บอร์ดอีอีซีไม่รับข้อเสนอกิจการค้าร่วมธนโฮลดิ้งฯ ส่งเอกสารสนามบินอู่ตะเภาไม่ทันเวลา


เพิ่มเพื่อน    

 

2 ก.ค.2562 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือบอร์ด อีอีซี เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการอีอีซี ครั้งที่ 7/2562 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าขั้นตอนการดำเนินงานโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตอีอีซี รวม 3 โครงการ โดย 1 ใน 3 โครงการ คือ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งบอร์ดอีอีซีรับทราบและเห็นด้วยกับความเห็นของคณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่มีมติยืนไม่รับพิจารณาข้อเสนอกล่องที่ 6/10 และกล่องที่ 9/10 ของกลุ่มกิจการค้าร่วมธนโฮลดิ้งฯ เนื่องจากยื่นหลังกำหนดเวลาตามเอกสารการคัดเลือกเอกชน โดยจะทำการแจ้งผลต่อกลุ่มกิจการค้าร่วมธนโฮลดิ้งฯ ต่อไป 

"ตอนนี้ต้องรอการพิจารณาของศาลปกครองพิจารณาคำร้องของกลุ่มกิจการค้าร่วมธนโฮลดิ้งฯ ว่า การยื่นข้อเสนอกล่องที่ 6/10 และกล่องที่ 9/10 ของกลุ่มฯ ไม่ได้ล่าช้า แม้จะยื่นล่าช้าไป 9 นาที จากกำหนดเวลาสิ้นสุด 15.00 น. โดยกลุ่มธนโฮลดิ้งฯ ยื่นเมื่อเวลา 15.09 น. หากศาลปกครองมีคำตัดสินใดๆ ออกมา ทางสำนักงานอีอีซีจะเดินหน้าต่อไป หากพิจารณาว่าการยื่นข้อเสนอไม่ยื่นล่าช้า ก็จะเปิดข้อเสนอ และนำไปสู่การประกาศผู้ชนะการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออกต่อไป"นายคณิศ กล่าว

ขณะที่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กพอ.รับทราบ ผลการดำเนินงานเพื่อเตรียมการลงนามสัญญาร่วมทุน ได้แก่ 1.การจัดทำเอกสารแนบท้ายร่างสัญญาร่วมลงทุน เรื่องทางเทคนิค การเงิน และกำหนดรายละเอียดเพื่อตรวจสอบหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายรัฐที่ต้องดำเนินการเป็นการเฉพาะ 2.การเสนอรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม รฟท. รับความเห็นของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประเด็นมาตรการป้องกันลดผลกระทบการเดินรถไฟ ฯ การดำเนินงานศูนย์ร้องเรียน และสอบถามความวิตกกังวลของผู้ได้รับผลกระทบ เป็นต้น 

3.การจัดตั้งหน่วยงานบริหารสัญญาโครงการฯ และ4.การจัดทำแผนส่งมอบพื้นที่ ทั้งนี้ จะกำหนดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ ได้ภายในเดือนก.ค. 2562 นี้ ขณะเดียวกันที่ประชุมรับทราบ ความเห็นของกรรมการ กพอ. ต่อร่างสัญญาร่วมลงทุน และคำชี้แจงของ กนอ. ต่อร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ช่วงที่ 1 และจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อทราบต่อไป 

นอกจากนี้ยังได้สรุปผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ในรอบ 2 ปี ที่ผ่านมาว่า มีเรื่องพิจารณา 17 ครั้ง อนุมัติเรื่องสำคัญรวม 52 เรื่อง มีการประชุมในปี 2560 (ชื่อเดิม) คณะกรรมการนโยบายพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) จำนวน 3 ครั้ง , ปี 2561 การประชุม แบ่งเป็น กนศ. จำนวน 3 ครั้ง และกพอ.จำนวน 5 ครั้ง , ปี 2562 การประชุม กพอ. จำนวน 6 ครั้ง  

โดยมีสาระสำคัญ ๆ อาทิ 1.เห็นชอบแผนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ซึ่งมี 8 แผนงาน เห็นชอบหลักการจัดทำข้อเสนอกรอบขั้นตอนการเร่งรัดอนุมัติโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนในพื้นที่อีอีซี (PPP EEC Track) เป็นต้น 2.เห็นชอบหลักการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยพื้นที่ตลอดแนวโครงการตั้งแต่สนามบินดอนเมืองถึงสนามบินอู่ตะเภา เป็น “เขตส่งเสริม”เห็นชอบแนวทางพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะน่าอยู่ แผนการพัฒนาเมืองใหม่อัจฉริยะตัวอย่าง 

3.เห็นชอบแผนภาพรวมการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รับทราบความก้าวหน้าโครงการของอีอีซี เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ศูนย์ซ่อมบำรุงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 และโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และ 4.รับทราบโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผ่านความเห็นชอบการประเมินผล EIA และรับทราบผลการประชุม ครม.เห็นชอบการคัดเลือก ผลการเจรจาและร่างสัญญาโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"