ส.ว.พร้อมแถลงนโยบายรัฐบาล'ครูหยุย-หมอเจตน์'ห่วงได้เวลาจ้อน้อย


เพิ่มเพื่อน    

22 ก.ค.62- ที่อาคารสุขประพฤติ ถนนประชาชื่น สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา จัดสัมมนาสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการแถลงนโยบายของรัฐบาล  วันที่ 25 - 26 ก.ค. โดยนายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ส.ว. กล่าวว่า ไม่มั่นใจว่าการจัดสรรเวลาให้อภิปรายนโยบายของรัฐบาล จำนวน 2 วันจะเพียงพอหรือไม่ เพราะเวลาที่กำหนดและรับทราบ ไม่รวมเวลาที่จะต้องประท้วงของ ส.ส. แต่ละฝ่าย รวมถึงไม่นับรวมเวลาที่นายกฯ นำเสนอนโยบายและผู้นำฝ่ายค้านอภิปรายเปิดและอภิปรายปิด ดังนั้น จึงกังวลว่าเมื่อเวลาใกล้หมด ส.ว.ที่อยู่ในลำดับอาจไม่ได้สิทธิอภิปรายหรือไม่ อย่างไร

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว. กล่าวว่า หากเทียบเกณฑ์อภิปรายของ ส.ว. ในการอภิปรายรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศ เมื่อวันที่ 8 ก.ค. มี ส.ว. อภิปรายทั้งสิ้น 45 คน และได้เวลาคนละ 8 นาที ทำให้มีเวลาอภิปรายรวมทั้งหมด เกือบ 6 ชั่วโมง ดังนั้น หากยึดหลักการดังกล่าวในการอภิปรายนโยบายรัฐบาลต้องได้เวลาเกินกว่า 5 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 23 ก.ค. นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา จะเรียกตัวแทนของ 3 ฝ่าย คือ วิปฝ่ายค้าน วิปฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว. หารือ ขอให้ทบทวนการจัดสรรเวลาดังกล่าวให้เพียงพอต่อการอภิปรายของส.ว.ด้วย อย่างไรก็ตาม ในหลักการของการอภิปรายนโยบายรัฐบาลนั้น เวลาที่นายกฯนำแถลงนโยบาย และเวลาที่ผู้นำฝ่ายค้านอภิปรายนั้นจะไม่นำมานับรวมกับเวลาการอภิปรายที่กำหนดไว้ดังกล่าว แต่ที่ตนกังวลคือการประท้วง

“ผมอ่านข่าวเห็นว่ารัฐบาลตั้งองครักษ์พิทักษ์รัฐมนตรี ประมาณ 20 - 30 คน เพื่อตอบโต้ฝ่ายค้านที่จะอภิปรายตัวบุคคล โดยหลักการและกฎหมายการแถลงนโยบายรัฐบาลไม่ใช่การอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวบุคคล แต่เชื่อว่าฝ่ายค้านจะอดไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นห่วงคือจะใช้เวลามาก ต่อให้จัดประชุม 3 วันอาจไม่พอ ผมเชื่อว่าในวันที่ 26 ก.ค. การอภิปรายต้องจบภายในเวลาเที่ยงคืน” นพ.เจตน์ กล่าว​

นพ. เจตน์ กล่าวด้วยว่า ส.ว.ไม่มีหน้าที่อภิปรายสนับสนุนหรือปกป้องตัวบุคคล เว้นแต่อภิปรายถึงผลงานที่ผ่านมาว่าทำได้ดีอย่างไร แต่ไม่สามารถอภิปรายว่าที่ผ่านมาทำไม่ดี เนื่องจากเป็นหน้าที่ของส.ส.พรรคฝ่ายค้าน และ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลที่จะดำเนินการ ดังนั้นส.ว.ควรเน้นนโยบายในเชิงให้ข้อเสนอแนะแบบผู้ใหญ่ โดยพิจารณาจากนโยบายของรัฐบาลใน 4 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นสัญญาว่าจะทำ ว่าเหมาะสมหรือขาดอะไรบ้าง ทั้งนี้ตนเชื่อว่าเมื่อวางหลักการดังกล่าวจะทำให้การประชุมกลับมาพิจารณาเรื่องนโยบายและลดกระแสการอภิปรายรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลใด 

ขณะที่พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ส.ว. กล่าวว่า นโยบายของรัฐบาลที่จัดทำครอบคลุมและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ ส่วนที่กำหนดเป็นแผนทำงานเร่งด่วน จำนวน 15 เรื่องนั้น ทราบว่าเป็นเรื่องที่ ครม.ชุดเก่า รับทราบไว้เท่านั้น ยังไม่มีมติหรือประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้นทำให้ครม.ชุดใหม่สามารถปรับปรุงได้ และเป็นช่วงของการตั้งไข่ ทั้งนี้ในแผนปฏิรูปหลายๆ ด้านพบว่ามีหลายประเด็นที่ไม่คืบหน้า ซึ่งส.ว.สามารถอภิปรายรายละเอียดได้ เช่น ด้านการเมืองที่รัฐบาลไม่สามารถเข้าควบคุมหรือกำกับหน่วยงานที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับ เช่น สถาบันพระปกเกล้า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นต้น ทั้งนี้ แผนการปฏิรูปทุกแผนต้องเสร็จสิ้นภายในปี 2565 หรือภายในสมัยรัฐบาลปัจจุบัน รวมถึงงบประมาณที่จัดสรรจะเหมาะสมหรือไม่ นอกจากนั้น ส.ว.สามารถตั้งประเด็นอภิปรายที่สำคัญ คือ การปฏิบัติที่สอดคล้องกับแผนแม่บท แผนปฏิรูป นโยบายรัฐบาลและงบประมาณที่จะใช้
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"