กรมศิลป์เล็งขอวัดพระยาทำฯ ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ


เพิ่มเพื่อน    

3 ต.ค.61- ที่วัดพระยาทำวรวิหาร นายสถาพร เที่ยงธรรม ผู้อำนวยการกองโบราณคดี กรมศิลปากร นำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้านชุมชนวัดพระยาทำวรวิหาร  เกี่ยวกับการเก็บรักษาโบราณวัตถุที่พบขณะทำการบูรณปฏิสังขรณ์หอระฆัง วัดพระยาทำวรวิหาร พร้อมบอร์ดจัดแสดงขั้นตอนการเก็บรักษาโบราณวัตถุขณะบูรณะหอระฆัง เนื่องจากก่อนหน้านี้ มีกรณีชาวบ้านชุมชนวัดพระยาทำฯ  รวมตัวถามผู้เกี่ยวข้องเรื่องพระเครื่อง โบราณวัตถุ ภายในหอระฆัง หายไปขณะทำการบูรณะ   โดยมีพระวัดพระยาทำฯ และกลุ่มชาวบ้านในชุมชนมาร่วมรับฟังจำนวนหนึ่ง

 

นายสถาพร เที่ยงธรรม ผอ. กองโบราณคดี กล่าวว่า   การลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้านครั้งนี้ เหตุจากมีข่าวประชาชนสงสัยโบราณวัตถุที่พบเก็บรักษาไว้ที่ไหน ซึ่งชิ้นส่วนโบราณวัตถุที่เจอ เจ้าหน้าที่พบบริเวณที่เป็นฐานเดิม ซึ่งปัจจุบันมีการก่อสร้างครอบฐานคลุมไว้อีก การบูรณะให้เป็นสภาพปัจจุบันย่อมไม่เห็นฐานเดิมด้านใน  ฉะนั้น  ไม่เป็น ประโยชน์ที่จะนำเศษชิ้นส่วนประดับไว้แล้วสร้างฐานคลุม เจ้าหน้าที่จึงเก็บออกมาทั้งหมด โดยมีความเห็นว่า เป็นโบราณวัตถุสำคัญต้องนำมาจัดแสดงและสื่อความหมายให้ประชาชนได้ทราบว่า หอระฆังยุคแรกเคยมีฐานประดับเครื่องถ้วยลวดลายเหล่านี้ ซึ่งดูจากชิ้นส่วนกระเบื้อง เครื่องถ้วยจีนน่าจะอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 2- รัชกาลที่ 3 ถือเป็นศิลปะนิยมยุคนั้น  หากวัดพระยาทำวรวิหารมีความประสงค์จะนำโบราณวัตถุเหล่านี้จัดแสดงก็ทำได้  โดยกรมศิลปากรจะเป็นพี่เลี้ยง และแปะคืนให้เป็นรูปแบบเดิม เพราะกรมศิลปากรได้เก็บหลักฐานไว้หมดแล้ว     ขณะที่ชิ้นไหนสำคัญมากและมีความสมบูรณ์ กรมศิลปากรจะขอขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นมรดกของชาติ  โดยจะมีคณะกรรมการประเมินราคาอีกหนึ่งชุดทำหน้าที่นี้ เนื่องจากวัดเป็นเจ้าของ สำหรับชิ้นส่วนกระเบื้องที่พบแบ่งเป็น 9 กลุ่มใหญ่ จำนวนประมาณ 26 ถุง ในถุงมีชิ้นส่วนเล็กๆ น้อยๆ บรรจุอยู่ ชิ้นใหญ่มี 2 ชิ้น เป็นปูนปั้นชิ้นส่วนของนาค

กรณีที่มีข่าวว่าพบพระเครื่อง นายสถาพร กล่าวต่อว่า ยืนยันว่า ไม่พบพระเครื่อง เพราะจากการขุดค้นใต้ฐาน ซึ่งเป็นอาคารหอระฆังต่างจากเจดีย์ที่มีความสำคัญต่อวัด อาจมีกรุหรือห้องเก็บวัตถุทางศาสนา ทั้งพระ ของมีค่า แต่หอระฆังไม่พบการเก็บวัตถุเหล่านี้  ขอชี้แจงกรมศิลปากรได้จัดทำบัญชีประเภทโบราณวัตถุไว้อย่างชัดเจน โดยระบุตำแหน่งชิ้นส่วนกระเบื้องพร้อมให้เลขหมายไว้บนชิ้นส่วนกระเบื้องแต่ละชิ้น แยกเก็บหลักฐานตามตำแหน่งพื้นที่ที่พบ และได้เก็บรักษาโบราณวัตถุทั้งหมดไว้ตามหลักวิชาการอย่างละเอียด รอบคอบ และเคร่งครัด ทั้งนี้ กรมศิลปากรจะนำโบราณวัตถุทั้งหมดที่พบนี้เป็นต้นแบบของการบูรณะและจัดทำชิ้นส่วนใหม่กรณีที่มีการแตกสลายไป

  นายสถาพร กล่าวต่อว่า ส่วนการดำเนินการบูรณะโบราณสถานนี้ นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร สั่งตั้งทีมงานเพื่อวางแผนวิธีการบูรณะ ซึ่งหากมีความชัดเจนแล้ว อธิบดีกรมศิลปากร จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

 

 

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"