"พ.ร.บ.การศึกษาชาติ"สกัดเด็กเรียนพิเศษ มีข้อกำหนดห้ามออกข้อสอบเกินเนื้อหาที่เรียน


เพิ่มเพื่อน    


    

6มี.ค.62- "หมอจิรุตม์ "แจงพ.ร.บ.การศึกษาชาติ มีข้อกำหนดห้ามออกข้อสอบการสอบเข้า หรือคัดเลือกเกินกว่าเนื้อหาที่เด็กเรียน ไม่อย่างนั้นจะถือว่าจงใจให้ผู้อื่นเสียหาย มีเหตุผลหวังให้เด็กไม่มุ่งเรื่องสอบอย่างเดียว โดยไม่ห่วงเรียน และยังไม่ต้องการให้มีการไปติวหรือเรียนพิเศษ สิ้นเปลืองเงินทอง 

    นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาแนวทางการจัดทำร่างพ.ร.บ.การศึกษาฯ  คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวว่า  ทั้งนี้ในพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับใหม่ ที่ผ่านความเห็นขอบของสนช.แล้ว ในส่วนของมาตราที่กำหนดวิธีการรับผู้เรียนเข้าศึกษาในสถานศึกษาของรัฐ โดยการศึกษาระดับก่อนวัยเรียนและการศึกษาภาคบังคับ คือ อนุบาล 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ว่าต้องไม่ใช้วิธีการสอบแข่งขัน หรือ คัดเลือกด้วยวิธีการอื่นใด ถ้ามีหากมีผู้เข้าเรียนมากกว่าที่นั่งเรียนให้ใช้วิธีจับสลากนั้น แนวคิดของเรื่องนี้มาจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ที่กำหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดูแลให้สถานศึกษามีคุณภาพ และมีความเพียงพอ ทั้งนี้หากประชาชนไม่มีความเชื่อมั่นและกระจุกตัวในสถานศึกษาบางแห่ง รัฐก็จะต้องยกระดับคุณภาพในสถานศึกษาส่วนอื่น เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการเข้าเรียน ไม่ใช่ว่าอยากเรียนก็มาสอบเข้า สอบได้ก็เรียน สอบไม่ได้ก็ไปเรียนที่อื่น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของการศึกษาภาคบังคับ 


    ทั้งนี้ในส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กับ อุดมศึกษา การคัดเลือกต้องใช้ผลการเรียนหรือสิ่งที่ได้เรียนมาในช่วงระดับก่อนหน้าเท่านั้น การวัดผลคัดเลือกที่สูงกว่าที่กำหนดถือว่าเป็นการจงใจทำให้บุคคลอื่นเสียหายนั้น เรื่องนี้ที่กรรมการให้ความสำคัญ เพราะหากข้อสอบที่ใช้ในการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นต่อไปไม่สอดคล้องกับสมรรถนะในช่วงวัยก่อนหน้า เท่ากับว่าการจัดการเรียนการสอนก็จะไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะคนจะมุ่งไปในเรื่องการสอบเพียงอย่างเดียว ไม่ห่วงเรื่องเรียน ดังนั้นการออกข้อสอบที่ไม่ใช่เรื่องที่เรียนมาถือว่าจงใจที่จะทำให้ผู้อื่นเสียหาย เพราะจะต้องเสียเงินให้ลูกหลานไปเรียนพิเศษเพิ่มเติม อีกทั้งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ เพราะเด็กที่ผู้ปกครองสามารถสนับสนุนให้เรียนพิเศษได้ก็จะมีโอกาสมากกว่า ซึ่งการกำหนดในลักษณะนี้เป็นวางแนวทางไว้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ และคณะกรรมการกฤษฎีกายังมองว่าหากไม่มีมุมที่ชี้โทษไว้บ้างคนก็อาจจะไม่ปฏิบัติตาม
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"