ขอนแก่นตั้งเป้า 3 ปีต้องไม่มีอ้อยถูกไฟเผาก่อนเข้าโรงงาน หวังลดฝุ่น PM2.5 ในระยะยาว


เพิ่มเพื่อน    

รมช.อุตสาหกรรม ตรวจการตัดอ้อยที่ขอนแก่น ตั้งเป้า 3 ปีจะต้องไม่มีอ้อยถูกไฟเผาก่อนส่งเข้าโรงงาน ป้องกันมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ  PM 2.5  อย่างยั่งยืน

9 มี.ค.62 - ที่บ้านหนองกี่ ตำบลกุดกว้าง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น นายสมชาย หาญหิรัญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเปิดงานวันรณรงค์งดเผาอ้อย ลดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 และสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรยุค 4.0 โดยมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยเข้าร่วมงานกันอย่างพร้อมเพรียง

นายสมชาย กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมานั้นขอนแก่นเกิดผลกระทบเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือ PM 2.5 โดยที่ทางจังหวัดได้มีการประสานงานการเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง รวมทั้งมีการประกาศห้ามเกษตรกรชาวไร่อ้อยนั้นเผาอ้อย นอกจากนี้ยังมีการทำงานกับหลายหน่วยงาน จนนำมาสู่การแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม

"ปัจจุบันเกษตรกรเจ้าของไร่อ้อยไม่เผาอ้อยของตัวเอง หันมาตัดอ้อยสดส่งโรงงานแทน ดังนั้นการรณรงค์งดเผาอ้อยเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ในครั้งนี้ ได้กำหนดให้พื้นที่ จ.ขอนแก่น เป็นพื้นที่นำร่องในการแก้ไขปัญหาและงดเผาอ้อยไปยังพื้นที่ต่างๆและเชื่อว่า การแก้ไขปัญหาด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายนับจากนี้ การเผาอ้อยจะหมดไปภายในเวลา 3 ปีนี้"

รมช.อุตสาหกรรม กล่าวต่ออีกว่า รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะไม่ให้มีการเผาอ้อยส่งเข้าโรงงาน โดยตั้งเป้าไว้ 3 ปีจะต้องทำให้สำเร็จ ทั้งนี้ได้เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถลดจำนวนอ้อยที่ถูกไฟเผาลงได้จาก 60 % เหลือเพียง 30 % เท่านั้น อย่างไรก็ตามสำหรับแนวทางที่รัฐบาลจะนำมาดำเนินการ เพื่อลดการเผาไร่อ้อยของเกษตรกรนั้น จะต้องสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรคือ หากชาวไร่อ้อยส่งอ้อยที่ถูกไฟไหม้เข้าโรงงาน ก็จะถูกหักเงิน 30 บาทต่อตัน แล้วเอาเงินส่วนนี้ไปเพิ่มเป็นสวัสดิการให้กับชาวไร่อ้อยที่ไม่ทำการเผาไร่อ้อย

"มาตรการดังกล่าวนี้เป็นมาตรการระยะสั้นเฉพาะหน้า ส่วนมาตรการระยะยาวนั้น รัฐบาลจะจัดหาเครื่องจักรกลที่ใช้ในการตัดอ้อยไปให้กับเกษตรกร ด้วยวิธีการให้ชาวไร่รวมกลุ่มกันจัดซื้อรถตัดอ้อยเอง โดยภาครัฐจะหาเงินที่มีดอกเบี้ยต่ำโดยผ่านทาง ธกส.ไปให้กลุ่มเกษตรกรกู้ยืมเงิน พร้อมแนะนำให้ชาวไร่อ้อยทำแปลงปลูกอ้อยขนาดใหญ่ ปลูกอ้อยอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เครื่องจักรกลสามารถเข้าไปทำการตัดอ้อยได้อย่างสะดวก

ขณะเดียวกัน โรงงานต้องจัดคิวพิเศษให้กับชาวไร่อ้อยที่นำอ้อยสดไปขายให้กับทางโรงงาน โดยให้จัดคิวขายให้ก่อนอ้อยที่ถูกไฟเผา โดยเฉพาะอ้อยที่มีความสดหากตัดจากไร่แล้วนำมาขายเข้าโรงงานเลยไม่เกิน 10 ชม. ก็จะได้ทั้งค่าความหวาน ได้ทั้งน้ำหนักดี ส่วนอ้อยที่ถูกไฟไหม้ค่าน้ำตาลก็จะลดลง และถ้าทิ้งไว้นานๆ กว่าจะได้ขาย น้ำหนักก็ยิ่งลดลงไปอีก นอกจากนี้ค่าความสมบูรณ์ของดินที่มีการเผาไร่อ้อยก็จะลดความอุดมสมบูรณ์ลง หากคิดเป็นค่าของเงินก็จะเสียไป 300 บาทต่อไร่ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่สามารถมองเห็น"

รมช.อุตสาหกรรม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรชาวไร่อ้อยมีการทำข้อตกลงงดเผาอ้อยมาแล้ว ก็ยังคงมีการเผาอ้อยอยู่ ซึ่งการเผาอ้อยนั้น ไม่ใช่ว่าเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยจะลงมือเผาอ้อยตัวเอง เพื่อให้ง่ายต่อการตัดอ้อย และมีแรงงานมาตัดอ้อยให้ แต่ในความเป็นจริงและปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้อ้อย ซึ่งในเรื่องนี้ภายใน 3 ปีนี้จะต้องดำเนินการให้เรียบร้อย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"