'ดร.ธรณ์' ชี้ปะการังฟอกขาวปีนี้มาเร็ว เหตุน้ำทะเลร้อนถึง 31 องศา


เพิ่มเพื่อน    

2 พ.ค.62 - ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัวถึงสถานการณ์อุณหภูมิน้ำในทะเลสูงขึ้นส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อแนวปะการังว่า น้ำร้อนแล้วครับ เริ่มมีรายงานปะการังฟอกขาวเข้ามาบ้างแล้ว อุทยานฯสิรินาถ ภูเก็ต ตอนนี้มีรายงานว่าในพื้นที่มีปะการังฟอกขาวแบบเห็นชัดแล้ว 50% อุณหภูมิน้ำ 31 องศา

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า ปะการังฟอกขาวเกิดจากภาวะผิดปกติ เมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นมาก ปกติน้ำทะเล 27-29 องศา แต่เมื่อน้ำร้อนถึง 31 องศาขึ้นไป เริ่มเข้าสู่ช่วงเสี่ยงตอนนี้น้ำทะเล 31-32 องศาในบางพื้นที่ ถือว่าเข้าภาวะเสี่ยงแล้ว ปะการังจะปล่อยสาหร่ายเซลล์เดียวที่อยู่ในเนื้อเยื่อออกไป ทำให้สีของปะการังซีดลง หากเป็นมากอาจกลายเป็นสีขาวคือ สีของหินปูนที่เป็นโครงสร้างปะการัง ปะการังฟอกขาวจะขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ อุณหภูมิน้ำสูงแค่ไหน ? ร้อนนานแค่ไหน ? และมีแสงแดดมากหรือแรงแค่ไหน ? หากรุนแรงหรือยาวนาน 3-5 สัปดาห์ปะการังอาจตาย และกลายเป็นเศษหักพังก่อนย่อยสลายไป นอกจากนี้ยังขึ้นกับสายพันธุ์ของปะการัง บางสายพันธุ์อาจทนได้ดี หรือมีการฟื้นตัวที่ดี

"ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นผลสืบเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรงขึ้น ทำให้ปะการังฟอกขาวเริ่มเกิดถี่ขึ้น นักวิทยาศาสตร์หลายชาติทำนายว่า จะเกิดถี่ในระดับ 6 ปีครั้ง อย่างไรก็ตามอาจเกิดเร็วกว่านั้น เช่น ออสเตรเลียโดนถึง 2 ครั้งติดกัน เมื่อปะการังตายจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำ แน่นอนว่าจะส่งผลต่อการใช้ประโยชน์ เช่น การท่องเที่ยว การประมง"

นักวิชาการทางทะเล กล่าวอีกว่า ในปี 2558 เกิดปะการังฟอกขาวรุนแรงในบางพื้นที่ของไทย เคราะห์ดีที่มีฝนตกติดต่อกันในช่วงปลาย ทำให้อุณหภูมิน้ำลดลง และทำให้แสงแดดมีน้อยลงมาก ปะการังในหลายพื้นที่ยังมีการฟื้นตัวที่ดีมาก เช่น หมู่เกาะพีพี ทำให้ปะการังตายมีจำนวนน้อยมาก ในหลายพื้นที่ เช่น ออสเตรเลีย มัลดีฟส์ ปะการังไม่ได้มีการฟื้นตัวเหมือนไทย ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรง ข้อมูลล่าสุดพบว่า ปะการังฟอกขาวในปี 58 ทำให้ปะการังในเกรทแบริเออร์รีฟตายถึง 30% โดยเฉพาะในตอนบน (ตั้งแต่ port douglas ขึ้นไป มีไซต์งานในอดีตที่ผมทำเคยทำ 3 แห่ง) หลังจากนั้น ยังมีการฟอกขาวซ้ำในปีถัดมา ทำให้เกิดปะการังตายในอีกบางพื้นที่ แม้ในปัจจุบัน หลายแห่งก็ยังไม่ฟื้นตัว หรือฟื้นตัวน้อย พื้นที่ควรติดตามอย่างใกล้ชิด น่าจะคล้ายคลึงกับพื้นที่เคยเกิด เช่น รอบเกาะภูเก็ต พีพี ตรัง หมู่เกาะสุรินทร์ (ในอดีตเคยเกิดครั้งใหญ่จนปะการังตายจำนวนมาก เพิ่งจะเริ่มฟื้น)

นอกจากนี้ ตามอ่าวต่างๆ ที่น้ำตื้น น้ำไหลเวียนไม่ค่อยดี เช่น อ่าวมาหยา ในช่วงเวลาน้ำตาย (พระจันทร์ครึ่งดวง) อาจทำให้น้ำร้อนแช่นาน ต้องติดตามปะการังที่ไปฟื้นฟูกันไว้ข้อมูลกระแสน้ำที่ม.เกษตรศาสตร์ทำไว้ในอ่าวมาหยา ชี้ให้เห็นว่า น้ำในช่วงนั้นจะแช่นานหน่อยครับ โดยสรุปแล้ว ที่น่าเป็นห่วงคือปีนี้เกิดเร็วหน่อย แค่เข้าต้นเดือนพฤษภาคมก็เริ่มฟอกบางจุดแล้ว ปีที่ผ่านมา ปะการังเริ่มฟอกขาวปลายเดือนพฤษภาคม เรามีฝนเข้ามาช่วย ทำให้แดดน้อยลง คลื่นพัดไปมา ช่วยให้น้ำไหลเวียนดี ฝนยังช่วยทำให้อุณหภูมิน้ำต่ำลงอย่างรวดเร็ว แต่ปีนี้มาเร็ว แม้ฝนอาจเริ่มเข้าภาคใต้บ้าง แต่อาจไม่ต่อเนื่อง ต้องคอยช่วยกันลุ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"