'ฮุน เซน' เปิด 'เซซานตอนล่าง 2' เขื่อนขนาดใหญ่สุดของกัมพูชา


เพิ่มเพื่อน    

นายกฯ ฮุน เซน ของกัมพูชา ทำพิธีเปิดเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ "เซซานตอนล่าง 2" เมื่อวันจันทร์ อ้างประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนโครงการมูลค่า 780 ล้านดอลลาร์นี้ แต่มีชาวบ้านส่วนน้อยก่อปัญหา เพราะเชื่อคำยุยงจากต่างชาติ

เขื่อนเซซานตอนล่าง 2 ในจังหวัดสตึงแตรงของกัมพูชา ในวันทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 / AFP

    กัมพูชาสร้างเขื่อนหลายแห่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาด้วยทุนสนับสนุนจากจีนเป็นส่วนใหญ่ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในด้านพลังงานและเดินเครื่องเศรษฐกิจของประเทศ โดยที่ผู้นำกัมพูชาปฏิเสธคำเตือนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น โดยเฉพาะการสร้างเขื่อนเซซานตอนล่าง 2 มีกำลังผลิตไฟฟ้าได้ 400 เมกะวัตต์ ซึ่งนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมวิจารณ์ว่าคุกคามต่อจำนวนปลาของแม่น้ำโขงที่เป็นแหล่งอาหารของประชากรในพื้นที่

    นักเคลื่อนไหวคาดการณ์กันด้วยว่า มีชาวบ้านประมาณ 5,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนพื้นเมืองที่เป็นชนส่วนน้อยของกัมพูชา ต้องโยกย้ายถิ่นฐานเพราะโครงการสร้างเขื่อนนี้ แต่เหลือชาวบ้านปักหลักในพื้นที่อยู่อีกราว 200 คน

    รายงานเอเอฟพีกล่าวว่า นายกฯ ฮุน เซน กล่าวปกป้องโครงการเขื่อนที่ถูกต่อต้านนี้ระหว่างทำพิธีเปิดเขื่อนที่จังหวัดสตึงแตรงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2561 ว่าชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบนั้นได้รับบ้านหลังใหม่พร้อมที่ดินเป็นการชดเชยแล้ว

    "ประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุนโครงการพัฒนานี้ แต่มีชาวบ้านบางคนสร้างสถานการณ์ยุ่งยาก เพราะถูกปลุกปั่นยุยงจากชาวต่างชาติบางคน" ฮุน เซน กล่าว พร้อมกับยกเหตุผลด้วยว่า เขื่อนพลังน้ำเขื่อนนี้จะช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ด้วย

ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (กลาง) พบกับเจ้าหน้าที่ระหว่างมาทำพิธีเปิดโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำเซซานตอนล่าง 2 / AFP

    ก่อนหน้านี้ องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เคยแสดงความกังวลเกี่ยวกับโครงการนี้ และนักวิทยาศาสตร์บางคนก็ร่วมเรียกร้องรัฐบาลกัมพูชายุติการสร้างเขื่อน เนื่องจากกลัวผลกระทบแหล่งอาหารของภูมิภาค

    องค์กรเอกชน เช่น องค์การแม่น้ำนานาชาติก็เตือนถึงผลกระทบไว้เช่นกันว่า เขื่อนนี้จะก่อความหายนะต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการจับปลาในแม่น้ำโขง มัวรีน แฮร์ริส ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์กรนี้กล่าวกับเอเอฟพีว่า ภัยคุกคามจากเขื่อนนี้มีความรุนแรง โดยเฉพาะกับกัมพูชา ที่ชาวบ้านในพื้นที่ถึง 80% อาศัยแหล่งโปรตีนจากสัตว์น้ำที่จับได้จากการทำประมงน้ำจืด

    เซซานตอนล่าง 2 สร้างกั้นขวางลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขง โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างกลุ่มทุนรอยัลกรุ๊ปของกัมพูชาที่ถือหุ้น 39%, ไฮโดรหลานชาง อินเตอร์เนชั่นแนล เอเนอร์จี ของทางการจีน ถือหุ้น 51% และอีวีเอ็น อินเตอร์เนชั่นแนล จากเวียดนาม มีหุ้น 10% ตามสัญญาเขื่อนนี้จะส่งมอบให้รัฐบาลกัมพูชา 40 ปีหลังจากเริ่มผลิตไฟฟ้า.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"