แหล่งโบราณคดี อยุทธยา ลพบุรี สุพรรณบุรี และ"สี่สระน้ำศักดิ์สิทธิ์"ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก                                     


เพิ่มเพื่อน    

นักโบราณคดีสาธิตการทำงาน

                                
                ในพื้นที่ภาคกลาง ประเทศไทย นับว่าเป็นดินแดนแห่งอารยธรรมตั้งแต่สมัยทวารวดี ในยุคที่มีชนชาวมอญอาศัยอยู่ และในยุคที่เขมรได้เข้ามีบทบาทมากขึ้นในจังหวัดลพบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี และสิงห์บุรี และในสมัยพระเจ้าอู่ทองที่มีการโยกย้ายราชธานีมายังจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก็เกิดความเจริญรุ่งเรืองมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ หรือการเผยแพร่ศาสนา เกิดสิ่งปลูกสร้างทางสถาปัตยกรรมที่งดงาม วิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ทางประเพณีวัฒนธรรม หรือการพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือในการประกอบอาชีพ ต่างๆ ที่ยังคงหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน แม้ว่าจะเป็นเพียงเศษโบราณวัตถุ หรือซากปรักหักพังที่ไม่ได้งดงามเหมือนเมื่อครั้งในอดีต แต่ก็ทำให้เราได้เห็นภาพว่ามันเคยสวยงามและยิ่งใหญ่ขนาดไหน


                ด้วยเหตุนี้ กรมศิลปากร จึงได้จัดโครงการสื่อมวลชนสัญจรในพื้นที่ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาทางโบราณสถาน โบราณวัตถุ ฯลฯ ที่สำคัญ เพื่อเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมา และแหล่งโบราณคดีที่สำคัญให้ประชาชนได้รับรู้เพิ่มมากขึ้น ที่จะส่งผลให้เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ ดูแลรักษาต่อไปในอนาคต เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

                 โดยจุดหมายแรกที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการพาลงพื้นที่ศึกษาดูงานการบูรณปฏิสังขรณ์พลับพลาตรีมุข ภายในพระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยา ที่ดูโดดเด่นด้วยสีขาว ทามกลางโบราณสถานที่ปรักหักพัง ซึ่งในอดีตเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และยังเป็นสถานที่ว่าราชการหรือประกอบพระราชพิธีต่างๆ แต่เมื่อกรุงศรีอยุธยาสิ้นสุดลงในปี 2310 พื้นที่แห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้าง พระที่นั่ง อาคารต่างๆ หลงเหลือเพียงรากฐาน


                นายวีระศักดิ์ แสนสะอาด นักโบราณคดีปฏิบัติการ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เล่าถึงการบูรณะอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ให้ฟังว่า พลับพลาตรีมุข ที่ถูกปล่อยให้ทิ้งร้างมานาน  จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็ทรงมีรับสั่งให้พระยาโบราณราชธานินทร์(พร เดชะคุปต์) ทำการบูรณะ เพื่อใช้เป็นสถานที่รับรองพระองค์เมื่อครั้งเสด็จมาเยือน หรือ ไว้รับรองแขกบ้านแขกเมือง จนแล้วเสร็จเมื่อปี 2452 จากหลักฐานการแกะสลักอักษรไว้ใต้กรอบหน้าบันว่า พลับพลาตรีมุขนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯให้พระยาโบราณราชธานินทร์(พร เดชะคุปต์) สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. 2452 ในปัจจุบันก็มีการอนุรักษ์ และบูรณะ มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการเก็บหลักฐานทางโบราณสถานอย่างแผนผังการสร้าง บันทึกร่องรอยการบูรณะ เป็นต้น และได้บูรณะครั้งล่าสุดเมื่อปี 2560-2561 ทั้งงานบูรณะส่วนฐาน ส่วนโครงสร้างไม้ตั้งเสาจนถึงยอดหลังคา โดยยังคงหลักฐานของพระที่นั่งสำคัญของพลับพลาตรีมุขนี้ไว้อยู่

บรรยากาศร่มรื่น บริเวณพลับพลาตรีมุข    

                พลับพลาตรีมุขยังเป็นสถานที่ที่ใช้ประกอบราชพิธีสำคัญ อย่าง พระราชพิธีสังเวยอดีตมหาราช หลังจากที่พระมหากษัตริย์เสร็จสิ้นจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 และรัชกาลที่ 9 เป็นเหมือนกับการมาเคารพบูรพพระมหากษัตริย์ในอดีต ซึ่งพระราชพิธีนี้จะเกิดขึ้นตามพระราชประสงค์และสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้นด้วย

 

ร่องรอยการขุดค้นโครงกระดูกโบราณ

 

                 แหล่งโบราณคดีโคกพุทรา อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ซึ่งอยู่ในโครงการโบราณคดีพื้นที่ลพบุรี(LoRAP)  พื้นที่โคกพุทรา  เป็นอีกแห่งที่อยู่ภายใต้การบูรณะ แม้บรรยากาศโดยรอบ จะเหมือนที่อาศัยชุมชนทั่วๆไป แต่ในพื้นที่อาศัยนี่แหละ ที่ทำให้นักโบราณคดีให้ความสนใจ นายสรธัช โรจนารัตน์ นักโบราณคดีชำนาญการ หนึ่งในทีมนักโบราณคดี กล่าวว่า  จากการขุดค้นพบแหล่งโบราณคดีโคกพุทรา ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 - ปัจจุบัน กับทีมของ ดร.โรแบโต เคียอาลา  นักโบราณดคี ชาวอิตาลี ที่เข้ามาสำรวจแหล่งโบราณคดีในประเทศไทยในโครงการโบราณคดีพื้นที่ลพบุรี (Lopburi Regional Archaeological Project - LoRAP) พบว่าพื้นที่ที่เป็นของชาวบ้านเป็นแหล่งที่ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดี  แหละที่มาของการขุดค้น ก็มาจากข้อมูลของโครงการวรรณคดีประเทศไทย ซึ่งได้เคยทำการสำรวจไว้เมื่อ 30 ปีที่แล้ว  และมีการพบเศษของภาชนะดินเผา จึงได้มีการกำหนดพื้นที่และขุดหลุมทดสอบขนาด 4x4 เมตร และ 3x2 เมตร ตามชั้นการขุดลงไป พบร่องรอยหลุมเสา โครงกระดูกมนุษย์ที่ฝังร่วมกับภาชนะดินเผา เปลือกหอยมือเสือ แกนกำไลเปลือกหอยมือเสือ และชิ้นส่วนกำไลเปลือกหอย  แสดงให้เห็นถึงกระบวนการผลิตกำไลเปลือกหอยมือเสือ ที่อาจจะมีจุดเริ่มต้นจากที่นี่  นอกจากนี้ยังมีลูกปัดเปลือกหอย ชิ้นส่วนโลหะ ต่างหูดินเผา ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดก็จะถูกส่งไปทำการศึกษาต่อไป

สรธัช โรจนารัตน์
 

                แหล่งโบราณคดีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี วัดแห่งนี้หากมองผิวเผินก็เหมือนวัดทั่วไปที่ผู้คนเดินทางมาทำบุญ สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่ด้านหลังพระอุโบสถเป็นที่ตั้งของ ปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งเป็นปรางค์ประธาน ที่เด่นตระหง่านด้วยสีของอิฐโบราณ แม้บริเวณโดยรอบจะเป็นเจดีย์ที่ถูกก่อขึ้นใหม่

ปรางค์พระศรีรัตนมหาธาตุ


     นางสาวปิยนันท์ ชอบศิลประกอบ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ได้ให้ข้อมูลว่า ในการศึกษาโบราณคดีในพื้นที่นี้ ตั้งแต่ปี 2555 จนถึงปัจจุบัน ที่นอกจากการศึกษาโบราณสถานที่อยู่บนดินแล้ว ยังได้มีการศึกษาสิ่งที่ซ้อนเร้นอยู่ใต้ดินฐานพระปรางค์อีกด้วย  ทำให้ค้นพบรูปแบบศิลปกรรมสมัยแรกสร้างของวัดแห่งนี้  ที่รูปแบบปรางค์มีความสัมพันธ์เหมือนกับในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น อย่างวัดราชบูรณะ หรือการพบเจดีย์ลาย และพื้นที่แห่งนี้ก็ถูกรายล้อมไปด้วยกำแพงแก้วที่ขณะนี้กำลังได้รับการบูรณะ    พื้นที่แห่งนี้ มีการพบหลักฐานชิ้นสำคัญ คือ จารึกลานทอง หรือ จารึกบนแผ่นทองคำ 3 แผ่น ที่หลงเหลืออยู่ โดยเป็นบันทึกการกำเนิดยุคสมัย ส่วนที่เหลืออยู่ 3 แผ่นนั้นเพราะ ในอดีตเคยมีคนขโมยแผ่นทอง แผ่นทองอีกหลายสิบแผ่นที่หายไปได้ถูกหลอมและเอาไปขาย เพราะฉะนั้น ข้อมูลต่างๆก็สูญหายไปอย่างน่าเสียดาย  กรมศิลปากร ยังคงเดินหน้าบูรณะแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ต่อไป พร้อมกับเก็บข้อมูล หลักฐานในการศึกษาวิจัยและเผยแพร่เป็นองค์ความรู้สู่สาธารณชน
           
                สถานที่สุดท้าย คือ สระศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่  หรือแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามโบราณราชประเพณี ที่ใช้สืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ในพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต่อมามีแหล่งน้ำใหม่ที่นำมาใช้เพิ่มเติมในสมัยหลังๆ สระศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ดูเผิน     ก็คล้ายกับสวนสาธารณะทั่วไป เพราะมีความร่มรื่น 
    สระดังกล่าวเรียกว่า "สระยมนา"และ"สระคา" ตั้งที่อยู่ตรงข้ามกัน ส่วน"สระเกษ"จะอยู่ถัดไปอีกทางด้านหลังศาลเจ้า และ"สระแก้ว"ตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งต้องข้ามถนน  ทุกสระมีศาลาท่าน้ำ น้ำที่ใสสะอาดที่เราได้เห็นอยู่เบื้องหน้า คือน้ำที่จะใช้ประกอบในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในหลวงรัชกาลที่ 10 ด้วย
                ปัจจุบันสระทั้งสี่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติตั้งแต่ปี 2478 ซึ่งสระแห่งนี้ได้มีการปรับปรุงโดยกรมศิลปากรราวปี 2513-2514  โดยได้ดำเนินการขุดลอกคลองครั้งหนึ่ง มีการปลูกต้นไม้เพิ่มเติม และได้มีการขุดลอกคลองครั้ง 2 โดยการขุดลอกคลองทั้งหมด และทำการดูแลรักษาให้คงความงดงามและคุณค่าที่ปรากฎให้เราได้เห็นอยู่เบื้องหน้า

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"