"ไข่ใจบุญ"ระดมทุน"วิจัยยาแอนติบอดิรักษามะเร็ง จุฬาฯ"


เพิ่มเพื่อน    

 

 

14ธ.ค.61-จากสถานการณ์ปัญหาโรคมะเร็งที่คุกคามคนทั้งโลก  ถึงระดับที่ว่าใน 3 คน มีโอกาสเป็นมะเร็ง 1 คน  ซึ่งสถิติดังกล่าว หมายรวมถึงคนไทยด้วย  และในกระบวนการรักษามีทั้งผลข้างเคียง และต้องใช้เงินจำนวนมาก ทำให้วงการแพทย์หลายประเทศ กำลังพยายามคิดค้นหาวิธีการรักษาที่ได้ผลที่สุด  รวมทั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้เริ่มการคิดค้นยารักษา โดยต่อยอดจากผู้คิดค้นที่ได้รับรางวัลโนเบล ที่เรียกว่า"ยาแอนตีบอดี้รักษามะเร็ง"  หรือการใช้ภูมิคุ้มกันในร่างกายมาเป็นตัวรักษาต่อสู้มะเร็ง   ทั้งนี้ การวิจัยดังกล่าว มีเป้าหมายที่จะให้ยาแอนติบอดีรักษามะเร็ง ที่มีราคาเข็มละ200,000 บาท  เหลือเพียง 20,000 บาท  ส่งจะผลให้การเข้าถึงการรักษามะเร็งของคนไทยเพิ่มมากขึ้นไปด้วย


    ล่าสุด บริษัท เกษมชัยฟู้ด จำกัด หรือ KCF ได้ร่วมกับ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และท็อปส์ พรีเมี่ยม ซูเปอร์มาเก็ต ได้ผุดโครงการ "ไข่ใจบุญ" เพื่อสนับสนุน"กองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งจุฬาฯ" ที่กำลังอยู่ระหว่างการทำวิจัยยาแอนตี้บอดีรักษามะเร็ง 


    รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ รองคณบดี ฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันการวิจัยและนวัตกรรมใหม่ๆ ในการรักษาโรค มีบทบาทในการรักษามาก ขณะเดียวกันก็มีค่ารักษาแพงมากด้วยเช่นกัน จึงจำเป็นที่ประเทศไทยจะต้องสร้างนวัตกรรมของตัวเองขึ้นมา จะรอใช้นวัตกรรมของต่างประเทศทั้งหมดไม่ได้ เพราะบางอย่างอาจจะเหมาะกับคนไทย จึงทำให้เป็นที่มาการวิจัยยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง   สำหรับ โครงการวิจัยยาภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง ได้รับเงินทุนสนับสนุนแรกเริ่มจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ 160 ล้านบาท แต่ก็ไม่เพียงพอกับการทำวิจัยให้สำเร็จ  ทำให้ต้องมีการเปิดรับบริจาคเงินทุนจากประชาชน เนื่องจาก ที่ผ่านมา การบริจาคของประชาชน มักจะบริจาคให้โรงพยาบาลให้รูปของการซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือช่วยเหลือผู้ป่วย แต่ยังไม่มีการบริจาคเพื่อสนับสนุนการวิจัย


     "คนไทยอายุยืนขึ้น 70-80ปี แต่โรคมะเร็งก็เป็นโรคที่มีคนไทยป่วยเป็นอันดับ1 การรักษามีความก้าวหน้าขึ้น ทั้งการผ่าตัด ฉายแสง หรือใช้เคมีบำบัด แต่วิธีการพวกนี้มีผลข้างเคียง ทำให้ต้องหาวิธีการรักษาใหม่ และการรักษาโดยภูมิคุ้มกัน เกิดผลกระทบข้างเคียงน้อยกว่า ให้ผลการรักษาที่ดีกว่า  เป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องมีการวิจัยยาภูมิคุ้มกันขึ้นมา และยังถือว่าการวิจัยโครงการนี้ ยังเป็นเหมือนการทำโครงสร้างพื้นฐานของยาอีกหลายๆตัว และจะนำไปสู่การวิจัยยารักษาโรคอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบ ซึ่งยาใหม่ๆมีราคาแพงมาก " 


    ด้านดร.พญ.ณัฏฐิยา หิรัญกาญจน์   หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็ง  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ธรรมชาติของโรคมะเร็งเกิดจากเชื้อมะเร็งได้เจาะเอาชนะภูมิคุ้มกันของร่างกาย  และจากผลงานของนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล 2 คนที่ค้นพบว่าภูมิคุ้มกันของเราสามารถชนะมะเร็งได้  และมีการผลิตยาตั้งแต่ปี 2011 ผลการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันได้ผลดี  แต่ก็ใช่ว่าจะต้องปฎิเสธการรักษาอื่นๆทั้งผ่าตัด หรือใช้เคมีบำบัด 


    "จุฬาฯ ตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งมาได้ 1ปี  เพื่อวิจัยหายาที่ปลดล็อก สร้างภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยมีทีมงานถึง 13ทีม กลางปีหน้าเราจะมีการแถลงข่าว การพัฒนาเริ่มทดลองรักษาในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยให้ยาที่มีเซลล์เม็ดเลือดขาวเข้าไป หรือการเอาเซลล์มะเร็งมากระตุ้นภูมิคุ้มกัน คล้ายกับการผลิตวัคซีน "
    สำหรับ การระดมทุนจากประชาชนเพื่อสนับสนุนการวิจัย ดร.พญ.ณัฏฐิยา กล่าวว่า ปัจจุบันการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันกำลังเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทั่วโลกให้ความสนใจ อย่างสหรัฐอเมริกามีการตั้งศูนย์วิจัยระดับชาติ รัฐบาลทุ่มงบประมาณมหาศาล  แต่ก็ยังไม่พอ และต้องมีการขอรับบริจาคจากประชาชน  รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยภูมิคุ้มกันและรับบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการวิจัย


    อ.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ อดีตนักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยยาต้นแบบภูมิคุ้มกัน ฯกล่าวว่า ขณะนี้ มีการวิจัยตัวต้นแบบภูมิคุ้มกัน 1ตัวเสร็จแล้ว และกำลังต่อยอดไปตัวต้นแบบที่ 2  สำหรับตัวต้นแบบที่ 1 รอเพียงการตรวจสอบว่าจะไปตรงกับสิทธิบัตรในต่างประเทศหรือไม่ ถ้าไม่เหมือนที่จดสิทธิบัตรในต่างประเทศ คาดว่าก็จะต้นแบบที่1 จะเสร็จในเดือนม.ค.-มี.ค.ปี62  ซึ่งถือว่าผ่านเฟสแรก ของการวิจัยที่มี 5เฟส  


    โดยเฟสที่ 1  เป็นการผลิตยาแอนติบอดิ ต้นแบบจากหนู ทำการผลิต  เลือก และการทดสอบยาต้นแบบจากซลล์เม็ดเลือดขาวของหนูมากกว่าหนึ่งแสนแบบ ใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท
    เฟส  2 ปรับปรุงแอนติบอดิ ให้มีความคล้ายโปรตีนมนุษย์ และเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้น ใช้งบประมาณ 10 ล้านบาท
    เฟส3 เมื่อได้ยาต้นแบบที่ปรับปรุงแล้ว จะต้องนำมาทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้นในวัตว์ทดลอง แล้วทำการผลิตยาจากโรงงานในปริมาณมาก ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยสูงสุด ในขั้นตอนนี้ใช้งบประมาณ 200ล้านบาท
    เฟส 4 ทดสอบยาที่ผลิตได้ในสัตว์ทดลอง เช่น หนู ลิง โดยทดสอบคุณภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะทดสอบในมนุษย์ต่อไป คาดว่าจะใช้งบประมาณ 100-200 ล้านบาท 
    เฟส 5 การทดสอบในมนุษย์ เป็นการทดสอบตัวยาในผู้ป่วยมะเร็งในรพ.จุฬาฯ อาทิ ปริมาณการให้ยา ประสิทธิภาพของยา ผลข้างเคียง คาดว่าจะใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท


    "โดยทั้ง 5เฟสคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 10ปี  ในการวิจัย ซึ่งถือว่าเป็นการวิจัยระยะยาวที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาก่อน   แต่ระยะเวลาดังกล่าวรวมถึง การขอขึ้นทะเบียนยาจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) พิจารณาการขึ้นทะเบียนยาด้วย  "


    แพทย์ผู้วิจัย กล่าววอีกว่า   นอกจากยาต้นแบบตัวแรกที่ทำสำเร็จแล้ว ทางโครงการมีแผนที่จะสร้างยาต้นแบบให้ครบ 10 ตัว เป็นการทะยอยทำเรื่อยๆ ซึ่งจากการประเมิน คาดว่า ยาต้นแบบ 1ตัว จะให้ผลสำเร็จประมาณ 10%  


    "การทำวิจัยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บางครั้งก็จะไม่ได้ผล 100% แต่ถ้าเราไม่ทำ เราก็จะไม่มีอะไร ที่เป็นของคนไทย แต่การวิจัยรูปแบบนี้ ต้องใช้เงินมหาศาล และต้องใช้เวลาด้วย งานวิจัยในอดีตใช้เวลาเพียง 2-3ปีก็จบ จึงอยากให้ทุกคนเข้าใจบริบทของการทำงาน  และเข้าใจว่าเหตุใดเราจึงต้องขอการสนับสนุน  ต้องมีการร่วมแรงร่วมใจคนในชาติ  ถ้าสำเร็จคนไทยทุกคนก็จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้"     อ.นพ.ไตรรักษ์กล่าว


    ด้านนาย โกญจนาท ศรมยุรา รองประธานกรรมการบริหารและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท เกษมชัยฟู้ด จำกัด กล่าวว่า โครงการ"ไข่ใจบุญ" เพื่อสนับสนุนการวิจัยภูมิคุ้มกันรักษามะเร็ง เกิดจากบริษัท มีเป้าหมายที่จะทำกิจกรรมเพื่อสังคมอยู่แล้ว และพอได้ยินชื่อโครงการนี้  จึงยินดีที่จะสนับสนุนโดยผู้บริโภคที่ซื้อไข่ของKCF วางขายในร้านท็อปส์ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์    ราคาแพ็กละ 49บาท แต่ละแพ็ก ทางบริษัทจะหักเงิน 5บาท เข้ากองทุนฯ  ซึ่งมีระยะเวลาโครงการ 9เดือน  นับจากเดือนธ.ค.2561-31สิงหาคม 2562  หลังจากนั้นจะดูกระแสตอบรับและ ความจำเป็นของโครงการวิจัยฯอีกครั้งว่า ต้องการความช่วยเหลืออีกหรือไม่ 


    "ผมศรัทธา ในความคิดของโครงการที่หวังลดค่ายารักษามะเร็งจากเข็มละ 200,000 บาทให้เหลือ 2หมื่นบาท จึงคิดช่วยโครงการนี้ และหวังให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงการรักษา ซึ่งห้างฯที่เข้าร่วมขายไข่ใจบุญมี 4พันสาขา ขายได้สาขาละ 10แพ็ก ตกวันละ40,000 ต่อวัน เท่ากับได้เงินบริจาค วันละ 2แสนบาท เดือนละ 6ล้าน หรือตลอด9เดือนจะได้เงินประมาณ 54 ล้านบาท "


    ด้านนางโสภาพรรณ  จุ้ยเจริญ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายจัดซื้อกลุ่มสินค้าอาหารสด บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล  จำกัด กล่าวว่า โครงการ"ไข่ใจบุญ" เพื่อสนับสนุนกองทุนภูมิคุ้มกันบำบัดมะเร็งของจุฬาฯ ถือว่าเป็นโครงการที่ดีมาก บริษัทฯจึงยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และมีสต็อกไข 1.2ล้านแพ็ก ไว้รองรับความต้องการของประชาชน


 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"