มืดฟ้ามัวดินแน่!โพลสถาบันพระปกเกล้าเผยกว่า90%จะไปเลือกตั้งแต่เกินครึ่งยังงงบัตรใบเดียว


เพิ่มเพื่อน    

10 ธ.ค.61 - ที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สถาบันพระปกเกล้า เปิดเผยผลสำรวจ ครั้งที่ 1 เรื่อง “ประชาชนพร้อมหรือยังกับการเลือกตั้ง” โดย นายวุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และดร.สติธร ธนานิธิโชติ นักวิชาการผู้ชำนาญการ สถาบันพระปกเกล้า ในการสำรวจความคิดเห็นครั้งที่ 1 (ระหว่างวันที่ 5-7 ธ.ค. 2561) จากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ จำนวน 1,540 ตัวอย่าง พบว่า ผลการสำรวจ ส่วนที่ 1 : ความรู้ความเข้าใจต่อการระบบเลือกตั้ง (คำถามปลายเปิด) ร้อยละ 59.1 ทราบว่า ส.ส.แบบแบ่งเขต  ร้อยละ 40.9 ไม่ทราบ ร้อยละ 70.5 ทราบว่า ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อมี 150 คน ร้อยละ 29.5 ไม่ทราบ เมื่อถามเกี่ยวกับ “บัตรเลือกตั้ง” ตามระบบเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 55.2 ยังเข้าใจว่า ในการเลือกตั้ง ส.ส. ที่กำลังจะจัดขึ้นในปี 2562 ต้องกาบัตรเลือกตั้ง 2 ใบเช่นเดิมร้อยละ 44.8 เข้าใจถูกต้องว่า ต้องกาบัตร 1 ใบ

ทั้งนี้ พบว่า ประชาชนพื้นที่ภาคเหนือ ไม่ทราบว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ ใช้บัตรเลือกตั้งกี่ใบมากที่สุด ร้อยละ 65 รองลงมา คือ ภาคอีสาน ร้อยละ 59.4 ขณะที่ กทม. ประชาชนในพื้นที่ทราบว่าใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวมากที่สุด ร้อยละ 75

ส่วนที่ 2 : ผลสำรวจพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในวันที่ 3 ก.ค. 2554 และการตัดสินใจเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ เมื่อถามถึงปัจจัยที่ประชาชนใช้ในการตัดสินใจเลือก “ผู้สมัครแบบแบ่งเขต” พบว่าร้อยละ 41.9 ดูจากนโยบายพรรคที่ใช้หาเสียง ร้อยละ 30.7 ดูจากตัวผู้สมัคร ร้อยละ 19.4 ดูจากพรรคที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 8 ดูจากชื่อผู้นำที่พรรคของผู้สมัครคนนั้นชูเป็นนายกรัฐมนตรี

เมื่อถามว่า วันที่ 24 ก.พ. ปี 2562 จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ ร้อยละ 90.8 ระบุว่า จะออกไปใช้สิทธิอย่างแน่นอน ร้อยละ 8.6 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.6 ระบุว่า จะไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างแน่นอน

เมื่อถามว่า การที่รัฐธรรมนุญกำหนดให้พรรคการเมืองสามารถประกาศรายชื่อบุคคลที่พรรคเห็นสมควรให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ในช่วงที่มีการเลือกตั้ง ส.ส. นั้น จะมีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ของประชาชน (ส.ส. เขต) หรือไม่  ร้อยละ 53.8 ระบุว่า มีผลอย่างมาก ร้อยละ 29.9 ระบุว่า มีผล ร้อยละ 11.1 ระบุว่า ไม่ค่อยมีผล
ร้อยละ 5.2 ระบุว่า ไม่มีผลเลย

ศ.วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ประชาชนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ตั้งใจอย่างยิ่งที่จะไปเลือกตั้ง ที่สำคัญมาก คือคนกลุ่มที่อายุมากกว่า 40 ปี ซึ่งมีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวกับการเมืองไทย เป็นพวกที่ Activeที่สุดที่อยากจะเข้าไปเลือกตั้ง แต่สิ่งที่คิดว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อาจจะต้องหยิบข้อสะท้อนจากการสำรวจของสถาบันพระปกเกล้า ไปพิจารณา ก็คือความเข้าใจต่อระบบการเลือกตั้ง ที่เปลี่ยนไป

"คิดว่า เป็นจุดสำคัญ เพราะระบบการเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปจากระบบสองบัตร เป็นบัตรเดียวนั้นจะส่งผลหรือไม่ ต่อเกณฑ์หรือพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในอนาคต เพราะในอดีตเราจะเห็นว่า การเลือกตั้งครั้งล่าสุด คนส่วนใหญ่ให้น้ำหนักกับเรื่องนโยบายพรรค แต่นั่นเป็นระบบที่มีบัตรสองใบ เมื่อเป็นระบบมีบัตรใบเดียวแล้ว ต้องช่างใจกันใหม่ระหว่าง ตัวผู้สมัคร นโยบายพรรค และที่สำคัญมากคือ กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เห็นว่า ชื่อนายกฯ สำคัญ  เพราะฉะนั้นองค์ประกอบของการตัดสินใจในการเลือกตั้งครั้งหน้า ยังคิดว่า เป็นโจทย์ที่เราตั้งใจโยนขึ้นไปเป็นพลุสว่าง ให้พรรคการเมืองและคนที่จะดำเนินการจัดการเลือกตั้งได้พิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  สถาบันพระปกเกล้า ได้จัดทำเว็บไซต์ KPI-corner เพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น  โดยจะมีการสำรวจความพร้อมของประชาชนเพื่อสะท้อนสิ่งต่างๆ สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ยืนยันว่า สถาบันพระปกเกล้าจะทำหน้าที่ผ่าน KPI-corner อย่างเป็นกลาง ในฐานะสถาบันวิชาการ.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"