"สมพงษ์"ระบุต่อจากนี้่จะเห็นจม.ลาออก กก.มหา'ลัยอีกนับพันฉบับ 


เพิ่มเพื่อน    

28พ.ย.61- นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และผู้อำนวยการ สมศ. ยื่นขอลาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากไม่ต้องการที่จะเป็นภาระและยุ่งยากในการยื่นทรัพย์สิน ตามประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่อง กําหนดตําแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ.2561 ว่า ส่วนตัวแล้วตนไม่ทราบถึงเหตุผลจริงๆ ที่มีการลาออก เพราะการลาออกจากตำแหน่งต่างๆ ใน สมศ. ไม่ต้องมายื่นเรื่องที่ตน แต่ก็ทราบตามข่าวว่าเป็นการลาออก เพราะไม่ต้องการความยุ่งยาก ดังนั้นตนจึงของดให้ความเห็นในเรื่องนี้ ซึ่งยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่กระทบต่อการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 4 แน่นอน

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ประกาศ ป.ป.ช.ดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการและผอ.สมศ. หรือไม่ นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า หากจะพูดถึงผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ตนคิดว่าคงกระทบคณะกรรมการทั้งประเทศ ไม่ใช่เฉพาะคณะกรรมการ สมศ. ดังนั้นตนคิดว่าคงต้องรอความชัดเจนจากทาง ป.ป.ช. ว่าจะแก้ไขไปในทิศทางใด แต่การที่มีกรรมการลาออก ตนก็ไม่สามารถไปทำอะไรได้ เพราะเป็นสิทธิส่วนบุคคล นอกจากนี้นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ยังได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งประธาน กพฐ.ด้วย เนื่องจากประธาน กพฐ.เป็นกรรมการโดยตำแหน่งในคณะกรรมการ สมศ. ที่จะต้องยื่นทรัพย์สินตามประกาศของ ป.ป.ช. อย่างไรก็ตาม หากมีผู้ใดสนใจที่จะลาออกอีก ตนก็ยินดีที่จะรับพิจารณา

ด้าน นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากนี้ไป 1-2 เดือน รัฐบาลและ ป.ป.ช. จะเห็นปรากฎการณ์การยื่นจดหมายลาออกจากคณะกรรมการต่างๆ และกรรมการสภามหาวิทยาลัยนับพันฉบับ   ซึ่งจะทำให้เกิดช่องโหว่ของสถาบันอุดมศึกษาขนาดใหญ่ ส่งผลให้งานหยุดชะงัก ไปไม่น้อยกว่า 6 เดือนถึง 1 ปี กว่าที่จะหากรรมการชุดใหม่ได้เรียบร้อย การที่ ป.ป.ช.ตีความว่านายกสภาและกรรมการสภาฯ เป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ซึ่งต้องยื่นทรัพย์สิน เพื่อการตรวจสอบและความโปร่งใส ซึ่งข้อเท็จจริงเราก็ยอมรับว่ากรรมการมหาวิทยาลัยบางแห่งที่เป็นส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหาความไม่โปร่งใส แต่ยืนยันว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ไม่มีปัญหา  แต่การ ป.ป.ช.ออกกฎหมายแบบครอบจักรวาล  ทำให้คนภายนอกที่ตั้งใจจะเข้ามาช่วยมหาวิทยาลัยไม่กล้าเข้ามา ทั้งๆที่รัฐบาลประกาศให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งผลิตนวัตกรรม ผลิตองค์ความรู้ และให้ทุกภาคส่วนเข้ามาช่วยสนับสนุนมหาวิทยาลัย แต่กฎหมาย ป.ป.ช.กลับเป็นตัวผลักคนที่มาช่วยมหาวิทยาลัยให้ออกไป ซึ่งจะยิ่งทำให้มหาวิทยาลัยถูกแช่แข็ง ไม่พัฒนา ส่งผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนการตรวจสอบความโปร่งใสของกรรมการสภามหาวิทยาลัย ก็เป็นหน้าที่ของสภาคณาจารย์อยู่แล้ว เราควรส่งเสริมให้สภาคณาจารย์เข้มแข็ง มีบทบาทในการตรวจสอบมากขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"