"สพฐ."ปลื้มอัตราอ่านออกเขียนได้เพิ่ม ระดับมัธยมฯให้ท่องอาขยานต่อ


เพิ่มเพื่อน    


7ส.ค.62-นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมร่วมกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทั่วประเทศผ่านระบบวีดิโอทางไกล ว่า ในการประชุมตนได้มีการติดตามการดำเนินการนโยบายต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยเฉพาะนโยบายพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย เรื่องการอ่านออกเขียนได้ที่ตนได้สั่งการตั้งแต่หลังรับตำแหน่งเลขาฯ กพฐ.เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2562 ให้เด็กประถมศึกษาอ่านออกเขียนได้ภายใน 2 เดือน ซึ่งขณะนี้ สพท.ได้รายงานข้อมูลโรงเรียนคัดกรองการอ่านการเขียนของนักเรียนล่าสุดของเดือนมิถุนายน พบว่า การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1-6 ภาพรวมของประเทศมีระดับพอใช้ไปจนถึงดีมาก แต่ถือว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นในทุกระดับชั้น ดังนี้ นักเรียนชั้นป.1 อ่านคำ ได้ร้อยละ 94.49 เขียนคำ ได้ร้อยละ 92.61 นักเรียนชั้นป.2 อ่านคำได้ร้อยละ 95.40 อ่านรู้เรื่อง ได้ร้อยละ 93.61 เขียนคำ ได้ร้อยละ 89.27 เขียนเรื่อง ได้ร้อยละ 91.07 นักเรียนชั้นป.3 อ่านคำ ได้ร้อยละ 96.49 อ่านรู้เรื่อง ได้ร้อยละ 95.43 เขียนคำ ได้ร้อยละ 90.72 เขียนเรื่อง ได้ร้อยละ 94.41 
นักเรียนชั้นป.4 อ่านคำ ได้ร้อยละ 98 อ่านรู้เรื่อง ได้ร้อยละ 95.34 เขียนเรื่อง ได้ร้อยละ 96.59 นักเรียนชั้นป.5 อ่านคำ ได้ร้อยละ 98.31 อ่านรู้เรื่อง ได้ร้อยละ 91.59 เขียนเรื่อง ได้ร้อยละ 97.25 และนักเรียนชั้นป.6 อ่านคำ ได้ร้อยละ 98.65 อ่านรู้เรื่อง ได้ร้อยละ 95.57 เขียนเรื่อง ได้ร้อยละ 97.86 ส่วนนักเรียนที่มีผลคัดกรองระดับปรับปรุง สพฐ.ขอความร่วมมือให้เขตพื้นที่เร่งพัฒนาอย่างจริงจัง เช่น วิเคราะห์ผลนักเรียนเป็นรายบุคคล ส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนมุ่งเน้นอ่านเพื่อความเข้าใจ เป็นต้น ทั้งนี้ตนยังได้มอบนโยบายให้มีการอ่านบทอาขยานกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาด้วย เพื่อเป็นการต่อยอดนโยบายการอ่านออกเขียนให้สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

นายสุเทพ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ตนยังได้มอบนโยบายเรื่องการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยมอบให้แต่ละ สพท. ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก ส่วนจะมีวิธีบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กในรูปแบบใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการควบรวม หรือการทำให้โรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีเด็กเป็นโรงเรียนของชุมชน หรือให้ชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ได้นำไปใช้ประโยชน์ ก็ขึ้นอยู่กับการดำเนินการของแต่ละ สพท. ซึ่งตนขอย้ำว่านโยบายการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กของ สพฐ.จะไม่มีคำว่ายุบโรงเรียน แต่ขอให้เขตพื้นที่ได้หาวิธีการบริหารให้เหมาะสมตามบริบทของแต่ละพื้นที่ และเน้นวิธีการแก้ปัญหาที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ  ดังนั้นในวันที่ 15 สิงหาคม ทุก สพท. จะต้องกรอกข้อมูลวิธีการบริหารโรงเรียนเล็กทุกโรงเรียนเข้าในระบบสารสนเทศของ สพฐ. จากนั้นภายในวันที่ 30 สิงหาคมนี้ สพฐ. จะสรุปแผนบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กให้ รมว.ศธ.พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม เรื่องการแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กจะมีการผลักดันให้เป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นวาระแห่งชาติด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"