บ้านปันเสียง: จุดประกายจากโอปอ-ดนตร์-พลอย


เพิ่มเพื่อน    

 

ภราดล พรอำนวย (โอปอ) ธนัทคุณ สุสุข (ดนตร์) พลอยไพลิน เกษมสุข (พลอย) ครูอาสาสมัคร แบ่งปันความรู้ด้วยการสอนทักษะด้านดนตรีและการเต้นรำ รวมทั้งงานศิลปะเป็นกิจกรรมเสริมทักษะชีวิตให้กับเด็กชาติพันธุ์ด้วยการตั้งกลุ่มบ้านปันเสียง เด็กชาติพันธุ์ที่พ่อแม่เป็นชาวเมียนมา และไทยใหญ่แรงงานข้ามชาติ วัย 4-14 ปี จำนวน 80-100 คน มาอยู่ที่วัดทรายมูลในวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นความร่วมมือหลายหน่วยงาน อาจารย์จากคณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

               

พลอยไพลิน เรียนจบจากเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชอบเล่นดนตรี เล่าว่า “เด็กเล่นกีตาร์ เมอริเดียน ตีกลอง เป่าขลุ่ย เต้นรำได้ เมื่อเด็กมีความคุ้นชิน ไว้เนื้อเชื่อใจ ผูกพันกับครูอาสา ทางชุมชนก็ให้ความร่วมมืออย่างดี เด็กๆ เล่นดนตรีและเต้นประกอบจังหวะได้ในระดับเบื้องต้น อาสาสมัครมี 10 คน ในขณะที่มีเด็กๆ 100 คน ตอนนั้นก็ตกใจ เพราะเราเคยสอนเด็กไม่กี่คนเท่านั้น เราอยากได้อาสาเพิ่มมากขึ้น เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กได้ให้มีความไว้เนื้อเชื่อใจมากขึ้น”

 

            

ภราดล อำนวยพร (โอปอ) จบจากคณะสถาปัตยกรรมเทคโนฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าว่า ได้แรงบันดาลใจจากการเดินทางไป รร.ชุมชนคลองเตย เห็นพลังดนตรีที่จะเปลี่ยนแปลงเด็ก จึงคิดที่จะมาทำกับเด็กชายขอบในพื้นที่เชียงใหม่ คนหนึ่งๆ ที่มีข้อจำกัดมากมายในชีวิตเราใช้สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เปลี่ยนชีวิตเขาได้ เด็กที่เป็นไฮเปอร์ ออทิสติกเรียนหนังสือไม่ได้ อ่านหนังสือไม่ออก แต่วันนี้เขาเล่นดนตรี ตีกลองได้เป็นจังหวะ เด็กลูกคนงานก่อสร้างมีข้อจำกัดในการเรียนรู้ พ่อแม่ของเขาก็เกรงว่าส่งลูกออกมาเรียนแล้วลูกเขาจะไม่ปลอดภัย เราต้องใช้เวลาในการสอน ต้องไม่เร่งรัดเด็กจนเกินไป บ้านปันเสียงจับมือกับหลายเครือข่ายทำงาน พาไปดูงานสุขภาวะ รร.สีขาวในพื้นที่ชายแดน อุบลราชธานี ศรีสะเกษ โมเดลของ รร.ลำปลายมาศ ทำอย่างไรเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา นำแนวคิด รร.วอลดอร์ฟ รร.กัลยาณิวัฒนา รร.จอมทอง รร.ไร่ส้ม ฝาง มูลนิธิกระจกเงา รร.เกาะยาว ชุมชนมุสลิม ชุมชนดีจัง

               

เราบันดาลใจและใจบันดาลแรง ความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งอ่อนไหว ไม่มั่นคงภายใน มนุษย์ต้องช่วยเหลือกัน ไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวได้ เรามารวมกันเพื่อทำสิ่งต่างๆ มนุษย์ฝันถึงการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่า เราต้องการสิทธิ เสรีภาพ ภราดรภาพ ความเป็นพี่เป็นน้องช่วยเหลือผลักดันจำเป็นต้องมีในสังคม มิฉะนั้นก็จะเกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม กลายเป็นช่องว่างมากยิ่งขึ้น การที่พ่อแม่คู่หนึ่งต้องทำงานหนักมากกว่าพ่อแม่คู่อื่นๆ ทำงานที่เลือกไม่ได้จากรุ่นสู่รุ่น เป็นความเหลื่อมล้ำจนไม่สามารถแก้ไขได้ เราพูดกันว่าเราต้องพึ่งพาตัวเอง ไม่ได้ขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ กลไกทางเศรษฐศาสตร์ มนุษย์รวมหัวกันสอนเยาวชน เราต้องช่วยกัน การที่โน้ตตัวหนึ่งดังจะสั่นสะเทือนให้ตัวโน้ตที่อยู่ห่างไกลดังเหมือนๆ กันด้วย” ค่ำคืนนั้นทุกคนได้ชมการแสดงกล่องเมืองจากกลุ่มศิลปินล้านนา “รวมใจม่วนงันฉันพี่น้อง”

 

               

ธนัทคุณ สุสุข (ดนตร์) เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์หลายปี เบนเข็มมาเรียนศึกษาศาสตร์ ศิลปะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “บ้านปันเสียง ผมและพลอยเล่นดนตรี แต่ละคนก็มีงานของตัวเอง ผมคิดว่าดนตรีจะช่วยสื่อสารกับเด็กได้เป็นอย่างดี”

               

อ.มัทนา ถนอมพันธุ์ หอมลออ ประธานคณะกรรมการกำกับทิศทาง สำนักงานสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. กล่าวว่า เป็นการพูดจาด้วยหัวใจของคน โลกยุคนี้ผู้ใหญ่มีอำนาจจนลืมพื้นที่เล็กๆ ที่คนอยากทำงาน พลังเหล่านี้เปลี่ยนโลกให้ใช้พลังอย่างสร้างสรรค์.

 

Spark U Lanna เริ่มต้นจากความร่วมมือของกลุ่มภาคประชาสังคม กลุ่มจิตอาสาและตัวแทนหน่วยงานองค์กรหลากหลาย ภายใต้แนวคิดร่วมกัน “ความร่วมมือและกิจกรรมสร้างสรรค์” เป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับเปลี่ยน จุดประกายและยกระดับพื้นที่เมืองสู่สิ่งที่ดีกว่า ภายใต้ชื่อ Spark U Chiang Mai ในช่วงปี 2560 ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมือง กิจกรรมฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์

               

จากกิจกรรม Spark U Chiang Mai ที่ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนจิตอาสาในพื้นที่เมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2561 ขยายแนวคิดนี้ไปสู่กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ภาคเหนือ จนเกิดการขยับขับเคลื่อนสู่การดำเนินกิจกรรมร่วมกันในนามโครงการ Spark U Lanna โครงการปฏิบัติการจุดประกาย “ฟื้น ใจ๋ เมืองล้านนา” โดยการสนับสนุนของ สสส.เป็นการนำแนวคิดการสร้างความร่วมมือและกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อปรับเปลี่ยนและจุดประกายพื้นที่ไปใช้ในเมืองต่างๆ ผ่านการทำงานของภาคประชาสังคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 5 จังหวัด เชียงใหม่ เมืองลับแล อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน ลำพูน เชียงราย

               

กิจกรรมในปี 2560 กิจกรรม “เตวแอ่วเวียง” กิจกรรมปรับปรุงกายภาพย่านเมืองเก่าและส่งเสริมการเดินในเมืองเก่าเชียงใหม่ ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี, เมืองเก่าเชียงใหม่, กิจกรรมไหว้ผีเหมืองฝายพญาคำ และ Big cleaning day การสนับสนุนกิจกรรมทำความสะอาดพื้นที่หน้าฝายพญาคำ และร่วมจัดงานไหว้ผีเหมืองฝายพญาคำ เหมืองฝายพญาคำ เมืองเชียงใหม่ กิจกรรมปลูกหมากปลูกลานฝากไว้ให้แผ่นดิน ส่งเสริมการปลูกต้นลาน และต้นหมากในพื้นที่เมืองเก่าเชียงใหม่ และพื้นที่วัดโบราณ เมืองเชียงใหม่ กิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สวนสาธารณะหน้าค่ายกาวิละ สนับสนุนการเปิดพื้นที่สาธารณะผ่านการจัดละคร แสง สี เสียง “ล้านนาที่ข้ารัก พระเจ้ากาวิละ” นิทรรศการ Spark U Chiang Mai และเวทีเสวนาเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง สวนสาธารณะหน้าค่ายกาวิละ เมืองเชียงใหม่ กิจกรรมจุดประกายคลองแม่ข่า รณรงค์ปลุกจิตสำนึกรักคลองแม่ข่า และการรณรงค์ติดถังดักไขมัน คลองแม่ข่า เมืองเชียงใหม่ กิจการหมุดไม้หมายเมือง กิจกรรมปลูกต้นไม้เป็นหมุดหมายและเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนถนนท่าแพ เกาะกลางถนนท่าแพ ข้างวัดแสนฝาง เมืองเชียงใหม่

               

กิจกรรมในปี 2561 ละคร “แสนหาญ” เป็นละครเวทีร่วมสมัยจุดประกายการอนุรักษ์และสืบสานนาฏกรรมล้านนา โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เมืองเชียงใหม่ หลงลับแลง กิจกรรมฟื้นฟูและสืบสานอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของคนลับแลง สืบสานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮงสักการะเจ้าฟ้าฮ่าม การจัดพิมพ์หนังสือฟ้อนโบราณเมืองลับแล งานอัญเชิญพระเจ้ายอดคำทิพย์ เลียบเมืองลับแลงไชย เมืองลับแล อุตรดิตถ์ กิจกรรมไหว้ผีเหมืองฝายพญาคำ และ Big Cleaning Day การสนับสนุนกิจกรรมทำความสะอาดพื้นที่หน้าฝายพญาคำ และร่วมจัดงานไหวผีเหมืองฝายพญาคำและร่วมจัดงานไหว้ผีเมืองฝายพญาคำ เชียงใหม่ การอบรมเยาวชนสื่อสารสร้างสรรค์ครั้งที่ 1-2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เยาวชนในเรื่องการผลิตและพัฒนาสื่อออนไลน์สร้างสรรค์ เมืองเชียงใหม่ ลูกอ่อนสืบสานไทใหญ่-ล้านนากิจกรรมอบรมเยาวชนเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมไทใหญ่-ล้านนา สถาบันไทใหญ่ศึกษา เมืองแม่ฮ่องสอน บ้านปันเสียง กิจกรรมปันความรู้เสริมทักษะด้านดนตรี สำหรับเยาวชนที่ต้องการโอกาสเมืองเชียงใหม่

               

กิจการปลูกหมากปลูกลาน ฝากไว้ให้แผ่นดิน สนับสนุนกิจกรรมการปลูกต้นลาน และต้นหมากในพื้นที่เมืองเชียงใหม่และวัดป่ารัชดาราม อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เมืองเชียงใหม่ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ห้องสมุดชาวกาดทิพย์เนตร ส่งเสริมการจัดตั้งห้องสมุดชุมชนชาวตลาดทิพย์เนตร เมืองเชียงใหม่ วารสาร “เอิ้นเน้อ” สื่อออนไลน์ Spark U Lanna และบทความสร้างแรงบันดาลใจจำนวน 8 ฉบับ แจกในพื้นที่โครงการไปแล้ว 7,000 เล่ม.

               

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์ ณ เชียงใหม่) ถือเป็นคุ้มเจ้านายฝ่ายเหนือเพียงไม่กี่แห่งที่หลงเหลือ อยู่ในเมืองเชียงใหม่ตั้งอยู่ที่ถนนพระปกเกล้าตัดกับถนนราชดำเนินในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ สร้างขึ้นในปี 2432-2436 ในรัชสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้านครเชียงใหม่องค์ที่ 7 ที่มีเจ้าบุรีรัตน์ น้อยมหาอินทร์เป็นพระอุปราช ภายหลังเจ้าน้อยมหาอินทร์ถึงแก่กรรม เจ้าน้อยชมชื่น ณ เชียงใหม่ บุตรชายเจ้าน้อยมหาอินทร์ได้เป็นผู้ครองครองอาคาร ต่อมานางบัวผัน นิกรพันธ์ได้ขอซื้อจากเจ้าบุษบา ณ เชียงใหม่ (ชายาเจ้าน้อยชมชื่น) ในราคา 5,000 บาท และได้เชิญพระนายกคณานุการ (เมือง ทิพยมณฑล) บิดามาพำนักอยู่ที่คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ที่เรียกว่า “บ้านกลางเวียง” และเป็นที่พักอาศัยของบุตรและญาติของพระนายกคุณานุการตั้งแต่ปี 2470 เป็นต้นมา

               

ต่อมาในปี 2529 นางบัวผัน ทิพยมณฑล ถึงแก่กรรม นางพรรณจิตร เจริญกุศล บุตรีของนายจรัลและนางบู่ทอง ทิพยมณฑล ได้อาศัยอยู่จนถึงปี 2544 น.ส.เรียงพันธุ์ ทิพยมณฑล จึงได้มอบอาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ เจ้าน้อยมหาอินทร์ให้กับทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บรรพบุรุษตระกูลทิพยมณฑลและกิติบุตร ซึ่งปัจจุบันคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ มหาอินทร์ ได้เป็นศูนย์สถาปัตยกรรมล้านนา ในความดูแลของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ในการวิจัยจัดเก็บและเผยแพร่ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมล้านนาและศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่อง ตั้งอยู่สี่แยกกลางเวียงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งคณะสถาปัตยกรรมได้รับบริจาคจากตระกูลทิพยมณฑลและกิติบุตรเมื่อวันที่ 9 มี.ค.2544

               

อาคารคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์ ณ เชียงใหม่) เป็นอาคารครึ่งปูนเครื่องไม้บนสูงสองชั้น ชั้นล่างเสาก่ออิฐหนาก่อเป็นรูปโค้งฉาบปูนเรียบมีระเบียงโดยรอบ เป็นรูปแบบผสมระหว่างเรือนมะนิลากับสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียล ซึ่งเป็นรูปแบบที่แพร่หลายในประเทศอาณานิคม ชั้นบนเป็นไม้มีระเบียงโดยรอบ หลังคาจั่วและหลังคาปั้นหยาดคุมระเบียงโดยรอบ เป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมตะวันตกในเชียงใหม่ยุคแรก สันนิษฐานว่าบริษัทป่าไม้ของชาวอังกฤษเป็นผู้เข้ามาก่อสร้างให้เจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) เมื่อปี 2483-2486 เป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างพื้นถิ่นและอิทธิพลตะวันตกอย่างลงตัว อีกทั้งยังแสดงออกถึงวิทยาการของการก่ออิฐและการแปรรูปไม้ ผู้บริหารเมืองเชียงใหม่มี 5 ตำแหน่ง 1.เจ้าหลวงคือพระมหากษัตริย์ 2.เจ้าอุปราชคือวังหน้า 3.เจ้าราชวงศ์คือวังหลัง 4.เจ้าราชบุตร 

ข้อมูลจากสารานุกรมวิกิพีเดียเสรี.

 

เขียวชมเมืองเชียงใหม่723ปีต้นยางนาหมายเมืองวัดเจดีย์หลวง

               

กิจกรรมสันทนาการนั่งรถ “เขียวชมเมือง” มัคคุเทศก์ที่มีอาชีพหัวหน้ากลุ่มงานเภสัช-รองปลัดเทศบาลสุโขทัย เล่าประวัติศาสตร์ สสส.นำปลูกต้นหมากต้นลานที่วัดเจ็ดยอด วัดบ้านปิง วัดอุโมงค์ เข้ามาที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ต.พระสิงห์ บริเวณเมืองเก่าของเชียงใหม่ที่มีอายุ 723 ปี อาณาจักรยิ่งใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จ่ำกันบ่ได้ก๊า ต้นยางนาอายุร่วม 200 ปี ปลูกไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้ากาวิละ เยือนวัดเชียงมั่นวัดแห่งแรกเมืองเชียงใหม่ วัดบ้านปิงที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเข้ามากราบไหว้สักการะพระสิงห์ 1 ที่นี่มีต้นไทรเก่าแก่ 700 ปี

               

ดารินทร์ เมฆมนต์ (น้ำผึ้ง) มัคคุเทศก์ “เขียวชมเมือง” ที่ผันตัวเองจากตำแหน่งหน้าที่หัวหน้ากลุ่มงานเภสัช โรงพยาบาลสวนดอกซึ่งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาอบรมมัคคุเทศก์กับกรมการท่องเที่ยว และตัดสินใจเลือกทำงานอาชีพใหม่นี้เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สมชาย เดือนเพ็ญ รองปลัดเทศบาล ต.ในเมือง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย ช่วยกันแลกเปลี่ยนความรู้ประวัติศาสตร์ให้คณะสื่อมวลชนที่ติดตามไปดูงานของ สสส. “เพราะประวัติศาสตร์นั้นไม่มีใครรู้ อยู่ที่คนบันทึกเรื่องที่อยากเล่าคุณค่าของความเป็นเมือง สมัยก่อนเมื่อ 722 ปียังไม่มีกูเกิลแมปที่จะบอกเส้นทาง ต้องใช้วิธีมองด้วยสายตาไกลๆ ต้นไม้หมายเมืองของเมืองเชียงใหม่ มีความหมายว่า ต้นไม้หมายให้รู้ว่าเป็นเมือง ปักหมุดด้วยยางนา

               

ไม้หมายทางเป็นสัญลักษณ์ของทาง ต้นยางนาปลูกสองฟากถนน ถนนทางหลวงหมายเลข 106 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน เป็นทั้งถนนสายดั้งเดิมที่เชื่อมเชียงใหม่สู่ลำพูนและลำปาง และเป็นหนึ่งในถนนสายที่งดงามที่สุดของประเทศ จากทิวต้นยางนาสูงใหญ่ที่ขนาบสองข้างเรียงต่อกันเกือบพันต้น” (อ่านล้อมกรอบคืนชีวิตให้ต้นยางนาและถนนสายประวัติศาสตร์คู่เมืองเชียงใหม่) ตลอดเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมาต้นไม้คู่เมืองเหล่านี้กลับถูกละเลย จนทำให้หลายชีวิตต้องเสื่อมสภาพหรือโค่นไปอย่างน่าเสียดาย ขณะนี้มีภาคีภาคประชาชนหลายกลุ่มที่ร่วมกันฟื้นฟูสภาพต้นยางนาบนถนนสายนี้ให้กลับมามีสุขภาพดีแผ่ร่มเงาแก่เราได้ดังเดิม 

               

ลำพูนเมืองเจ้านายนั่งช้าง เชียงใหม่เมืองขี่ม้า เมื่อเริ่มต้น start พร้อมๆ กัน คนเชียงใหม่ใช้ม้า คนลำพูนใช้ช้าง สมกับที่เป็นแดนเมืองสารภี เชียงใหม่ใหญ่กว่าลำพูน ประตูแลนด์มาร์คของเชียงใหม่เป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวเป็นที่ถ่ายรูป Pre wedding ถ้าไม่ได้ถ่ายรูปที่บริเวณประตูท่าแพ ก็เท่ากับว่าไม่ได้มาเมืองเชียงใหม่ ที่นี่มีถนนคนเดินในวันเสาร์และวันอาทิตย์ ที่ถนนวัวลายอยู่บริเวณทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ จะปิดถนนตั้งแต่ห้าโมงเย็นจนถึงเกือบเที่ยงคืน ถ้ามาเชียงใหม่แล้วไม่ได้ไปเดินถนนคนเดิน ก็เปรียบเสมือนไม่ได้มาเชียงใหม่ เดินซ้อมก่อนวันเสาร์และเดินไฟนอลวันอาทิตย์ เดินผ่านมุมเมืองแจ่งเมืองทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ควอนตัมเป็นเครื่องมือจับปลาสมัยก่อนในบริเวณนี้ เป็นสถานที่จับปลาของชาวเมือง ที่เมืองเชียงใหม่มีต้นไม้รอบคูเมืองปลูกมาแล้ว 3-40 ปี สมัยก่อนนั้นกลุ่มอาสาสมัครเรียกกันว่ากลุ่มลูกเสือชาวบ้าน พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ยมาเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองเชียงใหม่ที่สอดคล้องกับความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ท่ามกลางอ้อมกอดของภูผา ประชาชนคนเมืองมีความสุข ปลอดภัย รายได้จากการท่องเที่ยวนำมาดูแลรักษาต้นไม้โดยรอบเมืองเชียงใหม่

               

ทางหมายความว่าเป็นทางมีตำนานมากมุกขตะ หรือเรื่องเล่าของชาวบ้าน เชียงใหม่แบ่งอาณาเขตกับลำพูนโดยใช้ต้นไม้ยางนาสูงสง่า ประตูท่าแพอยู่ทางทิศตะวันออกของเชียงใหม่เป็น Landmark ของเชียงใหม่ ส่วนต้นไม้หมายทางของคนลำพูนคือต้นขี้เหล็กกินได้มาเจอกัน ก็เป็นหลักปักเขตแดน หมายถิ่น ต้นยางนาเก่าแก่ที่วัดเจดีย์หลวงมีทั้งหมด 3 ต้น ต้นใหญ่ที่สุดอยู่บริเวณด้านหน้า แต่ยังไม่ติดอันดับต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในโลก และใกล้เคียงมีต้นส้มสุก หรือภาษาสยามคือต้นอโศก มีต้นหูกวาง เมืองเชียงใหม่มี 3 ยุค สมัยพญาเม็งราย ราชวงศ์เม็งรายเป็นเวลากว่า 200 ปี มีช่วงหนึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของพม่า 200 ปี ทิ้งให้เมืองร้าง หลังจากพระเจ้ากาวิละร่วมกับพระเจ้าตากสินกอบกู้เอกราชเมืองเชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นปกครองโดยเจ้าหลวงราชสกุล ณ เชียงใหม่ ต่อมาเจ้าดารารัศมี เจ้าหญิงในราชวงศ์ทิพย์จักรจากนครเชียงใหม่ พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีบทบาทฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมล้านนา ก็เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินสยาม

               

เชียงใหม่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมเกือบเป็นจัตุรัส ล้อมรอบด้วยคูเมือง 4 มุมเมือง 5 ประตู เมืองที่มีชีวิต บริเวณทิศใต้ประตูเชียงใหม่มี 2 ประตู เท่ากับว่ามีเท้าซ้ายและเท้าขวา ด้วยลักษณะของผังเมืองเชียงใหม่คล้ายเมืองสุโขทัย มีขนาดเล็กกว่า สุโขทัยมีกำแพงเมือง 3 ชั้น ประตูทางทิศตะวันตกของเชียงใหม่ ประตูสวนดอก กำแพงเมืองเปิดเป็นอุทยานหลวง พระเจ้ากือนาองค์ที่ 6 ทรงสร้างสวนดอกมีต้นไม้เป็นจำนวนมากมาย ต้นพะยอมเป็นพันต้น เป็นชื่อต้นไม้สำคัญของไม้หมายถิ่น ที่ตลาดต้นพะยอมมีตลาดต้นลำไย ที่สันป่าข่อย อ.สารภี มีต้นสารภี ประตูท่าแพอยู่ทางทิศตะวันออก

               

ขณะนี้เรามุ่งไปทางทิศเหนือของเมืองเชียงใหม่ แวะชมวัดสำคัญๆ ของเมืองเชียงใหม่ วัดเชียงมั่นผ่านแจ่งเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แจ่งหัวรินนี้รับน้ำมาจากดอยสุเทพ เรารู้จักต้นลานที่ต้องใช้เวลา 60 ปี ออกดอกเพียงครั้งเดียวก็ยืนต้นตาย หรือเรียกกันว่าต้นลูกฆ่าแม่ เวลานี้ที่เชียงใหม่มีการปลูกต้นลานต้นหมากเพื่อทดแทน เรามีโครงการปลูกต้นหมากปลูกต้นลานไว้ในแผ่นดิน ต้นหมากมีความสำคัญของเมืองสวย ที่วัดโลกโมฬีอยู่ทางทิศเหนือของเมืองเก่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสวยพระชาติทรงมวยผม วัดนี้มีอายุ 500 ปี วัดร้างมี 3 ยุค ราชวงศ์มังรายปกครองกว่า 200 ปี เมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า พระเจ้ากาวิละทรงกอบกู้เมืองเชียงใหม่รวมกับพระเจ้าตากสิน

               

ถ้ามีการเปรียบเทียบกับร่างกายมนุษย์ ประตูช้างเผือกเสมือนหนึ่งเป็นประตูชัย เป็นมงคลของเมืองเชียงใหม่ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ทุกท่านที่จะเข้ามารับตำแหน่งหน้าที่ต้องเข้าเมืองผ่านประตูช้างเผือกเป็นชัยยะ มงคล เส้นทางมุ่งหน้าไปยังวัดเชียงมั่นเป็นวัดแห่งแรกของเมืองเชียงใหม่ ที่นี่เคยเป็นที่ประทับของพญามังราย ต่อมาก็ย้ายไปวังของท่านไม่ให้ใครทับที่ พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ยึดถือหลักฮวงจุ้ย 7 ชัยมงคลบนดินแดนมังกร ด้านหลังมีภูเขา บริเวณด้านหน้ามีแม่น้ำปิง อยู่แล้วร่ำรวย มีความสุข

               

วัดเชียงมั่นเป็นวัดแรกของเมืองเชียงใหม่ มีอายุ 722 ปี ชื่อที่เป็นมงคล มีพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) พระพุทธรูปคู่บุญพญาเม็งรายเมื่อครั้งไปรบที่หริภุญไชย ลำพูน ปรากฏว่าไฟไหม้หมด แต่ปาฏิหาริย์ที่สุดเมื่อหอพระและองค์พระศรีภูมิไม่ไหม้ เป็นศักดิ์ศรีของเมืองเชียงใหม่ มีเรื่องเล่าว่าถ้าใครมานับช้างรอบเจดีย์วัดเชียงมั่นมีความเป็นมงคลด้วยชื่อที่เป็นมงคล

               

ใบลานมีความสำคัญมาก พญามังรายทรงเป็นนักกฎหมายตรากฎหมายจารบนใบลาน ลานหมากเป็นต้นไม้ต้นแบบสุวรรณภูมิ (ทองคำ) คือหมาก ที่วัดบ้านปิง และวัดอุโมงค์เหราจันทร์ เรามาปลูกต้นหมากไว้ที่วัดบ้านปิง เป็นการบันทึกว่าครั้งหนึ่งพี่ๆ มาปลูกหมากกันไว้ที่นี่แล้วกลับมาดูต้นหมากที่เราฝากไว้ในแผ่นดิน เรามี 40 วัดในคูเมืองเชียงใหม่ เป็นความเจริญทางวัฒนธรรม แสดงว่าผู้คนอยู่ในศีลธรรมเป็นอันมาก บ้านภาษาพื้นเมืองแปลว่ากั้น หรือขวาง วัดบ้านปิงกั้นขวางแม่น้ำปิงให้ไหลไปในทิศทางที่เป็นไป แม่น้ำปิงไหลผ่านแถวนี้ตามประวัติของความเชื่อ ถ้าดูจากพื้นที่แล้ว แม่น้ำปิงอยู่ไกลจากวัด แต่เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆ กันมา เราปลูกต้นไม้ภายในวัด ต้นหมากมีความเชื่อมโยงคนไทยในภาคกลาง ภาคเหนือ หมากมีจารึกสุโขทัย เป็นเครื่องยศของพระมหากษัตริย์ เป็นเครื่องอิสริยยศหรือการอวยยศโดยฐานานุศักดิ์ กล่าวกันว่าไพร่ไม่มีสิทธิ์ใช้เชี่ยนหมากซึ่งเป็นทองคำ หมากเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชี่ยนหมาก น้ำหมากของพระเศรษฐีผู้ใหญ่ พระที่เป็นเกจิอาจารย์เคี้ยวหมาก ลูกศิษย์จะเก็บเชี่ยนหมากไว้สักการะมงคล เรื่องนี้เกี่ยวพันกับความเชื่อของชาวล้านนา

               

อนึ่ง ที่วัดช้างค้ำที่นี่จะเห็นบันไดรูปปั้นมกรคายมังกร มกรคือสัตว์ในเทพนิยายจระเข้ผสมกับปลาโลมาและช้าง สะท้อนให้เห็นว่าเวียงกุมกามรับอารยธรรมจากจีนมาแล้ว เพราะการสร้างมกรแบบจีน ที่ล้านนาแห่งนี้เจอเครื่องถ้วยลายครามทรงไหแบบซุ่งปลายหริภุญไชย พบเตาหลวง พื้นที่ล้านนาติดต่อกับประเทศจีนมานานแล้ว สถาปัตยกรรมล้านนาผสมกับจีน เห็นเป็นลวดลายกรอบช่องกระจก ลายดอกโบตั๋น เบญจมาศสายกลาง.   

ขั้นตอนเชียงใหม่มรดกโลกเตรียมเอกสาร ผู้คน แผนจัดการ

               

ยูเนสโกขึ้นบัญชีเชียงใหม่รอประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ยกฐานะให้ทั่วโลกซึมซับประวัติศาสตร์ยาวนาน 723 ปี เมืองวัฒนธรรมอัตลักษณ์ของท้องถิ่นล้านนา มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ สถาปัตยกรรม งานศิลปะและหัตถกรรมที่ทรงคุณค่า ศูนย์กลางวัฒนธรรมล้านนาในเขตภาคเหนือ ศูนย์กลางการศึกษา ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ศูนย์กลางศาสนา สสส. Spark U Lanna หลอมรวมใจให้เป็นหนึ่งเดียว ขับเคลื่อนผลักดันให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองมรดกโลกที่มีชีวิตชีวา อยู่ใต้จิตสำนึกของคนที่รักศิลปวัฒนธรรม

               

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันศุกร์ที่ 1 ก.พ.ว่า “พี่น้องประชาชนที่รักครับ ต้นไม้ถ้าปราศจากรากก็อาจล้มโดยง่ายด้วยแรงลมนะครับ ดังนั้นชนชาติใดหากหลงลืม ละเลยความเป็นชาติ หมายถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมา รากเหง้าทางวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การทำมาหากิน การสร้างชาติของตนแล้ว ย่อมบั่นทอนความมั่นคงที่เป็น “นามธรรม” เหล่านี้แม้จับต้องไม่ได้ แต่มีความสำคัญนะครับ”

               

แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมและโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องกับการนำเสนอเมืองเชียงใหม่เป็นมรดกโลก มีวัดพระธาตุดอยคำ เวียงกุมกาม กำแพงเมืองชั้นนอก (กำแพงดิน) เมืองเชียงใหม่ ขอบเขตตัวเมืองเชียงใหม่กำหนดด้วยกำแพงเมือง/คูเมือง ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ราบระหว่างแนวเทือกเขาด้านตะวันตกและสายน้ำแม่ปิงทางทิศตะวันออก วัดเชียงมั่นซึ่งมีพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เวียงเจ็ดลิน ทั้งนี้เป็นการนำเสนอของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ 3 ปีก่อน (ปัจจุบันเป็นสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ได้รับความช่วยเหลือจาก อ.สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ นักวิชาการอิสระ ได้นำเสนอเป็น Serial Domination เหมือนเกียวโต ต่อมา ดร.ริชาร์ด อิงเกิลฮาร์ต อดีตที่ปรึกษาอาวุโสผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรจะบริหารจัดการรวบเป็นพื้นที่เดียวมีโอกาสสูงที่จะประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก

               

อ.อจิรภาส์ (แฟน) ประดิษฐ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ขณะนี้มาช่วยงานสถาบันวิจัยสังคม (คณะวิจิตรศิลป์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ปรึกษาจัดทำเอกสารในการผลักดันเมืองเชียงใหม่เป็นมรดกโลก ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก สสส. กล่าวถึงข้อมูลล่าสุดในการผลักดันเมืองเชียงใหม่เป็นมรดกโลกว่า Spark U. Lanna ช่วยขับเคลื่อน ทั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร สำนักนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรฯ การดูแล Property Zone อย่างเข้มขัน เมืองท่าชั้นในและชั้นนอก ขณะนี้เป็นเรื่องยากที่จะควบคุมการเปลี่ยนมือจากเจ้าของที่ดินในฝั่งชุมชน (นักลงทุนจากจีนและกรุงเทพฯ เข้ามาดำเนินกิจการโรงแรม คอนโดมิเนียม ร้านอาหารเป็นจำนวนมาก เพื่อเตรียมลู่ทางรองรับความเจริญก้าวสู่อาเซียน) จำเป็นที่จะต้องจัดทำแผนที่ทำความตกลงร่วมกันออกแบบเป็นข้อกำหนด

               

เมืองเชียงใหม่ยื่นข้อเสนอเป็นมรดกโลก Bottom Up จากรัฐบาลท้องถิ่น มีความแตกต่างจากเมืองมรดกโลกอยุธยา ห้วยขาแข้ง เขาใหญ่ที่ Top-Down มาจากรัฐบาล เป้าหมายเพื่อการรักษา ประเทศไทยมีประสบการณ์มรดกโลกอนุสรณ์ ยังไม่เคยยื่นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมมีชีวิต จึงเป็นโครงการพิเศษเชียงใหม่สู่มรดกโลก ใช้เครื่องมือสากลเพื่อรักษาเมืองเชียงใหม่ หลายแห่งยกมรดกโลกสู่ความเป็นสากล เชียงใหม่มีอยู่แล้ว มีมากเกินไปด้วยซ้ำ จนในขณะนี้นักท่องเที่ยวจำนวนมากเข้ามาทำลายวัฒนธรรม เชียงใหม่ทำเรื่องเมืองมรดกโลก รัฐบาลทำ Commitment ในระดับนานาชาติ ยื่นเรื่องทำบัญชีเบื้องต้นปี 2558 ขณะนี้ก็ผ่านมาได้ 3 ปีแล้ว การจัดทำเอกสารเพื่อทำเรื่องมรดกโลกให้เวลา 10 ปี ทั้งการเตรียมเมือง เตรียมผู้คน แผนการจัดการ การจัดเตรียมเอกสาร ไม่ใช่เพียงการยื่นเรื่องขออย่างเดียวเท่านั้น เมื่อเขียนเอกสารแล้วก็ต้องมีคนเข้ามาประเมินพื้นที่ด้วย การผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนที่

               

วัดเชียงมั่นภายใต้โครงสร้าง 722 ปี การรื้อสร้างใหม่จะรักษาศรัทธาไว้ได้อย่างไร ในยุโรปต้องทิ้งให้เหมือนเดิมมากที่สุด ความจริงแท้ของความเป็นเมืองถ่ายทอดจากการเห็นคุณค่าตลอด 722 ปี เชียงใหม่ส่งเอกสารไปที่ประเทศฝรั่งเศสในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. ก็ได้ feedback กลับมาทันทีในเดือน พ.ย. ทางศูนย์มรดกโลกก็ตรวจเช็กดูโครงสร้างความสมบูรณ์และตรวจเอกสารกลับมา

               

(อ้างอิงเอกสารกรมศิลปากร) พระธาตุดอยคำอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ ตามตำนานดอยคำเมืองเชียงใหม่เป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สองผัวเมียชื่อจิคำและตาเขียว ต่อมาชาวบ้านเรียกยักษ์ทั้งสองว่า “ปู่แสะ-ย่าแสะ” ปู่และย่ามีลูก 1 คน สุเทวฤาษี ยักษ์ทั้งสองมีศุภนิมิตได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขาและลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่าดอยคำ

               

เวียงกุมกามราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรล้านนา หลังจากพญามังรายสืบเชื้อสายราชวงศ์จักรราชเป็นพระมหากษัตริย์ครองเมืองหิรัญนครเมืองใหญ่ สามารถแผ่ขยายอำนาจปกครองเมืองต่างๆ ทั้งในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน ต่อมาทรงย้ายมาสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณที่ราบลุ่มตอนใต้ของแม่น้ำ ให้ชื่อว่าเวียงกุมกาม สภาพพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของหริภุญไชย ผู้คนเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของรุกขเทวดา ด้วยเวียงกุมกามอยู่ใกล้เขาไกรลาศ

               

ตลอดเวลาทรงปกครองไพร่ฟ้าประชาชนให้อยู่ดีมีสุข บูชาบรรพบุรุษตามความเชื่อ พร้อมกับคุณธรรมค้ำชูพระพุทธศาสนา บรรดาเสนาอำมาตย์นำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย พลเมืองเวียงกุมกามหลากหลายเชื้อชาติลัวะ มอญ ไทย ประกอบสัมมาอาชีวะเกษตรกรรม ไร่นาลุ่มน้ำจากเหมืองฝาย ค้าขาย มีชีวิตที่ผสมกลมกลืนกัน ไม่มีความขัดแย้ง ที่เวียงกุมกามเป็นศูนย์กลางการค้าเต็มไปด้วยผู้คนซื้อขายสินค้าแลกเปลี่ยนกันอย่างหนาแน่น โปรดฯ ให้มีการสร้างสะพานกุมกาม เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าขายของชาวบ้านชาวเมือง ในขณะที่เวียงกุมกามมีบทบาทเป็นเมืองสำคัญคู่กับเมืองเชียงใหม่สืบมา พม่าโอบล้อมเมืองเชียงใหม่ บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย พลเมืองถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลยอาศัยอยู่ที่อื่น ทำให้เวียงกุมกามกลายเป็นเมืองร้างผู้คนและทรุดโทรมลง ต่อมาเกิดพายุทรายจำนวนมหาศาล เวียงกุมกามจมหายกลายเป็นเมืองอยู่ใต้บาดาลเป็นเวลา 700 ปี ชื่อของเวียงกุมกามหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์

               

เพื่อน้อมรำลึกถึงพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมบรมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์มังราย ผู้ก่อตั้งนพบุรีศรีนครพิงค์ (เชียงใหม่) และทรงสร้างวัดวาอารามให้ลูกหลานได้สืบต่อพระพุทธศาสนาตราบจนถึงปัจจุบัน ปีนี้ครบรอบ 723 ปีของการก่อตั้งนพบุรีศรีนครพิงค์ และครบรอบการสร้างวัดกานโถม (ช้างค้ำ) เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่เป็นเวลา 731 ปี วัดกานโถมประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันตก ด้านหลังมีอาคารเชื่อมต่อออกไปมีลักษณะเป็นมณฑป มีพระพุทธรูปซ้อนเป็นสองชั้น ชั้นล่างไว้พระพุทธรูป 4 องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืนองค์หนึ่งมีรูปอัครสาวกโมคคัลลาน์ สารีบุตร พระอินทร์ รูปแม่พระธรณี

บริเวณ วัดกานโถม มีต้นศรีมหาโพธิที่ได้อัญเชิญเมล็ดจากเมืองลังกาแต่ครั้งโบราณ และหลักฐานทางโบราณคดีสำคัญ พบพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างหริภุญไชยจำนวนหนึ่ง พบจารึกหินทรายสีแดงเป็นอักษรแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ อักษรมอญ อักษรไทย อักษรสุโขทัย.

 

 

พระปลัดพีรพัฒน์ วิสุทธิเมธี เจ้าอาวาสวัดบ้านปิงที่นี่มีพระพุทธรูปสิงห์1องค์ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่

               

พระปลัดพีรพัฒน์ วิสุทธิเมธี เจ้าอาวาสวัดบ้านปิง ต.ศรีภูมิ อ.เมือง จว.เชียงใหม่ กล่าวว่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียวภายในวัดด้วยการอนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ และเพิ่มปริมาณต้นไม้ด้วยการปลูกต้นหมากเพิ่มขึ้นภายในวัดเพื่อเป็นปอดของชาวเชียงใหม่ เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีของชาวล้านนา งานบุญประเพณี มีการใช้น้ำหมากในพิธีธรรม เครื่องสักการะมีหมากเป็นเครื่องประกอบสักการะจากล้านนา ทุกวันนี้พื้นที่เมืองเชียงใหม่เต็มไปด้วยโรงแรม คอนโดมิเนียม เกสต์เฮาส์ สถานบันเทิง

               

“วัดบ้านปิงมีพื้นที่ 2 ไร่ 3 งาน ภายในวัดบ้านปิงมีต้นไทรเก่าแก่มีอายุกว่า 700 ปี ต้นลำไยต้นใหญ่มีอายุ 60 ปี จำนวน 2 ต้น ให้ผลตลอด ตอนนี้ มีโรงแรมนวชีวาเป็นของชาวต่างชาติอยู่ล้อมวัด โรงแรมน้ำใสตอนนี้เปลี่ยนเจ้าของและเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวีย่าล้านนา และยังมีเกสต์เฮาส์รอบวัดอีก นักท่องเที่ยวชาวจีนเข้ามาเที่ยวในวัดด้วยความเชื่อความศรัทธา เนื่องจากเส้นทางเดียวกับวัดเชียงมั่นแล้วก็มาวัดบ้านปิง วัดอุโมงค์ ฯลฯ เฉพาะวัดที่กระจุกนี้เขตคูเมืองชั้นในเวียงกำแพงจำนวน 7 วัด ด้วยทางเดินเชื่อมต่อกัน 50 เมตร”

               

ที่วัดบ้างปิงมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือพระพุทธรูปสิงห์ 1 บางครั้งก็เรียกว่าหลวงพ่ออุ่นเมือง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่ มีอายุ 536 ปี เป็นพระพุทธรูปคู่วัดบ้านปิง นอกจากนี้ยังมีพระอุปคุต แม่พระธรณีบีบมวยผม.

 

 

สุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ (ชาวกรุงเก่าวัย 82 ปี) คณะกรรมการกำกับทิศสื่อทางปัญญา กรรมการบริหารแผนคณะที่ 5 สสส.

               

“ผมทำงานร่วมกับ ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ คณะกรรมการบริหารแผนสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส. ท่านแม่นทางวิชาการ ผมก็อาศัยท่าน เราได้ดูการแสดงฟ้อนล้านนากันแล้ว คนภาคอีสานต่อว่านิดๆ ว่าช้าไปไม่ถึงครึ่งทาง แต่ความจริงงดงามมาก ตอนที่ลุงดูการแสดงอารมณ์ลุงเคลิ้มฝันกับการฟ้อนศิลปะโดยมีภาพหลังที่กำแพง ลุงลืมตัวค่อยๆ เลื่อนลอยออกสู่จากโลกไปจักรวาล ไปถึงดอยปุย ดอยสุเทพแต่ว่าท่านจบไปซะก่อน ลุงไปไม่ถึงจักรวาล ศิลปะในมุมมองของลุงสร้างความงดงามและเกิดจินตนาการผ่านประเด็นสู่โลกและจักรวาล ด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์ เราคุยกับเจ้าหน้าที่ สสส.ได้ข้อสรุปว่าที่นี่คือจังหวัดที่มีชิวิต ไม่ใช่จังหวัดที่มีแต่ร่างกาย ชีวิตที่อยู่กับศิลปวัฒนธรรมที่งดงามมาก ลุงเดินทางไปดูงานมาแล้วทุกพื้นที่ ไปภาคใต้ดูการแสดงโนรา การขยับมือเปลี่ยนท่ากระตุก แต่ภายใต้ความแข็งก็มีศิลปะที่งดงาม วัฒนธรรมภาคอีสานหมอลำก้าวฉับๆ รวดเร็ว มีศิลปะ ภาคเหนือเนิบนาบ แต่ศิลปะไม่ว่าจะเป็นภาคไหนก็สร้างจินตนาการได้ทุกภาค เป็น Spark ทางจิตใจ มีความสุข แต่การสัมมนาครั้งนี้ขาดพื้นที่ภาคกลาง (ที่ลุงอยู่) และภาคตะวันออก เราจะต้องช่วยกัน Spark U Thailand Inspiring Thailand ให้เป็นสังคมสุขภาวะ ทำอย่างไรทำให้พร้อมเพรียงทั่วทั้งประเทศ”

               

“เราเดินทางกันมาถูกทางแล้วเริ่มต้นจากพื้นที่ฐานรากของเรา ทุกภาคของเรามีเจดีย์ การสร้างอาคารให้สมบูรณ์จากฐานรากถึงยอด ทำให้เราทุกคนรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการด้วย เราต้องตอบโจทย์ของตัวเองก่อน ไม่ใช่ตอบโจทย์ของ สสส.ซึ่งมาช่วยสนับสนุน เราต้องไป Spark สสส.ด้วยความสุข สสส.ก็มีตัวกำหนดตัวชี้วัดจากข้างบน เราอยากให้ สสส.เข้าใจเราด้วย เพราะการทำงานร่วมกัน ถ้าเริ่มต้นจากฐานรากในการขับเคลื่อน มีปัจจัย Spark ต้องเข้าไปในใจกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีอยู่หลายกลุ่ม ถ้าจะเข้าไปในกลุ่มเด็กและเยาวชนทำอย่างไรให้ Spark ท้องถิ่น ราชการ ประชาชนทั่วไป ออกแบบและสรุปบทเรียนได้ ถ้าท้องถิ่นไม่หือไม่อือ ภาคราชการไม่ยอมรับภาคประชาชน ทุกภาคได้งบประมาณ แต่ก็อย่าคาดหวัง สสส.เพียงอย่างเดียว ทำอย่างไรจะหนุนช่วย เราอย่าเป็นเจ้ามือสุขภาวะ จึงจะ spark ได้ วิธีทำงานออกแบบสำเร็จรูปไม่ได้ ถ้าชุมชนใดจัดการตนเองได้มีขีดความสามารถจัดการตนเองร่วมกันได้ ชุมชนกำหนดอนาคตเองได้ คนอื่นกำหนดไม่ได้ เพราะกระแสทุนเข้ามาสูงมาก ขอให้กำลังใจนำข้อเสนอให้ข้อมูลกับคณะกรรมการในปี 2562 เราจะสนับสนุนอย่างไรให้เข้มแข็ง Spark U Thailand คุมเสียงภาคประชาชนให้มีพื้นที่มีตัวตน มีจิตวิญญาณ Voice of Citizen ที่ภาคส่วนอื่นๆ จะต้องฟังด้วย เราจะไม่ทิ้งกัน ขอให้เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ มีความสุขการทำงานร่วมกัน”

               

“ที่นี่เน้นรากเหง้าทางภูมิปัญญา ในขณะที่อื่นเน้นเรื่องสื่อวัฒนธรรมการแสดงพื้นบ้าน ขณะเดียวกันที่เชียงใหม่ใช้ความพยายามสร้างจิตอาสาให้เกิดแรงบันดาลใจทำงานกับกลุ่มเป้าหมายให้บรรลุความสำเร็จมี 2 มิติ สำนึกทางวัฒนธรรมล้านนาเกิดความสำนึกสุขภาวะ มีเครื่องมือและเป้าหมาย มีส่วนร่วมกับศิลปวัฒนธรรมล้านนาให้เห็นคุณค่าเพื่อที่จะทำงานให้บรรลุผล ให้ทีมงานลงไปในพื้นที่เป็นเรื่องของการเรียนรู้ ทำงานให้ได้ผลเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริงและยั่งยืน โยงไปในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับราชการส่วนท้องถิ่น (อบจ. อบต. เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชุมชน องคาพยพในชุมชน บ้าน วัด รร. (บวร)”.

               

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"