“ศักดิ์สยาม”ตั้งเป้าปี63ใช้ยางพาราโครงการคมนาคม 2แสนตัน


เพิ่มเพื่อน    


29 ส.ค 2562 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมการทบทวนปริมาณการใช้ยางพาราของกระทรวงคมนาคมถึงความคืบหน้าการนำยางพารามาพัฒนาถนนทั่วประเทศเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรนั้น ขณะนี้มีเกาะกลางถนนที่สามารถนำยางพาราไปช่วยพัฒนาได้ราว 2,500กิโลเมตร(กม.) แบ่งเป็น ถนนทางหลวง 1,994 กม. และถนนทางหลวงชนบท 500 กม. โดยตั้งเป้าว่าในปี 2563 จะใช้น้ำยางสด 200,000 ตัน

“ยืนยันว่าจะไม่มีการทุบเกาะกลางถนนหรือแบริเออร์แบ่งฝั่งถนนที่มีอยู่เติม แต่จะเพิ่มยางพาราเข้าไปหุ้มแบริเออร์เหล่านั้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยและทำให้แบริเออร์กั้นถนนดูใหม่ขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีบางจุดเก่ามากดูแล้วไม่สวยงาม ดังนั้นกระทรวงคมนาคมมี 2 แนวทาง สามารถรองรับแรงกระแทกความเร็ว 120 กม./ชม. ประกอบด้วย 1.ใช้ยางพารามาหุ้มแบริเออร์เดิมกลางถนน 2.ใช้ยางพาราหุ้มเส้นสลิงเกาะกลางถนน โดยจะนำยางพาราเป็นแผ่นมาหุ้นคล้ายเลโก้”นายศักดิ์สยาม กล่าว

อย่างไรก็ตามเงื่อนไขหลักของการนำยางพารามาพัฒนาถนนนั้นคือต้องเป็นรูปแบบผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ชาวบ้านผลิตได้เอง โดยหน่วยงานจะไปรับซื้อยางหน้าสวนเกษตรกรแบบไม่ผ่านโรงงานและพ่อค้าคนกลาง เพื่อกระตุ้นให้เม็ดเงินถึงมือผู้ผลิตต้นทางอย่างแท้จริงและจะมีหน่วยงานของกระทรวงคมนาคมเข้าไปสอนชาวบ้านเรื่องเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตอีกด้วย หลักการรองลงมาคือเรื่องราคา ความแข็งแรงปลอดภัยและความเร็วในการก่อสร้าง ซึ่งตนมองว่า รูปแบบที่ 1 สามารถดำเนินการได้รวดเร็วและการก่อสร้างไม่กีดขวางทางจราจร นอกจากนี้ยังสั่งการให้กรมเจ้าท่าไปพิจารณาการใช้ยางพารามาใช้รับแรงกระแทกที่ท่าเรืออีกด้วย

“มั่นใจว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้เงินถึงมือเกษตกรและเพิ่มความปลอดภัยให้ประชาชน ยางพาราครอบแบริเออร์เป็นนวัตกรรมที่มีการรองรับมาตรฐานโดยสหรัฐฯ นำไปสู่การลดอุบัติเหตุได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้จะสร้างสะพานลอยเพิ่มมากขึ้นบนถนนทั่วประเทศและหาวิธีกีดกัดไม่ให้สัตว์มาวิ่งตัดหน้ารถบนถนน เพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุในอนาคต” นายศักดิ์สยามกล่าว

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมระบุว่าสรุปการใช้น้ำยางพาราในปี 2562 พบว่ามีการใช้น้ำยางพารามาพัฒนาถนนเพิ่มขึ้นกว่าปี 2561 ที่ราว 34,313 ตัน ส่วนด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จะใช้ยางพาราไปดำเนินการใน 3 ด้าน ได้ก่ 1.แผ่นยางรองรางรถไฟ 2.แผ่นยางครอบหมอนคอนกรีตอัดแรงสำหรับรองใต้แผ่นปูทางผ่าน 3.แผ่นปูทางผ่านที่มีส่วนผสมของยางธรรมชาติ

ทั้งนี้จากการประเมินมองว่าการสร้างแบบสลิงแล้วมีตัวเลโก้ยางพารามาหุ้มสลิงนั้นก่อสร้างยากเนื่องจากจะต้องมีการเจาะถนนเพื่อวางหลักและมีต้นทุนที่สูงกว่าการทำแบริเออร์แล้วหุ้มด้วยยางพาราอีกชั้น(Temporary Barrier) รวมถึงมีความปลอดภัยมากกว่าแบบสลิง โดยมีการให้ ทล.และ ทช.กลับไปศึกษาข้อมูลและนำกลับมาเสนอใหม่อีกครั้ง ขณะที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) จะกลับไปศึกษาในส่วนของทางข้ามถนน

อย่างไรก็ตาม ส่วนไม้หมอนรถไฟนั้นเบื้องต้นประเมินว่าอาจจะไม่สามารถรับแรงน้ำหนักไม่ไหว ซึ่งได้มีการให้ไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับหินโรยทางว่าสามารถเคลือบยางพาราบนผิวหน้าไม่ให้หินกระเด็นได้หรือไม่ในลักษณะคล้ายพาราซอยล์ซีเมนต์ ด้านกรมเจ้าท่าก็ได้มีการให้ไปออกแบบเพิ่มในเรื่องของท่าเรือ โดยทางกรมเจ้าท่าได้ให้ข้อมูลว่าในส่วนของท่าเรือจะต้องมีสเปคเฉพาะเนื่องจากต้องมีการรับแรงสูงของเรือ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"