สสส.Young Happy สถานทูตญี่ปุ่น จัดความรู้วัยทอง:Stay With Me


เพิ่มเพื่อน    

   

สถานทูตญี่ปุ่นไฟเขียว สสส.จับมือ Young Happy เชิญอาจารย์มหาวิทยาลัย 3 ชาติ ญี่ปุ่น-เกาหลี-ไทย พลิกแฟ้มสูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล ภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนัก 9 เผยคนไทย 40% ไม่พร้อมเป็นผู้สูงวัยในอนาคตทั้งสุขภาพ-รายได้ หลายประเทศยึดแดนอาทิตย์อุทัยเป็นต้นตำรับวัยทองคุณภาพ ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ แจงรัฐบาลแบกผู้สูงวัยใส่บ่า มีหนี้สาธารณะ GDP สูงถึง 200% Dr.Keiichiro Oizumi ยอมรับ 18 ปีก่อนมาเมืองไทย ลูกดูแลพ่อแม่ งานวิจัยชี้วันนี้วัฒนธรรมเปลี่ยน Dr.Kim Sung-Won The University of Tokyo สังคมผู้สูงอายุในแดนซามูไรและแดนโสมไม่ได้ร่าเริงอย่างในภาพยนตร์ เรื่องจริงชาววัยทองเป็นสังคมที่หม่นหมอง

               

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ธนากร พรหมยศ (แก๊พ) ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม Young Happy The Sasakawa Peace Foundation ร่วมจัดรายการสูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล Dialogue for Our Future Digital and Active Aging in Japan and Thailand in Future โดย ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Dr.Keiichiro Oizumi Assoc. Prof.Dr.Kim Sung-Won ท่ามกลางบรรยากาศภายใน ห้องประชุม 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วยเสียงเพลง I don’t like to sleep alone พอล แองคา ขับร้อง Bobby Gosh ผู้แต่งเพลง ค่ายเพลงวอร์เนอร์ /Chappell Music .Inc ในระหว่างการลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมงานเต็มห้องประชุมการจัดงานครั้งนี้ สนับสนุนโดย สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย Japanese Association in Thailand

I don’t like to sleep alone Stay with me Don’t go Talk with me for just a while So much of you to know Reaching out touching you Leaving all the worries behind Loving you My mouth on yours and yours on mine Marry me Let me live with you Nothing’s wrong and love is right Like a man says in his song  Help me make it through the night Loneliness can get you down When you get to thinking no one cares Lean on me And I’ll lean on you Together we will see it through

               

วัฒนา อ่อนพานิช เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการศูนย์ญี่ปุ่นศึกษาJapan Foundation กล่าวแนะนำหน่วยงาน Japan Foundation ก่อตั้งโดย กระทรวงการต่างประเทศประเทศญี่ปุ่น เน้นเรื่องวิชาการ ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เพื่อให้สังคมผู้สูงวัยไทย-ญี่ปุ่นมีความสมบูรณ์ในอนาคต ครั้งนี้ได้วิทยากรที่มีชื่อเสียงของคนไทย ภัทราวดี มีชูธน ผู้ก่อตั้งและประธานคณะกรรมการบริหาร รร.ภัทราวดี หัวหิน และ ประสาน อิงคนันท์ ผู้ก่อตั้งบริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด และผู้ผลิตรายการ “ลุยไม่รู้โรย สูงวัยดี๊ดี” และวิทยากรจากต่างประเทศโดยเครือข่าย Young Happy ดำเนินการ

               

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. กล่าวว่า สถานการณ์ผู้สูงอายุในปี 2560 มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 11.8 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 17.1 ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ในปี 2564 ในช่วง 3 ปี โดยจะมีประชากรสูงอายุมีถึง 1 ใน 5 และในปี 2547 จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าประชากรไทยก่อนวัยสูงอายุกว่าร้อย 40 ยังไม่ได้เตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพในอนาคต ทั้งด้านสุขภาพและความมั่นคงทางรายได้

               

ผู้สูงอายุส่วนหนึ่งเจ็บป่วยมีโรคประจำตัว โรคไม่ติดต่อ NCD เพิ่มมากขึ้น 1 ใน 3 อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีเงินออมไม่เพียงพอสำหรับใช้ในวัยหลังเกษียณอายุ สะท้อนถึงความไม่พร้อม ดังนั้นจำเป็นต้องให้ข้อมูลเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับผู้ที่จะย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ ในช่วงสิบปี สสส.ให้ความสำคัญกับงานวิจัย มีการลงทุนสนับสนุนให้ทบทวนสถานการณ์ทางวิชาการ ส่งเสริมพัฒนาผู้สูงอายุในสังคมไทย อีก 3 ปีจัดทำแผนผู้สูงอายุฉบับที่ 3 พบช่องว่างถึง 8 เรื่อง การจัดทำคู่มือดูแลผู้สูงวัยให้กับคนไทย การบริหารจัดการ รร.ผู้สูงอายุ หนุนเสริมความเข้มแข็ง พัฒนาพื้นที่ 2,000 แห่งหนุนเสริมความเข้มแข็ง การถอดบทเรียนผู้สูงอายุให้กับชุมชนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2,000 ตำบล

               

ผู้สูงวัยมีปัญหาในการเดินทางไปโรงพยาบาล ไปธนาคาร อยากให้ลูกหลานรับ-ส่ง บางครั้งลูกหลานก็ไม่มีเวลาจึงต้องมีการประสานกับ Grab Taxi การกำหนดให้มีธนาคารเวลาคือมี Give และ Take ในเวลาเดียวกันที่ไม่เหมือนกับจิตอาสาทั่วไป ธนาคารเวลาที่ สสส.ได้ร่วมมือกับกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ดำเนินการในพื้นที่นำร่องของ กทม.และพื้นที่นำร่อง 42 พื้นที่ใน 28 จังหวัด เป็นนวัตกรรมทางสังคมที่เป็นประโยชน์ สามารถประยุกต์ใช้ตามบริบทของสังคมไทย ขณะนี้ 15 ประเทศให้ความสำคัญกับเรื่องภาษี ญี่ปุ่นเป็นต้นตำรับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเครื่องมือในทางเลือก มีธนาคารต้นไม้ ทำความดีแลกรับเป็นของใช้กลับมาด้วย สิ่งเหล่านี้เหมาะสมกับการนำมาปรับใช้ในเมืองไทย

               

Dr.Keiichiro Oizumi the Japan Research Institute Inc. ผู้อำนวยการของสมาคมเอเชียศึกษา และสมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น บรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความเหมือนและความต่างของนโยบายและมาตรการต่างๆ ในการเตรียมพร้อมสำหรับสังคมสูงวัยในญี่ปุ่นและไทย” เรื่องของมูลนิธิญี่ปุ่นเป็นองค์กรในกระทรวงการต่างประเทศ หนุนการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไทยและญี่ปุ่น ปัญหาสังคมผู้สูงวัยเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง 18 ปีก่อน ตนได้ถูกส่งมาประจำอยู่ที่เมืองไทย ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนคนไทย ว่าสังคมไทยจะให้ลูกดูแลผู้สูงวัย ปัจจุบันนี้สังคมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เมื่อศึกษาดูงานวิจัยและข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชน แต่ละประเทศมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมที่ต่างกัน การจัดการแก้ไขปัญหา การรับฟังปัญหาที่ต่างกัน เพื่อนำมาใช้กับวัฒนธรรมของตนเอง การบรรยายพิเศษครั้งนี้มีการนำเสนอวัฒนธรรมของ 3 ชาติ ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย สังคมในยุคดิจิทัลมีงานวิจัยมากมายมุ่งสู่อนาคต เพื่อเน้นย้ำหัวข้อจะพัฒนาสังคมนั้นต้องร่วมกันคิดและแก้ไขปัญหาด้วยกัน

               

ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ผู้รับฟังครั้งนี้เป็นกลุ่มผู้สูงวัย Active ตื่นเช้าฝ่ารถติดเพื่อมาให้ทันงานลงทะเบียนการเสวนา เพราะอยากรู้เรื่องผู้สูงวัยของประเทศไทยและของโลก ประเทศญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นผู้นำเรื่องผู้สูงวัยและก้าวหน้าในระดับโลกที่เราจะต้องเรียนรู้จากเขาเป็นอย่างมาก คนญี่ปุ่นคลุกคลีอยู่กับสังคมไทย ตลอดระยะเวลา 30 ปีของความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ถึงวันนี้ทั้งสองสังคมก้าวสู่ผู้สูงวัย เด็กเกิดน้อยผู้ใหญ่ตายช้าลง แม้แต่ในภาคอีสานที่สมัยก่อนเราเจอเด็กเยอะมาก แต่ปัจจุบันจำนวนเด็กลดน้อยลงกว่าเดิม

               

TRF สำรวจผู้หญิงมีลูกได้มากน้อยแค่ไหนตลอดชีวิตเมื่อเปรียบเทียบระหว่างญี่ปุ่นและไทยมีความไม่แตกต่างกัน คือเมื่อก่อนมีลูกเฉลี่ย 6 คน แต่ปัจจุบันอัตราการเกิดลดลง อัตราการเกิดของเด็กใหม่ย่อมสัมพันธ์กับรายได้ รายได้มากจะมีบุตรน้อย อัตราถัวเฉลี่ยการเกิด 2.5 ในอนาคตเราจะรับมืออย่างไรเมื่ออัตราการเกิดใหม่ในเมืองไทยจะไม่สูงไปกว่านี้ ภาวะสังคมสูงวัยแทรกซึมไปทั่วทั้งประเทศ

               

การมีลูกน้อยส่งผลต่อการสนับสนุนให้มีการศึกษาสูงๆ เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยก็ต้องมีค่าใช้จ่ายที่ติดตามมา จึงเป็นเหตุผลทำให้คนไม่อยากมีลูก ผู้หญิงผู้ชายอายุ 50 ปียังไม่แต่งงานมีจำนวนสูงมาก สังคมคนรุ่นใหม่ถ้าไม่ได้ youtube อยู่ไม่ได้ ในขณะที่การไม่ได้เจอแฟนเป็นเรื่องที่อยู่ได้ ในบทความของญี่ปุ่น ผู้ชาย 60% ตอบว่าอยากแต่งงานกับ AI (หุ่นยนต์) หรือปัญญาประดิษฐ์ จำนวนการมีลูกลดลง อายุขัยเฉลี่ยคนญี่ปุ่น 80 ปี ในขณะที่คนไทยอายุถัวเฉลี่ย 70 ปี เราจะก้าวข้ามและรับมือกับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร ขณะนี้พีระมิดประชากรบิดเบี้ยว สมัยก่อนในช่วงปี 1950 พีระมิดประชากรเกิดจากการที่เรามีประชากรคนหนุ่มสาวค้ำจุนสังคม ทุกวันนี้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก วัยเด็กลดจำนวนลงมาก ผู้สูงวัยมีจำนวนมากยิ่งขึ้น ในเมืองไทยนิยามผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไป ทำให้มีสัดส่วนผู้สูงอายุเร็วขึ้น ในการเตรียมการรองรับหรือแก้ปัญหาสังคมผู้สูงวัยนั้น ญี่ปุ่นอาจจะไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีนักและกำลังประสบปัญหาเช่นกัน แต่อยากให้มีการนำบางส่วนมาปรับใช้ ในภาคประชาสังคมมีการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นการให้บริการดูแลผู้สูงอายุผ่านแอปพลิเคชัน อำนวยการความสะดวกในการส่งผู้เข้ามาดูแลเป็นเพื่อน รวมถึงการซื้อของด้วย

               

ญี่ปุ่นเป็นผู้นำในสังคมผู้สูงวัย เกาหลีใต้มีผู้สูงวัยเพิ่มจำนวนรวดเร็วกว่าญี่ปุ่น ประชากรชาวญี่ปุ่นคนรุ่นใหม่มีธุรกิจอยู่ที่โตเกียว โอซากา ตามหัวเมืองใหญ่มีประชากรสูงขึ้น เช่นเดียวกับเมืองไทย คนจะไหลเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองสำคัญ สังคมยุคเบบี้บูม อายุ 40 ปีขึ้นไป ในภาคอีสานเป็นสังคมผู้สูงอายุ เราจะสร้างสังคมสูงวัยที่มีพลัง สิ่งที่ต้องหนุนเสริมค้ำจุนให้มีหลักประกันทางสังคมและชุมชน การเตรียมการ support สังคมสูงวัย ญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะที่ต้องแบกรับงบประมาณในการดูแลผู้สุงวัย ดังนั้นญี่ปุ่นจึงไม่ใช่ครูที่ดี เพราะมีหนี้สาธารณะ GDP สูงถึง 200% หรือ 2.5 เท่า เท่ากับประเทศกรีซ เราต้องเปลี่ยนวิธีคิด Active Aging กำหนดคนอายุ 65 ปีเป็นผู้สูงอายุ การกำหนดในสหประชาชาติดูพื้นฐานอายุขัยในประเทศพัฒนาแล้ว ขณะนี้คนสูงวัยของญี่ปุ่นวัย 70 ปียังแข็งแรง มีความ Active สูง ภาคชุมชนเมื่อ 8 ปีก่อนมี Great Earth Quake การฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยมาได้มาจากสายใยสัมพันธ์กับคนในชุมชน ประเทศไทยมีคนจำนวน 3 ล้านคนที่เล่าให้คนญี่ปุ่นรับฟัง ทำให้มีอาสาสมัคร ปัจจัยชุมชน สายใยสัมพันธ์สร้างสังคมสูงวัยด้วยพลังโลกดิจิทัล มีหลักประกันทางสังคม

               

ในประเทศกลุ่มเอเชีย ปี 2000-2015 กราฟพุ่งปรี๊ด คุณตาคุณยายในชนบทใช้ Smart phone เป็นการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลในเรื่องสิทธิประโยชน์ แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยี เมื่อมีนิวไฟเบอร์ออปติก โทรศัพท์มือถือ Smart Phone เข้าถึง Digital Dividends สิทธิประโยชน์ได้เวลานี้เราพูดคุยทาง Smart Phone สามารถเห็นหน้าตาคุณตาคุณยายในต่างจังหวัดได้ สามารถขอความช่วยเหลือในขณะอยู่ที่บ้านได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ขอให้เข้ามาช่วยดูแลตามความประสงค์ หรือให้เข้ามาช่วยซื้อของไปเป็นเพื่อน เป็นอูเบอร์ แคริ่ง เซอร์วิส เรามีเทคโนโลยีดิจิทัลใช้งานอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สูงวัยมีพลังในสังคมมากยิ่งขึ้น

               

Dr.Kim Sung-Won The University of Tokyo กล่าวในหัวข้อ “สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของสังคมสูงวัยในเกาหลีใต้” บรรยายเป็นภาษาญี่ปุ่น “ผมมาเมืองไทยเป็นครั้งที่ 2 เพื่อพูดสัมมนา ทุกวันนี้ทำงานอยู่ในมหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น มีคนเกาหลีครึ่งหนึ่งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น เกือบจะกลายเป็นคนญี่ปุ่นแล้ว ผมรู้สึกทึ่งมากที่คนไทยนิยมดารา K-Pop J-Pop ทั้งเพลงและซีรีส์ ละครซีรีส์เกาหลีและญี่ปุ่นสวยหรูดูดี แต่แท้จริงแล้วสังคมเกาหลีและญี่ปุ่นไม่ได้เป็นสังคมสวยหรูดูดีแต่อย่างใด สังคมผู้สูงอายุไม่ได้ร่าเริงอย่างในภาพยนตร์เป็นสังคมที่หม่นหมอง เมืองไทยจะต้องเรียนรู้การเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยจากเกาหลีและญี่ปุ่น

               

ข้อที่น่าสังเกตถึงการที่แต่ละประเทศก้าวเดินสู่สังคมผู้สูงวัยแตกต่างกัน ประเทศอังกฤษใช้เวลาถึง 46 ปี ประเทศเยอรมนีใช้เวลา 42 ปี ประเทศฝรั่งเศสใช้เวลา 114 ปี ประเทศสวีเดนใช้เวลา 82 ปี ญี่ปุ่นใช้เวลา 25 ปี ประเทศเกาหลีทำให้ทั้งโลกตกใจใช้เวลา 18 ปี ส่วนประเทศไทยและเวียดนามใช้เวลา 18 ปี ก้าวจาก 7-14% รวดเร็วมาก มีความหมายว่าการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุรวดเร็วมาก การเตรียมการรับมือในสังคมไทยใช้เวลา 18 ปี ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจรวดเร็วมาก ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน เติบโต

               

ญี่ปุ่นเป็นรุ่นพี่ที่มีผู้สูงวัยเป็นแบบอย่าง ขณะนี้ประเทศเกาหลีใต้กำลังก้าวเดินตามแบบอย่างญี่ปุ่นด้วยการสร้างระบบบำนาญสำหรับประชาชน การรักษาพยาบาล สร้างระบบประกันในการดูแลสุขภาพ แต่สภาพความเป็นจริงในญี่ปุ่นนั้นลำบาก การที่เกาหลีใต้มาเลียนแบบญี่ปุ่นไม่ใช่เรื่องดี การที่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ เลียนแบบประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยความพยายามในการทำสิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่างกว่าที่ญี่ปุ่นได้ทำขึ้นมาด้วยบำนาญภาคประชาชน ญี่ปุ่นใช้ระบบ pension บำนาญประกันสังคม

               

ในปี 2549 มีการจัดตั้งศูนย์สวัสดิการสังคมในชุมชนขึ้น 4 แห่ง เพื่อทำงานขับเคลื่อนสังคมเป็นตัวกลางในการเชื่อมประสานระหว่างผู้สูงอายุและชุมชน ศูนย์สวัสดิการสังคมในชุมชนจึงเป็นทั้งโรงอาหาร ส่งอาหาร ตรวจสุขภาพ จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และยังมีเจ้าหน้าที่คอยประสานกับภาคเอกชนหรือร้านค้าในชุมชน ให้บริจาคเป็นบริการต่างๆ ตัดผม รับประทานอาหารในร้าน มีร้านคาราโอเกะ โดยการใช้คูปองในปี 2558 จึงมีศูนย์สวัสดิการสังคมในชุมชน 454 แห่ง ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเป็นผลสำเร็จ.

 

 

สสส.จับมือกล่องดินสอ เปิดพื้นที่ "เปิดใจ...ให้โดยเฉพาะ" เรียนรู้ เข้าใจ "ประชากรกลุ่มเฉพาะ" คนพิการ ผู้สูงอายุ คนไร้บ้าน เด็กในสถานสงเคราะห์ ผู้ต้องขัง จากผู้รับ...สู่ผู้ให้ ผ่านกิจกรรมศิลปะสองวัยอ่านหนังสือเสียง ฝึกอาชีพ สร้างพลเมืองจิตอาสา

               

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับบริษัท กล่องดินสอ จำกัด เปิดตัวโครงการ “เปิดใจ...ให้โดยเฉพาะ” กิจกรรมส่งต่อการให้ของ "ประชากรกลุ่มเฉพาะ" โดยนางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า สสส.สนับสนุนภาคีเครือข่ายในการจัดกิจกรรมจิตอาสาสำหรับประชากรกลุ่มเฉพาะที่ยังขาดโอกาสหรือถูกละเลย โดยได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการจัดกิจกรรมสำหรับคนทั่วไปที่ต้องการเป็นจิตอาสาให้สำหรับคนกลุ่มนี้ เช่น การสนับสนุนกิจกรรมจิตอาสาสำหรับผู้สูงอายุใน กทม. ดูแล เยี่ยมเยือน รับฟัง ให้คำปรึกษา หรือการทำกิจกรรมศิลปะสองวัย และส่วนที่ละเอียดอ่อนกว่าคือ การสนับสนุนให้ประชากรกลุ่มเฉพาะหรือคนชายขอบเปลี่ยนแปลงตัวเองจากผู้รับเป็นผู้ให้ เช่น การสนับสนุนให้ผู้ต้องขังอ่านหนังสือเสียงจากในเรือนจำและส่งให้คนตาบอด เป็นการทำให้ผู้ต้องขังรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีความภูมิใจว่าตนเองสามารถทำประโยชน์ให้กับผู้อื่นต่อได้ และยังเป็นการสร้างมุมมองใหม่ๆ ให้สังคมเห็นคุณค่า และเสริมสร้างศักยภาพของกลุ่มคนชายขอบอีกด้วย

               

นายฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้จัดตั้ง บริษัท กล่องดินสอ จำกัด ผู้จัดทำโครงการ ให้...โดยเฉพาะ กล่าวว่า โดยปกติแล้วประชากรกลุ่มนี้มักจะเป็นผู้รับ หรือมีอาสาสมัครจากบุคคลกลุ่มต่างๆ ในสังคมทำกิจกรรม หรือนำสิ่งของมามอบให้เท่านั้น สำหรับโครงการนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้รับได้เป็นผู้ให้ผ่าน 7 กิจกรรม อาทิ อ่านหนังสือเสียงของผู้ต้องขังเพื่อส่งมอบให้คนพิการทางสายตา มีผู้ต้องขังและนักเรียน นิทานหุ่นมือ จัดแสดงละครหุ่นมือ กิจกรรมเรียนรู้การดูแลสิ่งแวดล้อม การแยกขยะ กิจกรรมศิลปะ สองวัย และผู้สูงอายุฝึกอาชีพให้กับคนไร้ที่พึ่ง รวมผู้เข้าร่วมจากทุกกิจกรรมจำนวน 590 คน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม คนไร้ที่พึ่ง ทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ให้กับหน่วยงาน ชุมชนด้วย

               

“เพราะเราเชื่อมั่นว่า การให้ไม่มีสิ้นสุด และไม่ถูกจำกัดด้วย สถานะบุคคลใดๆ วงจรแห่งการให้ที่ส่งต่อมากกว่าสิ่งของ แต่ส่งต่อความรู้สึก น้ำใจ ความภาคภูมิใจของผู้ให้ และความสุขใจของผู้รับ” นายฉัตรชัยกล่าว

               

สำหรับ งานเปิดใจ...ให้โดยเฉพาะ จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-23 มีนาคม 2562 เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น. ณ สวนครูองุ่น ซอยทองหล่อ (สุขุมวิท 55) บรรยากาศในงานมีการเปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของประชากรกลุ่มเฉพาะ ตลอดทั้ง 2 วัน มีภาคีเข้าร่วมจัดแสดงและเข้าร่วมวงเสวนาจากองค์กรต่างๆ อาทิ ทัณฑสถานหญิงธนบุรี, กลุ่มผู้สูงอายุ Young Happy, สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชาย/หญิงธัญบุรี, กลุ่มละครพระจันทร์เสี้ยว, Art by Heart Bangkok, สถานแรกรับเด็กหญิงบ้านธัญพร, ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุจังหวัดปทุมธานี รวมทั้งการแสดงกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยกลุ่มอาสาคนพิการ การแสดงกิจกรรมนิทานหุ่นมือจากอาสาสมัครในโครงการ วงดนตรีสานใจคอรัส (กลุ่มนักดนตรีผู้สูงอายุ) นวดออฟฟิศซินโดรม คอ บ่า ไหล่ โดยทัณฑสถานหญิงธนบุรี.

 

 

 

แกลลอรี่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"