“บัญญัติ” นั่งปธ.รัฐสภา???


เพิ่มเพื่อน    

  นอกจากประเด็นต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี ยังมีกรณีของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่รุงรัง ว่าค่ายใดจะได้ขึ้นคลุมบัลลังก์ดังกล่าว แม้จะเป็นเก้าอี้ที่สำคัญและสามารถเป็นเกียรติประวัติให้แก่ผู้นั้นได้ แต่ขณะนี้ดูเหมือนผู้ที่ตกเป็นข่าวยังแบ่งรับแบ่งสู้

                ล่าสุด “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง นายกรัฐมนตรีและประธานสภาผู้แทนราษฎร” พบว่า บุคคลที่อยากจะสนับสนุนให้เป็นประธานสภาฯ มากเป็นอันดับ 1 คือ นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ถึงร้อยละ 29.92 รองลงมา อันดับ 2 ระบุว่า ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ/ไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 19.37 และอันดับ 3 นายบัญญัติ บรรทัดฐาน จากพรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 16.19

                สำหรับนายสุชาติ ตันเจริญ จากพรรคพลังประชารัฐ ที่ประกาศตัวชัดว่าต้องการเป็นประธานรัฐสภานั้น ตกไปอยู่ที่อันดับ 7 ส่วนนายวิรัช รัตนเศรษฐ (พรรคพลังประชารัฐ) ได้อันดับ 8

                อย่างไรก็ตาม นายชวนออกมาปฏิเสธเป็นที่เรียบร้อย เพราะเคยเป็นประธานรัฐสภามาแล้วเมื่อปี 2529

                ด้าน “บัญญัติ บรรทัดฐาน” กรรมการสภาที่ปรึกษา ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา ว่า “ถือเป็นตำแหน่งที่น่าสนใจ แต่สำหรับตัวผมเองพูดไว้ตรงนี้เลยว่าใจจริง ขณะนี้ผมอยากอยู่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรธรรมดามากกว่าที่จะขึ้นไปนั่งเป็นประธานสภา เพราะคิดว่าจะได้มีความคล่องตัวในการไปไหนมาไหนมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางไปดูปัญหาของราษฎร ซึ่งทุกวันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีปัญหามากเกือบจะทุกกลุ่มสาขาอาชีพ โดยเฉพาะพื้นที่ในชนบท ผมยังนึกอยากมีความคล่องตัวตรงนี้ เพราะได้ปรึกษาหารือกับเพื่อนส.ส.ในพรรคหลายคนว่า เราน่าจะร่วมกันทำในหน้าที่นี้ คือลงไปดูปัญหาของราษฎรให้ทั่วถึงตามสมควร เพื่อนำมาคิดแก้ไข อีกทั้งภารกิจในการร่วมมือกับหัวหน้าพรรคคนใหม่ในการฟื้นฟูพรรค ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญอยู่ เพราะบรรดาแฟนพันธุ์แท้และสมาชิกทั้งหลายฝากความหวังเอาไว้มาก เลยคิดว่าอยากเป็นส.ส.ธรรมดามากกว่า แต่ท้ายที่สุดถ้าเพื่อนพรรคการเมืองต่างๆ ยังเห็นว่าตำแหน่งนี้ยังประสงค์จะให้คนของพรรคประชาธิปัตย์ไปดำรงตำแหน่ง ผมก็มีความมั่นใจว่าในพรรคของเรามีคนหลายคนที่พร้อมขึ้นทำหน้าที่นี้ได้ดีแน่นอน”

                โดยหลายคนในพรรคมองว่าท่าทีดังกล่าวเป็นการแบ่งรับแบ่งสู้ และไม่ได้ปฏิเสธเสียทีเดียว ซึ่งบางครั้งอาจจะกำลังตัดสินใจอยู่ก็เป็นได้ เพราะจะต้องชั่งน้ำหนักเป็นอันมาก ด้วยประสบการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมาได้เห็นบทเรียนต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเหตุการณ์ของ พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ ที่ครั้งนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่แต่งชุดขาวรอเก้อ แต่กลับได้ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีแทน 

                ถ้าซ้ำรอยกับการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือกับ “บัญญัติ” ขึ้นมาจะเสียรังวัดได้ เพราะเจ้าตัวอุตส่าห์รักษาอุณหภูมิการเมืองของตัวเองตลอดมาเป็นอย่างดี ฉะนั้น หากที่สุดเกิดเกมพลิกขึ้นมาจะกลายเป็นความเสียหายและติดเป็นประวัติ

                รวมทั้งจากเหตุการณ์ในสภาที่ผ่านๆ มานั้น ต้องชั่งใจว่าจะเป็นเกียรติเป็นศรีกับประวัติการทำงานของตัวเอง หรือจะขึ้นบัลลังก์แล้วโดนฝ่ายตรงข้ามชี้หน้าด่า ขว้างแฟ้ม หรือฉุดกระชากเก้าอี้เหมือนสมัยที่ “ค้อนตราดูไบ” สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นคงภาพไม่สวยนัก

                อย่างไรก็ตาม การเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร จะเป็นการสะท้อนเสียงในการจัดตั้งรัฐบาล พรรคไหนรวมกับใครบ้าง จนโหวตคนของฝ่ายตนเองชนะได้ครองเก้าประธานสภาฯ  แสดงว่าฝ่ายนั้นจะเป็นเสียงข้างมากในสภา ดังนั้น ในวันที่ 25 พ.ค.ที่กำลังจะมาถึง บอกได้คำเดียวว่า “ห้ามกะพริบตา”.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"