัตราสูงสุด หรืออยู่ที่ MRR +3

สำหรับแผนช่วยเหลือครั้งนี้ไม่คำนวณรวมเป็นเอ็นพีแอล เพื่อประเมินผลตามบันทึกข้อตกลงการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจและเป็นโครงการที่ต้องแยกเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐให้แก่ ธ.ก.ส.และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างหนี้ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามระเบียบที่กำหนด 

ทั้งนี้ เกษตรกรที่มีสิทธิ์ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนหนี้ต้องมีคุณสมบัติ คือ 1.เป็นเกษตรกรประกอบอาชีพเกษตรกรรมตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด  2.เป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร 3.มีหนี้ที่เกิดจากการทำเกษตรกรรม และ 4.เป็นหนี้ในระบบตามที่กฎหมายกำหนด หนี้โครงการส่งเสริมของรัฐ หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงินประเภทธนาคารพาณิชย์ ธ.ก.ส. หรือนิติบุคคล และหนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงินจากสถาบันเกษตรกร โดยเปิดให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม – 13 ตุลาคม 2561 เป็นระยะเวลา 60 วัน ที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรทั่วประเทศ

นายณัฐพร เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบการปรับปรุง ร่าง พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย หลังกฎหมายเก่ามีการใช้มานานตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งอาจไม่รองรับต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน โดยในร่างพรบ.อ้อยและน้ำตาลทรายฉบับใหม่มีสาระสำคัญ อาทิ การแก้ไขบทนิยามเพิ่มคำว่า “น้ำอ้อย” เข้าไป เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำน้ำอ้อยไปใช้ประโยชน์นอกเหนือจากการผลิตเป็นน้ำตาลทราย เช่นผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นอย่างแก๊สโซฮอล์ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีทางเลือกเพิ่มรายได้มากขึ้น

สำหรับ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ยังกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นต้องไม่น้อยกว่า 80% และไม่เกิน 95% ของประมาณการณ์รายได้ที่คำนวนได้ หลังจากเห็นว่า พ.ร.บ.เก่ามีการกำหนดเพียงขั้นต่ำไม่มีขั้นสูง จึงอาจเกิดความเสี่ยงราคาอ้อยขั้นต้นสูงกว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ทำให้ต้องเกิดการชดเชย รวมถึงการปรับปรุงพ.ร.บ.นี้ให้สอดคล้องตามข้อตกลงทางการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก หรือ WTO

นอกจากนี้ ยังยกเลิกเงินกู้ของรัฐบาลตามมติ ครม.เดิมอนุมัติไว้ การกำหนดให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นสมาชิกสถาบันการชาวไร่อ้อย หรือกลุ่มเกษตรกรได้เพียงแห่งเดียว  กำหนดให้แยกโทษของสมาชิกชาวไร่ออกจากหัวหน้ากลุ่ม และเพิ่มโทษปรับจากเดิม 4 เท่า เดิมปรับ 5,000 บาท เพิ่มเป็นโทษปรับสูงสุด 20,000  บาท  การกำหนดให้โรงงานผลิตน้ำตาลทรายไม่เกินข้อกำหนดตามกฎหมาย  เปิดทางให้นำเข้าน้ำตาลทราย  แต่ต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หลังจากนี้เตรียมนำเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจาณาในขั้นต่อไป
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"