'วิษณุ' ซัดคนกล่าวหารัฐบาลเอาเปรียบ ไล่ไปดูกฎหมายมาตราไหนห้ามทำงาน


เพิ่มเพื่อน    

24 ม.ค.62 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศวันเลือกตั้งชัดเจน นักการเมืองสามารถหาเสียงได้เลยหรือไม่ ว่า กฎหมายกำหนดให้เริ่มหาเสียงได้ตั้งแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.)ให้มีการเลือกตั้งเป็นต้นไป แต่อย่าลืมว่าเขายังไม่ได้สมัครส.ส. ยังไม่มีหมายเลขผู้สมัคร จึงมีอะไรบางอย่างที่เป็นอุปสรรคอยู่บ้าง ซึ่งเป็นเรื่องของผู้สมัคร แต่กระบวนการต่างๆ กกต.ได้ออกระเบียบไว้หมดแล้ว ก็ทำได้เต็มที่ ส่วนรายละเอียดต่างๆ เช่น การจัดรถแห่ การโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก การจัดเวทีเสวนาของหน่วยงานต่างๆ ดังนั้น อะไรที่ทำได้หรือไม่ได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการหาเสียง อยากให้ไปถามรายละเอียดกับกกต. ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐบาลหรือแม้แต่ตนที่จะไปพูด ทั้งนี้ สิ่งที่ผู้สมัครดำเนินการตั้งแต่มีพ.ร.ฎ.จะนำไปคิดรวมในค่าใช้จ่ายสำหรับการเลือกตั้ง

เมื่อถามว่า การที่นักการเมืองจะหาเสียงอย่างไร ต้องยื่นให้ กกต.รับทราบก่อนหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า ไม่จำเป็น เห็นเขาออกหนังสือเวียนไปเมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา ว่านโยบายต่างๆที่ส่งไปยังกกต.จำนวนมากนั้น ไม่ต้องส่งไป เชิญหาเสียงไปเลย และที่เขาเสนอไปนั้นก็ถือว่ามีเหตุผล เนื่องจากมีประเด็นว่านโยบายใดใช้ได้หรือไม่ได้ จึงส่งไปให้กกต.ดูก่อน แต่กกต.ชี้แจงว่าเขาไม่มีหน้าที่เซ็นเซอร์ ถ้าทำไปแล้วผิดเขาจะบอกและเตือนเอง

เมื่อถามว่า กกต.ยังไม่พูดชัดเจนว่าจะประกาศผลเลือกตั้งเมื่อใด นายวิษณุกล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องชัดเจน เพราะการประกาศผลต้องเกิดขึ้นภายใน 60 วันนับแต่วันเลือกตั้ง แต่ที่สงสัยคือ 60 วันอยู่ใน 150 วันหรือไม่ กกต.เขาบอกจะทำให้เสร็จให้ทันวันที่ 9 พฤษภาคม ซึ่งก็หมดเรื่องไป และประธานกกต.ก็พูดชัดจะทำในกรอบเวลานี้ แต่ถ้าไม่เสร็จก็พิจารณากันอีกที และอาจมีคนไปร้องเรียน การจะบอกว่าทำได้หรือไม่ได้ก็เป็นการเดาและไม่มีเหตุผลที่จะเดา เพราะการประกาศผลช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับมีการทุจริตในการเลือกตั้งขนาดไหน การเดาว่ามันจะช้าเท่ากับเดาว่าจะมีการโกงอย่างสะบั้นหั่นแหลก ทำไมไม่เดาว่าทุกฝ่ายทำได้ด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดปัญหา

เมื่อถามว่า มีคนกล่าวหาว่ารัฐบาลกำลังเอาเปรียบทางการเมือง นายวิษณุกล่าวว่า เมื่อใดมีการกล่าวหาก็ต้องทำให้เกิดความชัดเจน รัฐบาลเป็นคู่กรณี ก็คงไม่ใช่ฝ่ายที่ต้องหาความชัดเจน เพราะรัฐบาลชัดเจนแล้วว่าทำได้ อย่างน้อยคือการจัดงานพระราชพิธี และการเตรียมการเป็นประธานอาเซียน เป็นเรื่องที่ต้องทำ เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาและโครงการต่างๆซึ่งเป็นเรื่องการพัฒนาประเทศ ใครที่บอกว่ามีปัญหาและทำไม่ได้ กรุณาไปดูว่ากฎหมายมาตราใดที่ห้าม

"ท่านอาจเป็นรัฐมนตรีหรือนักการเมืองในสมัยที่รัฐบาลยุบสภา หรือรัฐบาลครบวาระ หรือคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งจากการที่นายกรัฐมนตรีลาออก ท่านจึงเคยเผชิญกับการต้องพิจารณาว่าอะไรทำได้หรือไม่ได้ ซึ่งก็ถูกต้อง เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัด แต่เวลานี้รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนอย่างนั้น ไม่ได้มีข้อห้าม ดังนั้นจึงเป็นคนละกรณี คนที่พูดกำลังบอกว่าให้แฟร์หน่อย ช่วยทำให้เหมือนเก่าหน่อย อันนี้ก็ขอให้รัฐบาลพิจารณาเมื่อแต่ละปัญหามาถึง” นายวิษณุกล่าว

เมื่อถามถึงข้อเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้อำนาจตามมาตรา 44 นายวิษณุกล่าวว่า ตนทราบแล้ว แต่อำนาจมันมีอยู่ และพยายามจะไม่ใช้อยู่แล้ว การใช้ม.44 ไม่ได้ทำกันง่ายๆไม่ใช่นึกสนุกก็ใช้ เพราะมันต้องมีปัญหาและมีกระบวนการอยู่

ถามอีกว่า หลังจากนี้อาจไม่ใช้อีกใช่หรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า แล้วแต่เหตุการณ์และความจำเป็น เพราะบางครั้งความจำเป็นเกิดจากประชาชนเรียกร้อง แต่จะเห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา มีหลายหน่วยงานขอให้ใช้หลายเรื่อง แต่รัฐบาลปฏิเสธไม่ใช้มาตรานี้

เมื่อถามว่า หาก 4 รัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.)ขึ้นเวทีปราศรัย มีเนื้อหาสุ่มเสี่ยงจะขัดรัฐธรรมนูญ จะกระทบกับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีหรือไม่ นายวิษณุกล่าวว่า เป็นเรื่องส่วนบุคคล จะไม่ส่งผลต่อรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"