หักดิบเบร็กซิต ส.ส.โวยลั่นนายกฯ อังกฤษเลื่อนเปิดสภา


เพิ่มเพื่อน    

นายกฯ บอริส จอห์นสัน ของอังกฤษเรียกเสียงวิจารณ์ขรม เมื่อประกาศขยายเวลาการพักการประชุมสภาออกไปถึงวันที่ 14 ตุลาคม ทำให้เหลือเวลาที่ ส.ส.จะหารือประเด็นเบร็กซิตแค่ 2 สัปดาห์เศษ ก่อนถึงเส้นตายถอนตัวจากสหภาพยุโรป

แฟ้มภาพ บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ หลังเสร็จสิ้นการแถลงข่าวด้านนอกสำนักงานนายกรัฐมนตรี เลขที่ 10 บนถนนดาวนิง ในวันแรกที่เข้ารับตำแหน่ง เมื่อ 24 กรกฎาคม 2562 / AFP

    ตามข้อตกลงที่รัฐบาลอังกฤษทำไว้กับสหภาพยุโรป (อียู) อังกฤษจะพ้นสมาชิกภาพในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ หลังจากเลื่อนเส้นตายมาแล้ว 2 รอบ และนายกฯ บอริส จอห์นสัน ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนกรกฎาคม ยืนกรานจะไม่ขยายเส้นตาย และพร้อมจะนำอังกฤษถอนตัวออกจากอียู ไม่ว่าสภาจะอนุมัติข้อตกลงเบร็กซิตหรือไม่ก็ตาม ข้อตกลงที่รัฐบาลของนายกฯ เทเรซา เมย์ ตกลงไว้กับผู้นำอียูนั้นโดนสภาปฏิเสธมาแล้ว 3 ครั้ง

    รายงานเอเอฟพีและรอยเตอร์กล่าวว่า จอห์นสันเปิดเผยเมื่อวันพุธที่ 28 สิงหาคม ว่าเขาได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธ ที่ 2 ให้เสด็จมาเปิดประชุมสภาในวันที่ 14 ตุลาคม

    กำหนดวันดังกล่าวหมายความว่า สภาสามัญชน หรือสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงปิดสมัยประชุมฤดูร้อนจนถึงวันที่ 3 กันยายน และยังขยายเวลาปิดประชุมให้การประชุมประจำปีของพรรคการเมืองใหญ่ 3 พรรคไปจนถึงวันที่ 2 ตุลาคม ยังจะต้องเลื่อนเวลาเปิดประชุมออกไปอีก 12 วัน และทำให้ ส.ส.ฝ่ายหนุนอียูที่คัดค้านเบร็กซิต เหลือเวลาแค่ 2 สัปดาห์เศษเท่านั้น ในการพยายามขัดขวางการเบร็กซิตแบบไร้ข้อตกลง

    ข่าวนี้ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินปอนด์อังกฤษอ่อนค่าลงทันทีเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและยูโร

    จอห์นสันกล่าวตอบคำถามที่ว่า เขากำลังพยายามขัดขวางไม่ให้นักการเมืองฝ่ายต่อต้านเบร็กซิตถ่วงเวลาการถอนตัวจากอียูหรือไม่ ว่า "ไม่จริงโดยสิ้นเชิง" ทั้งสองฝ่ายมีเวลาเหลือเฟือจนถึงวันที่ 17 ตุลาคม ที่ผู้นำอียูจะประชุมกัน และ ส.ส.ก็มีเวลามากพอที่จะอภิปรายเรื่องเบร็กซิตและอียู

    ความวุ่นวายที่สร้างความแตกแยกในสภาและในสังคมอังกฤษครั้งนี้เป็นผลจากประชามติเมื่อปี 2559 ที่ชาวสหราชอาณาจักร 52% เห็นด้วยกับการถอนตัวจากอียู ที่อังกฤษเข้าเป็นสมาชิกมาตั้งแต่ปี 2516 จนถึงขณะนี้ผ่านมา 3 ปีกว่า สภาอังกฤษและอียูยังไม่มีความตกลงที่ชัดเจนรองรับการถอนตัว และ ส.ส.พยายามป้องกันไม่ให้จอห์นสันนำอังกฤษถอนตัวโดยไร้ข้อตกลง

    เมื่อวันอังคาร แกนนำพรรคฝ่ายค้าน 6 พรรคผนึกกำลังหาทางเปลี่ยนแปลงระเบียบขั้นตอนทางนิติบัญญัติ เพื่อบังคับให้จอห์นสันเลื่อนเวลาการเบร็กซิตออกไปหลังวันที่ 31 ตุลาคม กระทั่งจอห์นสัน ซึ่งรัฐบาลพรรคอนุรักษนิยมของเขามีเสียงเกินครึ่งแค่ 1 เสียง ใช้วิธีหักดิบแบบนี้

    จอห์น เบอร์คาว ประธานสภาสามัญชน กล่าวว่า เขาไม่ได้รับแจ้งจากรัฐบาลเกี่ยวกับการตัดสินใจขยายเวลาปิดสมัยประชุมฤดูร้อนออกไปอีก การปิดสภาผู้แทนราษฎรถือเป็นการทำลายรัฐธรรมนูญ เห็นได้ชัดว่าวัตถุประสงค์ของการปิดสมัยประชุมคือเพื่อหยุดยั้งสภาไม่ให้ทำหน้าที่และอภิปรายเรื่องเบร็กซิต

    สมาชิกพรรคฝ่ายค้านพากันโกรธแค้นการตัดสินใจของจอห์นสันครั้งนี้ ทอม วัตสัน รองหัวหน้าพรรคแรงงาน กล่าวว่า เป็นการดูถูกประชาธิปไตยที่ยอมไม่ได้, จอห์น แม็กดอนเนล โฆษกพรรคกล่าวว่า เป็นการก่อรัฐประหาร ขณะที่มาร์กาเร็ต เบ็กเคตต์ บอกว่าจอห์นสันกำลังทำลายรัฐธรรมนูญ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"