กรอ.เร่งพัฒนาขอรง.4ผ่านอีไลเซนส์


เพิ่มเพื่อน    

 โรงงานเฮ! กรอ.เร่งพัฒนาระบบออนไลน์ พิจารณาออกใบ ร.ง.4 ผ่านอี-ไลเซนส์ คาดเป็นรูปธรรมปี 63 สร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน ชี้ พ.ร.บ.ใหม่ โรงงานขนาดเล็ก 7 หมื่นแห่งยังถูกตรวจสอบสิ่งแวดล้อมเข้มงวดเหมือนเดิม

29 เม.ย. 62- นายทองชัย  ชวลิตพิเชฐ  อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างการพัฒนาจัดทำระบบออกใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ (อี-ไลเซนส์) ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)  ซึ่งเป็นระบบการออกใบอนุญาตแบบออนไลน์ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ และสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน คาดว่าระบบอี-ไลเซนส์จะสามารถนำมาใช้เป็นรูปธรรมได้ภายในปี 63 ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

“เรามีนโยบายที่ชัดเจน ในการสร้างความเชื่อมั่นกับนักลงทุนที่จะตั้งโรงงาน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ลดขั้นตอนในการขอใบอนุญาต โดยปัจจุบันได้จัดทำคู่มือและรายละเอียดเอกสารขั้นตอนต่าง ๆ ครบถ้วน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ทั้งนี้ยังได้ประกาศไม่ให้มีการรับผลประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามในอดีตที่ผ่านมาการพิจารณา ร.ง.4 จะใช้เวลาค่อนข้างนาน แต่ปัจจุบันนี้ได้พัฒนาและลดขั้นตอนที่รวดเร็ว หากเอกสารครบและถูกต้อง จะใช้เวลาการพิจารณาไม่เกิน 30 วันและหากนำระบบอี-ไลเซนส์มาใช้ก็จะยิ่งรวดเร็วและตรวจสอบได้ง่ายอีกด้วย” นายทองชัย กล่าว 

ทั้งนี้ ผลของการปรับลดขั้นตอนในการอนุญาตใบ ร.ง.4 รวมถึงนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ทำให้สถานการณ์การขอใบอนุญาต ร.ง.4 มีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 23 เม.ย. 62 มียอดประกอบกิจการใหม่และขยายกิจการ ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มสูงถึง 68% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหรือกว่า 60,000 ล้านบาท ขณะที่การจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นประมาณ 10% หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 5,000 คน โดยอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการลงทุนสูงในช่วงดังกล่าว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมอาหาร

นายทองชัย กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับใหม่)  ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เช่น ระบุว่าอาจเกิดผลกระทบจนทำลายระบบสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยเฉพาะประเด็นของโรงงานขนาดเล็กที่มีเครื่องจักรกำลังต่ำกว่า 50 แรงม้าและมีคนงานต่ำกว่า 50 คนประมาณ 70,000 แห่ง ไม่ถือเป็นโรงงาน และจะทำให้ไม่มีการเข้าควบคุม ดูแล กวดขัน เฝ้าระวัง ตรวจติดตามตามกฎหมายอีกต่อไป ขอชี้แจงว่าโรงงานขนาดเล็กในปัจจุบันก็ยังอยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายอื่น ๆ อีกมาก เช่น กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร  กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น

“พ.ร.บ.โรงงาน (ฉบับใหม่) เป็นประโยชน์แก่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องมลพิษ จะช่วยสร้างความโปร่งใส และเรื่องของการตรวจสอบนั้น ขอให้มั่นใจว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงมีการตรวจสอบที่เข้มงวดเหมือนเดิม” นายทองชัย กล่าว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"