3 งานวิจัยสุดปัง พัฒนาโมเดลควบคุมบุหรี่ไทย


เพิ่มเพื่อน    

เป็นที่ทราบกันดีว่า บุหรี่เป็นภัยต่อสุขภาพผู้สูบและผู้ที่ไม่สูบ สารพิษในบุหรี่อันตรายทำลายอวัยวะต่างๆ ของร่างกายและก่อโรคมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs หรือ non-communicable diseases

 

ประเทศไทยถือเป็นแนวหน้าลุยควบคุมยาสูบ ส่งผลให้เกิดการตื่นตัวและจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่และคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่มาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีอย่างต่อเนื่อง

ในพิธีปิดการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 18 “Tobacco and Lung Health” จัดโดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย มี ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) เป็นประธาน และร่วมประกาศปฏิญญาดำเนินนโยบายและสร้างมาตรการร่วมกันเพื่อลดอันตรายจากบุหรี่ที่เป็นภัยต่อสุขภาพประชาชน

   

ศ.นพ.รณชัยเผยว่า ศจย.เป็นหน่วยวิจัยให้การสนับสนุนหลักด้านการวิจัยและจัดการความรู้ด้านควบคุมยาสูบของประเทศไทยโดยการสนับสนุนจาก สสส. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่สำคัญในการควบคุมยาสูบ โดยเฉพาะงานวิจัยที่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศ นำไปสู่การรณรงค์กับภาคส่วนต่างๆ ในสังคม ปัจจุบันดำเนินการมาถึงระยะที่ 5 และเวทีการประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องปีนี้ใช้ชื่อว่า การประชุมวิชาการบุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ “Tobacco and Lung Health” มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 1,130 คนตลอด 2 วันของการจัดงาน มีการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการจากหลายภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศ

จากการสำรวจสถานการณ์บุหรี่ของไทย

ศ.นพ.รณชัยระบุว่า จากผลสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 พบว่า การสูบบุหรี่ของคนไทยอยู่ในระดับน่าเป็นห่วง มีจำนวนผู้สูบบุหรี่ถึง 10.7 ล้านคน ร้อยละ 32.7 เคยสูบบุหรี่ในบ้าน โดยผู้สูบบุหรี่ร้อยละ 73.8 มีการสูบในบ้านทุกวัน ทำให้บุหรี่มือสองส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสมาชิกในบ้านซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

“ปี 2560 คนไทยเสียชีวิตจากบุหรี่สูงถึงกว่า 70,000 คน และเสียชีวิตจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง 8,278 คน ไม่เฉพาะแค่บุหรี่ แต่บุหรี่ไฟฟ้าซึ่งมีไอระเหยประกอบไปด้วยสารอันตรายก็เป็นพิษต่อปอดและระบบทางเดินหายใจของผู้สูบและผู้ใกล้ชิด” ศ.นพ.รณชัยสะท้อนปัญหา

 

ในการนี้ ศ.นพ.รณชัยกล่าวนำประกาศปฏิญญาและรวมพลังเครือข่ายสนับสนุนและขับเคลื่อนบ้านปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าลดความรุนแรงต่อสุขภาพ และสร้างมาตรการต่างๆ เพื่อลดอันตรายของประชาชนเนื้อหาสำคัญเกิดความร่วมมือกันขับเคลื่อนให้ “มาตรการบ้านปลอดบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าสำเร็จเป็นรูปธรรมรวมถึงร่วมมือกันส่งเสริมให้การไม่สูบบุหรี่/บุหรี่ไฟฟ้าเป็นค่านิยมดูแลสุขภาพตนเองและผู้อื่นและร่วมกันสร้างความเข้มแข็งการดำเนินการควบคุมการบริโภคยาสูบในทุกระดับเพื่อสุขภาวะของประชาชนไทยทุกเพศทุกวัยอย่างทั่วถึงและเสมอกัน

 

ภายในงานได้มอบรางวัลแก่ผู้มีผลงานด้านการป้องกันและควบคุมยาสูบเพื่อสนับสนุนงานวิจัยที่เป็นฐานสำคัญนำไปสู่นโยบายรวมถึงนวัตกรรมช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รางวัลงานวิจัย ศจย.ดีเด่น ประจำปี 2562 TRC Research Award 2019 มี 3 รางวัล ได้แก่ รางวัลวิจัยดีเด่น รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น และรางวัลนวัตกรรมดีเด่น

 

รศ.ดร.อติวงศ์ สุชาโต รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ระบบการศึกษาทางไกล e-learning ให้กับ ศจย. ได้รับรางวัลนวัตกรรมดีเด่น กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบเพื่อรองรับผู้ที่สนใจด้านการควบคุมยาสูบ โดยรูปแบบของระบบจะเปิดให้ลงทะเบียนเข้าร่วมการอบรมกิจกรรมต่างๆ ผ่านทางออนไลน์ได้ที่ http://www.trc.or.th ช่วยเพิ่มช่องทางให้ทั้งนักวิชาการและประชาชนเข้าถึงข้อมูลของ ศจย.ได้ง่ายมากขึ้น

 

ด้านเจ้าของรางวัลวิจัยดีเด่น กันยารัตน์ ธวัชชัยเจริญยิ่ง นักวิจัยคณะสาธารณสุขศาสตร์ หน่วยปฏิบัติการวิจัยและวิชาการด้านการควบคุมยาสูบภาคเหนือ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีงานวิจัยมาตรการจำกัดการขายบุหรี่ในร้านค้าให้เยาวชนด้วยการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยกระบวนการวิจัยเปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่เป็นผู้สำรวจสถานการณ์ปัญหาในชุมชน

 

กันยารัตน์กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ศึกษาร้านค้าที่อยู่รอบสถานศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน 10 ร้าน พบว่า มีการละเมิดกฎหมายในการจำหน่ายบุหรี่ถึง 56% ทำให้เด็กและเยาวชนสามารถเข้าถึงบุหรี่ได้ง่าย นำมาสู่การค้นหากระบวนการที่จะแก้ปัญหา 3 แนวทาง ได้แก่ การให้ความรู้ การบังคับใช้กฎหมาย และการเสริมแรงทางบวกโดยการมีส่วนร่วมของเยาวชนและคนในชุมชน ผลการดำเนินการในพื้นที่ตัวอย่างสามารถทำให้ร้านค้าหยุดการขายบุหรี่ให้กับเยาวชนได้ เมื่อไม่มีช่องทางเข้าถึงบุหรี่เยาวชนที่สูบมีอัตราส่วนที่ลดลง

 

ส่วนรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น โดย เรืออากาศเอกหญิงจตุพร เฉลิมเรืองรอง นักวิจัยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของงานวิทยานิพนธ์เรื่อง โปรแกรมสร้างแรงจูงใจป้องกันโรคต่อการเลิกบุหรี่ในข้าราชการทหารอากาศที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กล่าวว่า ทหารส่วนใหญ่มองข้ามเรื่องการดูแลสุขภาพ รวมถึงมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่จำนวนมาก ตนเป็นทหาร จึงคิดว่าควรมีโปรแกรมช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ของข้าราชการ โปรแกรมประกอบด้วยการพูดคุยทำความเข้าใจ โดยจะมีการตรวจสุขภาพเพื่อแสดงความเสี่ยงของโรคที่เกิดจากการสูบ เพื่อกระตุ้นแรงจูงใจให้เข้าร่วมเลิกบุหรี่ ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 60 คน

 

“จาก 60 คน มีผู้ที่สามารถเลิกได้จริง 6 คน ที่เหลือส่วนใหญ่พยายามลดเพื่อให้เลิกได้ต่อไป หนึ่งในผู้เข้าร่วมบอกว่า โปรแกรมนี้ช่วยกระตุ้นให้คิดอยากเลิกบุหรี่เพราะเห็นความสำคัญของสุขภาพและครอบครัว หากสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้ได้ในทุกหน่วยราชการจะเป็นส่วนหนึ่งในการลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ได้” เรืออากาศเอกหญิงจตุพรฝากในตอนท้ายถึงการขยายผลงานวิจัยสู่สาธารณะ เป็นกลไกดูแลสุขภาพต่อไป.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"