'ไม่.รู้.จบ' ว่าด้วยสถาปัตย์และศิลปะการแสดงสด


เพิ่มเพื่อน    

 

ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ ใช้ตัวเองเป็นผลงานร่วมกับพื้นที่ศาลาพาจร 
 

     ศิลปะการแสดงในเทศกาลบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 ถือเป็นการเปิดสนามแห่งการทดลองศิลปะแขนงนี้ให้กับเหล่าศิลปินนานาชาติและศิลปินไทย โดยยึดพื้นที่ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครจัดกิจกรรมคึกคัก เพื่อให้เกิดกิจกรรมการจัดแสดงศิลปะอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2018 ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระราชูปถัมภ์ และศิลปินร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะ ภายใต้แนวคิด "ไม่.รู้.จบ : Beyond Infinity" จำนวน 4 ชิ้น 
    เป็นผลงานจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ จำนวน 2 ชิ้น คือ "Vexed + Voided" ของบี วิทยถาวรวงศ์ กับบิวท์บิวโร และผลงาน "ศาลาพาจร" ของวีระ อินพันทัง กับพิช โปษยานนท์ และผลงานจากศิลปิน ได้แก่ ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ เจ้าของผลงานศิลปะแสดงสด ผิดที่/ผิดทาง, ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เจ้าของผลงาน Afterlight อีกทั้งยังเชื่อมโยงกับนิทรรศการ A Possible Island? เดิมที่มีอยู่บนชั้น 8  

 

ผลงาน Afterlight จัดแสดงที่หอศิลป์ กทม.
 

    จุดเด่นของ ไม่.รู้.จบ เป็นศิลปะการจัดวางเชิงสถาปัตยกรรมและการแสดงสดที่มีจุดมุ่งหมายในการหาคำตอบอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเป็นพื้นที่สำหรับการมีส่วนร่วมสำหรับทุกคน ขณะนี้สามารถรับชมได้แล้วถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 ณ หอศิลป์กรุงเทพฯ
    ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ เผยว่า ก่อนหน้านี้มีนิทรรศการ A Possible Island? จากศิลปิน Marina Abramovic Institute (MAI) จัดแสดง 3 อาทิตย์ มีผู้เข้าชมกว่า 70,000 คน สะท้อนให้เห็นว่าคนมีความสนใจในชิ้นงานและมีกระบวนการคิด มุมมองต่อชิ้นงานที่ไม่ใช่แค่ศิลปะ แต่รวมถึงบริบทอื่นในสังคม ดังนั้น เพื่อให้ต่อเนื่องจึงเกิดผลงานทั้ง 4 ชิ้น เป็นการนำศาสตร์ของสถาปนิกมารังสรรค์ให้เชื่อมโยงกับศิลปะ มีเนื้อหาเรื่องราวเชื่อมโยงกับการผลงานเดิมที่มีอยู่ แต่ยังคงมีจุดเด่นของการแสดงสดของศิลปิน และเพิ่มการให้ผู้เข้าชมได้มีส่วนร่วมกับผลงานมากขึ้น

 


    ด้าน พิช โปษยานนท์ ศิลปินผู้ร่วมรังสรรค์ผลงานศาลาพาจร กล่าวว่า ผลงานชิ้นนี้เป็นหนึ่งในการทดลองของวีระ อินพันทัง เขาได้เห็นแท่นตั้งศพเก่าแก่ในงานสวดพระอภิธรรมที่วัดไทร จังหวัดนครปฐม ซึ่งประกอบสร้างจากข้อต่อไม้แบบเถรอดเพล กลายเป็นแท่นตั้งศพที่มีความแข็งแรงโดยไม่ต้องใช้ตะปู แสดงให้เห็นศักยภาพของเถรอดเพล ทำให้มีแนวคิดในการพัฒนาต่อยอดมาสร้างสรรค์เป็นงานสถาปัตยกรรมนี้
    “ศาลาพาจร หนึ่งในชิ้นงานที่ใช้วิธีแบบเถรอดเพล ทำขึ้นจากไม้เต็ง เป็นไม้เนื้อแข็ง เหมาะกับการสร้างในพื้นที่ภายใน และยังมีรูปทรงหนึ่งในส่วนของพีระมิดด้วย การประกอบเกิดจากไม้หน้าตัดรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 6 ท่อน สอดขัดกันเข้าเป็นข้อต่อสามแกนในลักษณะกากบาท มีความโปร่ง สามารถยืดขยายหรือหดได้ตามขนาดของพื้นที่ โดยมีขนาด 9x9x6 เมตร ผู้ที่เข้าชมสามารถขึ้นไปนั่งหรือเดิน นอนได้ โดยจะรับน้ำหนักได้ประมาณ 2-3 คน” พิชกล่าว      

 

ผู้ชมงานศิลป์มีส่วนร่วมกับผลงาน "ศาลาพาจร" 

    ขณะที่ศิลปิน บี วิทยถาวรวงศ์ และบิวท์บิวโร ที่ได้ออกแบบงาน Vexed + Voided ซึ่งทำมาจากไม้เผาไฟและเหล็กเส้น หนึ่งในผลงานที่จัดแสดงในการประกวดแบบนานาชาติประจำปี 2018 ของสมาคมสถาปนิกสยามฯ โดยผลงานเป็นการแปลงร่างวัสดุไม้ ตัดคว้าน เผาไฟให้ดำ ด้วยกระบวนการทำมือ ชุบชีวิตเป็นวัตถุดำว่างเปล่าไร้พันธะในห้องสีขาว รอการตีความทำหน้าที่ต่างไปท่ามกลางเพื่อนบ้านใหม่
    ส่วนผลงานของศิลปิน ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เจ้าของผลงาน Afterlight มีทั้งศิลปะจัดวาง ภาพยนตร์สั้นและการแสดงสด โดยเป็นการถอดสมการคำถามที่ได้รับจากการสนทนากับตึก East Asiatic Bangkok มาสวมไว้อยู่ในกระบวนการคิดผ่านร่างกาย เพื่อก่อให้เกิดการสนทนาภายในร่างกายกับคำถามที่ว่า จริงหรือไม่ที่วิธีที่เราแต่ละคนเป็นอยู่หรือดำเนินอยู่ไม่ได้รับผลกระทบ หรือถูกครอบด้วยอำนาจของสิ่งใด จากข้อเท็จจริงที่ว่าประเทศไทยไม่เคยเสียเอกราช ซึ่งอาจทำให้หลายคนไม่ได้ตระหนักถึงการถูกครอบกลืนจากอำนาจที่ผ่านกาลเวลา มาอยู่ในสภาวะของมุมมองต่ออัตลักษณ์ด้วยตนเอง ผ่านการจัดวางการเคลื่อนไหวหรือการดำเนินไปในชีวิตประจำวัน โดยจะมีการแสดงสดเคลื่อนไหวทางร่างกายกับผลงานที่เป็นการจัดวางไฟและภาพยนตร์สั้น จนถึงวันที่ 2 ธันวาคมนี้

 

งาน Vexed + Voided ที่ทำมาจากไม้เผาไฟและเหล็กเส้น 


    ศิลปะการแสดงสดจากศิลปิน ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ กับการแสดงชื่อว่า ผิดที่/ผิดทาง: การมีอยู่ของสิ่งไร้ตัวตน โดยตัวศิลปินทำหน้าที่เป็นผลงานเองกับพื้นที่ของผลงานศาลาพาจร เพื่อมุ่งเน้นการกระตุ้นสัมผัสอื่นนอกเหนือจากการมอง ด้วยการสร้างการรับรู้ประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้รับชม โดยการรื้อและทำลายประสบการณ์กับการรับรู้เดิมของรหัสทางวัฒนธรรมสังคมและการเมือง เชื่อมโยงคติสำหรับการตั้งคำถามใหม่ทางทัศนศิลป์และรูปแบบของการสื่อสารผ่านสัมผัสทั้งหก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมโนสัมผัสผ่านการแสดงสดแบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมงต่อวัน และจะแตกต่างกันในแต่ละวัน วันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา ศิลปินได้โกนผม และให้ผู้ที่ได้เข้าชมมีส่วนร่วมนำแผ่นทองคำเปลวมาติดตามร่างกายของศิลปิน การแสดงนี้ศิลปินจะพักอาศัยและนอนค้างคืนที่จัดแสดง แต่จะเริ่มทำการแสดงตั้งแต่เวลา 12.00 น. จนถึงเวลา 20.00 น.ของแต่ละวัน ตั้งแต่วันนี้-25 พ.ย.
    สำหรับผู้ที่สนใจเข้าชมศิลปะการแสดงสดสามารถเข้าชมได้ตามวัน-เวลาที่กำหนด หลังจากสิ้นสุดการแสดงสามารถเข้าชมผลงานทั้ง 4 ชิ้นได้ ตั้งแต่วันนี้-3 กุมภาพันธ์ 2562 ทุกวัน (หยุดวันจันทร์) เวลา 10.00-21.00 น. ณ บริเวณชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร. 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"