ในคู่มือสร้างนวัตกรรมเปลี่ยนโลก มีอะไรดีๆ ที่พ่อแม่ต้องซื้อมาอ่าน


เพิ่มเพื่อน    

เคยสงสัยไหมว่า เด็กทั่วโลกมีความคิดสร้างสรรค์ลดลง ตัวการสำคัญคือชั่วโมงที่เด็กๆ ใช้อยู่หน้าโทรทัศน์และเล่นวิดีโอเกมแทนที่จะทำกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์อื่นๆ ขณะเดียวกันโรงเรียนไม่มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ กลายเป็นเรื่องแล้วแต่บุญแต่กรรม หากเด็กคนไหนจะมีความคิดสร้างสรรค์ก็ไม่คิดที่จะช่วยกันบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กๆ

 

โรงเรียนหลายแห่งในประเทศฟินแลนด์มีระบบการศึกษาดีที่สุดในโลก ได้รับการยกย่องว่าช่วยสร้างเศรษฐกิจที่มีนวัตกรรมสุดยอดแห่งหนึ่งของโลก ทำอย่างไรนายจ้างที่ดีที่สุดจะพัฒนาขีดความสามารถของคนรุ่นใหม่ให้กลายเป็นนวัตกรที่ประสบความสำเร็จหลายสาขา ทั้งวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน นักดนตรี ล้วนเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง

 

ประเทศจีนบังคับให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งสอนทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศจีนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อลดความสำคัญของการสอบมาตรฐาน และสอนด้านความคิดสร้างสรรค์ให้มากขึ้น ถ้าเราต้องการรักษาความสามารถในการแข่งขันระดับโลกในปัจจุบันให้ได้ ก็ต้องผลิตผู้ประกอบการและนวัตกรให้มากกว่าจำนวนเพียงหยิบมือ บริษัทที่ติดอันดับ 25 อันดับแรก (ในการแข่งขันระดับนานาชาติและขีดความสามารถด้านนวัตกรรม) ส่วนใหญ่ตั้งอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกา

 

ในสหรัฐอเมริกา นวัตกรรมไม่เพียงเปลี่ยนชีวิตเราเท่านั้น มันคืองานของเราด้วย เราต้องคิดค้นนวัตกรรม ให้การศึกษา และสร้างสิ่งต่างๆ ให้มากกว่าประเทศอื่นๆ ในโลกให้ได้ นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษที่ 21 จะเป็นนวัตกรรมที่ช่วยตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์มากกว่านวัตกรรมที่ทำกำไรสูงสุด ร้อยละ 90 เชื่อว่านวัตกรรมจะเป็นเครื่องมือหลักของเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 

นวัตกรสะเต็มต้องการแรงหนุนจากผู้ใหญ่รอบตัว

ฝึกฝนความเชี่ยวชาญสู่ความรับผิดชอบสังคมโลก

 

นวัตกรสะเต็มต้องการแรงสนับสนุนชนิดพิเศษจากผู้ใหญ่รอบตัว บทบาทสำคัญขององค์กรไม่แสวงหากำไรในการเสริมสร้างนวัตกรรมและการประกอบการสังคม มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่พยายามปรับตัวโดยการพลิกวิกฤติภัยธรรมชาติให้กลายเป็นโอกาสทบทวนพันธกิจของสถาบันในศตวรรษที่ 21

 

ลอราเป็นลูกสาวคนโตของดอนและเจน ไวต์ เธอเติบโตแถบชานเมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย  ตอนเป็นอาจารย์สอนวิศวกรรมโยธาที่สถาบันเทคโนโลยีจอร์เจีย ลอราเริ่มสนใจการแข่งขันว่ายน้ำตอน 10 ขวบ และทำได้ค่อนข้างดี เธอติดอันดับ 6 ของรัฐในการว่ายท่าผีเสื้อตอนอายุ 12 ปี ในปีแรกที่เข้า รร.มัธยมปลายท้องถิ่นของรัฐเมื่ออายุ 14 ปี มีหลายอย่างเปลี่ยนอนาคตที่ลอราเคยวาดไว้อย่างลึกซึ้ง

 

ในช่วงกลางวันลอรานั่งกินข้าวกลางวันโต๊ะเดียวกับแทมมี (นามสมมติ) และสังเกตว่าแทมมีไม่เคยนำอาหารกลางวันมาเลย และยังไม่เคยร่วมกิจกรรมหลังเลิกเรียนสักครั้ง ลอรามาทราบทีหลังเมื่อยังไม่สายเกินไปว่า แทมมีไม่มีบ้าน เธอจึงเริ่มแบ่งอาหารกลางวันให้ “การได้รู้จักแทมมีเปลี่ยนความรู้สึกเรื่องสิ่งที่ฉันต้องรับผิดชอบต่อโลกใบนี้  ฉันเริ่มรู้สึกว่าต้องทำเพื่อคนอื่น ไม่ใช่แค่ว่ายน้ำเพื่อตัวเอง ฉันเริ่มทำงานอาสาสมัครเป็นประจำ บ่ายวันหนึ่งฉันไปเป็นอาสาสมัครพาเด็กชุมชนแออัดของเมืองแอตแลนตา ไปตั้งแคมป์และมีคนขอให้ช่วยคุมเด็กว่ายน้ำไปทะเลสาบ ครั้งนั้นเกือบมีคนจมน้ำและฉันต้องช่วยเด็กๆ 5 คนขึ้นมาซึ่งน่ากลัวมาก ฉันรู้สึกอย่างแรงกล้าว่าเด็กๆ ต้องเรียนว่ายน้ำ”

             

“มีคนขอให้เราแนะนำแฮนด์ส-ออนแอตแลนตาเกี่ยวกับโครงการเยาวชน เราเชิญวิทยากรมาบรรยายเรื่องการบริการชุมชนและปัญหาสังคมในแอตแลนตา และทำโครงการบริการชุมชนหลายโครงการ ทุกคนต้องวางแผนโครงการบริการชุมชนสำหรับวันบริการเยาวชนประจำชาติและสากล ฉันกับเพื่อนๆ ที่ว่ายน้ำด้วยกันพอมีทักษะที่อาจเป็นประโยชน์ ฉันเลยจัดเวลาหนึ่งวันให้เพื่อนๆ มาสอนว่ายน้ำให้เด็กด้อยโอกาสในแอลแลนตา”

             

โครงการธุรกิจเยาวชนเป็นโครงการที่น่าทึ่งมาก องค์กรอโชกา (บิล เดรย์ตัน ก่อตั้งปี 1980 ปัจจุบันเป็นองค์กรระหว่างประเทศชั้นนำที่ส่งเสริมการประกอบการสังคม มีเครือข่ายและโครงการอื่นๆ จำนวนมากคอยสนับสนุน) เริ่มโครงการนี้ขึ้นหลังจากได้รู้ว่าเครือข่ายของเขาล้วนมีประสบการณ์เป็นผู้นำโครงการหรือธุรกิจสมัยเด็ก เป็นก้าวสำคัญที่จะสร้างโลกให้มีผู้ประกอบการสังคมและผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น กีฬาของลอราคืองานบริการชุมชน บางคนฮึกเหิมในการแข่งขัน การแข่งขันว่ายน้ำทำให้ลอราเครียด ลอราได้ฝึกวินัย สมาธิ และการบริหารเวลาจากการว่ายน้ำ

             

ลอราเริ่มสวิมฟอร์ซักเซสส์ โดยไม่รู้ว่าปัญหาไหนที่จำเป็นต้องจัดการมากที่สุด มันไม่ใช่แค่เรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำ แต่คือการหาอาสาสมัครที่มีภูมิหลังไม่เหมือนกันได้เข้าใช้สระว่ายน้ำของมหาวิทยาลัย มีโอกาสฝึกฝนจนเก่งกีฬาและมีโอกาสขอทุนการศึกษา ถ้าขณะนั้นมีคนสอนให้รู้จักการวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบจะเป็นประโยชน์มาก

             

มีนักศึกษาดนตรีของมหาวิทยาลัยทูเลนทำงานกับครูสอนดนตรีที่ รร.รัฐบาลแห่งหนึ่งในเมืองนิวออร์ลีนส์ และทราบว่าโครงการร้องประสานเสียงมีเงินสนับสนุนไม่พอ และต้องการอาสาสมัครเพิ่ม ข้อเสนอของเขาคือให้นักศึกษาดนตรีที่ทูเลนร่วมมือกับเด็กๆ ที่ รร.ซ้อมและจัดการแสดงร่วมกันเพื่อระดมทุน นักศึกษาอีกคนทำงานอยู่ใน รร.ที่มุ่งเน้นเรื่องเพิ่มคะแนนสอบให้เด็กที่ได้คะแนนไม่ดี โดยไม่สนในเด็กที่คะแนนดีอยู่แล้ว เธอพัฒนาหลักสูตรติวเข้มหลังเลิกเรียนขึ้นสำหรับเด็กเรียนดี

 

การส่งต่อความดีสู่ชุมชน

มัลคอล์ม แกลดเวลล์ เขียนใน The Outliers (สัมฤทธิ์พิศวง) หนังสือเล่มล่าสุดของเขาถึงความสำคัญของการทำอะไรบางอย่างเป็นเวลา 10,000 ชั่วโมง เพื่อฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ สิ่งที่ผลักดันให้คนอย่าง บิล เกตส์ สตีฟ จ๊อบส์ หรือมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ใช้เวลากว่า 10,000 ชั่วโมงสมัยยังหนุ่มเพื่อฝึกฝนตัวเองจนกลายเป็นปรมาจารย์ พวกเขาทั้งสามล้วนไม่มีแม่ที่เลี้ยงลูกอย่าง “แม่เสือ” ด้วยการขู่เข็ญ ติดสินบนให้ลูกทุกคนฝึกเขียนโปรแกรมจนดึกดื่น สิ่งที่ชายทั้งสามคนนี้มี่คือความหลงใหล สิ่งที่แยกผู้ประกอบการที่สำเร็จและล้มเหลวออกจากกันครึ่งต่อครึ่งเลย คือความอุตสาหะล้วนๆ ดังนั้นคุณต้องมีไอเดีย หรือไม่ก็ปัญหาหรือข้อผิดพลาดที่คุณกระตือรือร้นจะแก้ไขก่อน ไม่เช่นนั้น คุณจะไม่มีความอุตสาหะที่จะทำจนสำเร็จ

             

แม่ของจาเมียน และเคิร์ต เมียร์ ที่ปรึกษาปลูกฝังการเล่น ความหลงใหล และเป้าหมายให้จาเมียนอย่างกระตือรือร้น เออร์เนลส่งเสริมให้จาเมียนเล่นออกแบบรองเท้า เมื่อการเล่นกลายเป็นความหลงใหล เธอก็สนับสนุนให้เขาทำตามความฝันต่อ แม้ว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยจะแนะนำอีกอย่างก็ตาม ตอนนี้เมื่อความหลงใหลของเขาผลิบานเป็นเป้าหมายที่มีพลัง เพียงแต่ยังไม่ออกดอกออกผล เธอไม่เคยพูดว่า “เมื่อไรลูกจะหาเงินได้เสียที” เออร์เนลยังส่งเสริมให้จาเมียนเป็นตัวของตัวเองให้ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง เธอสอนเขาว่าลองเสี่ยงและล้มได้ สำคัญที่สุดให้เพียรพยายาม คือคุณสมบัติที่สำคัญอย่างเหลือเชื่อสำหรับนวัตกรและผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ

             

หลายครั้งที่ผู้ใหญ่ย่ำยีความฝันหรือจินตนาการของเด็กว่าเป็นเรื่องแปลกประหลาด หรือตลกขบขัน พฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่กดความสงสัยใคร่รู้ ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการไว้ จริงๆ ผู้ใหญ่ก็ไม่ได้มีเจตนาร้ายเพียง แต่เขาอยู่ในโลกแห่งความจริง ครูหลายคนเผลอมองข้ามนักเรียนที่ไม่เข้าเกณฑ์นักเรียนดีไปได้ง่ายๆ นักเรียนค่อนข้างแหกคอก แต่จาเมียนโชคดีที่เออร์เนลและเคิร์ตมองความเป็นไปได้ของเขาในอีกรูปแบบหนึ่ง

             

ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ที่สุดให้จาเมียนคือที่ปรึกษา ไม่ใช่ครูผู้สอน ที่ปรึกษากระตุ้นให้เขา “ส่งต่อความดี” แก่เยาวชนในชุมชนแออัดคนอื่นๆ

              เรื่องดีๆ จากหนังสือ Creating Innovations คู่มือสร้างนักนวัตกรรมเปลี่ยนโลก

              Tony Wagner เขียน

              ดลพร รุจิรวงศ์ แปล


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"