สสส.พัฒนาหลักสูตรต้นแบบป้องกัน/ลดความรุนแรง


เพิ่มเพื่อน    

สสส.สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม ถอดบทเรียนคุ้มครองสิทธิและสวัสดิภาพฯ พบความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว 34.6% ความรุนแรงทางด้านจิตใจสูงสุด รองลงมาเป็นความรุนแรงทางกาย และรุนแรงทางเพศ มากกว่า 82.6% เผชิญความรุนแรงแล้วไม่ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงาน เพราะอายและไม่เชื่อมั่นหน่วยงานจะช่วยเหลือได้ สสส.เร่งพัฒนาหลักสูตรต้นแบบ  พัฒนาศักยภาพคนทำงานด้านความรุนแรงต่อผู้หญิง ป้องกันและลดความรุนแรงทุกรูปแบบ

           

มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีนำเสนอถอดบทเรียนกระบวนการคุ้มครองสิทธิและคุ้มครองสวัสดิภาพ “เรื่องเล่าผู้ประสบความรุนแรง และคนทำงานคุ้มครองสิทธิ” ที่ห้องวิภาวดี 1 ชั้น 4 โรงแรมปริ๊นส์ตั้น พาร์ค ดินแดง เมื่อวันอังคารที่ 6 ส.ค. มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและภาคประชาสังคมเข้าร่วม ทั้งนี้ สสส.ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล สำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวของไทยในปี 2560 พบความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว คิดเป็นร้อยละ 34.6 พบว่าความรุนแรงในครอบครัวทางด้านจิตใจสูงสุดร้อยละ 32.3 รองลงมาคือความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 9.9 และความรุนแรงทางเพศร้อยละ 4.5 ทั้งนี้ร้อยละ 82.6 ของคนที่ประสบปัญหาความรุนแรงไม่ไปขอความชวยเหลือจากบุคคลหรือหน่วยงาน ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ทั้งอาย ไม่กล้า แม้กระทั่งไม่เชื่อมั่นในการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่าจะช่วยเหลือได้

           

ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าวว่า ผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว ส่วนหนึ่งเผชิญกับปัญหาความรุนแรงในหลายมิติ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและวัฒนธรรมซึ่งเป็นความรุนแรงที่มองไม่เห็น เพราะซ่อนตัวอย่างแนบเนียนในสังคมและวัฒนธรรมไทยมายาวนาน แต่ความรุนแรงที่เราคุ้นชินนั้นเป็นความรุนแรงเชิงประจักษ์ การด่าทอ การทำร้ายร่างกาย การทุบตี การทอดทิ้งละเลยผู้สูงอายุเป็นอีกหนึ่งความรุนแรงที่ปรากฏมากขึ้นในสังคมไทย

           

ตลอดเวลาที่ผ่านมา สสส.พยายามขจัดและลดปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวผ่านการทำงานร่วมกับภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งการพัฒนาหลักสูตรต้นแบบการพัฒนาศักยภาพคนทำงานด้านความรุนแรงต่อผู้หญิง หลักสูตรการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทุกมิติด้วยฐานคิดเพศภาวะ (gender base) การพัฒนาเครื่องมือและสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวระดับจังหวัด ผ่านการเสริมศักยภาพกลไกระดับพื้นที่ พมจ. รพ.สต. ต้นแบบพื้นที่นำร่องในการพัฒนาระบบการทำงานของสหวิชาชีพระดับจังหวัดแบบบูรณาการ และการพัฒนาและเสริมศักยภาพผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการคุ้มครองสิทธิ การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษาสำหรับผู้ถูกกระทำความรุนแรงที่มีความละเอียดอ่อนต่อมิติเพศภาวะ รวมทั้งกระบวนการสื่อสารสังคม “ถึงเวลาเผือก” เพื่อช่วยป้องกันและลดความรุนแรงทุกรูปแบบ

           

“การทำงานในปัจจุบันยังมีโอกาสและช่องว่างในการทำงานอีกมากที่ สสส.และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนจำเป็นต้องร่วมมือกันขับเคลื่อนเพื่อขจัดปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว เพื่อให้ผู้หญิงไทยและทุกคนในครอบครัวมีสุขภาวะที่ดีทั้งกาย จิต ปัญญา และสังคม 1.การพัฒนากลไกการบูรณาการการทำงานเพื่อขจัดปัญหาความรุนแรงของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการทำงานตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวที่กำลังจะประกาศใช้ 2.พัฒนากลไกการแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวระดับจังหวัด ให้ทำงานแบบบูรณาการและเชื่อมประสานกลไกในระดับต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ 3.เสริมศักยภาพผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการคุ้มครองสิทธิให้มีความละเอียดอ่อนต่อมิติเพศสภาวะ 4.สื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างทัศนคติใหม่ต่อการไม่เพิกเฉย ไม่ยอมรับความรุนแรงในทุกมิติ

             

เลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กล่าวว่า พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 20 ส.ค. ครอบคลุมได้กว้างขวางมาก ทำความผิด 1 ครั้งฟ้องได้ 2 ศาล ผู้เกี่ยวข้อง 3 กระทรวง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ในการสร้างครอบครัวเข้มแข็งสู่ครอบครัวที่สมบูรณ์ กรมกิจการสตรีฯ ได้เตรียมการ เตรียมคนกลไกทำงานต่างๆ รวมทั้งทำ กม.ลูกอีก 9 ฉบับ ประชาสัมพันธ์กระจายไปในพื้นที่ โดยเฉพาะในระดับจังหวัด เพื่อให้กลไกการทำงานเอื้อประโยชน์คุ้มครองสิทธิของประชาชนหรือผู้ได้รับความเสียหาย ผู้ถูกกระทำให้มากที่สุด การคุ้มครองผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพ ส่งเสริมและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำ ด้วยการแก้ไขให้พ้นจากเหตุด้วย เมื่อมีการทำร้ายผู้หญิง ผู้หญิงต้องอยู่ในบ้าน ไม่ให้หนีออกนอกบ้าน ผู้ถูกกระทำควรอยู่ในสถานที่ที่ควรอยู่  กม.คุ้มครองให้ผู้ถูกกระทำอยู่ในบ้าน คนที่เป็นฝ่ายกระทำจะต้องเป็นผู้ออกจากบ้านไป

           

ศูนย์ช่วยเหลือสังคมมีหมายเลขสายด่วน 1300 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงมากที่สุด ทั้งผู้กระทำ ผู้ถูกกระทำ บุคคลทั่วไปที่พบเห็นการกระทำความรุนแรงโทร.เข้ามาที่สายด่วน บุคคลที่โทร.มาแจ้งเหตุก็ไม่ต้องวิตกกังวล เพราะจะได้รับการคุ้มครองด้วย กม.ฉบับนี้ให้อำนาจหัวหน้าศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองคครอบครัว แจ้งความกล่าวโทษได้โดยทันที แต่เดิมผู้ถูกกระทำต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ แต่ กม.ใหม่ฉบับนี้ให้ศูนย์เป็นผู้แทนดำเนินการได้ ทั้งยังมีการทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ โดยมีศูนย์ทำหน้าที่ประสานงานให้กลไกการชวยเหลือเข้มแข็ง ทำงานให้รวดเร็ว ผู้ถูกกระทำได้รับการคุ้มครองอย่างทั่วถึง

           

ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ซึ่งเป็นการทำงานของภาคประชาสังคมในระดับตำบลที่อยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถจดทะเบียนกับกรมกิจการสตรีฯ เพื่อทำงานในระดับพื้นที่ให้เข้าถึงชุมชน ประชาชนได้มากที่สุด และเป็นสาขาของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ระดับพื้นที่ในการบริการช่วยเหลือประชาชนเมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้กระทำซ้ำ เราถือว่าคำสั่งการคุ้มครองของศาลเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งยืนได้ทั้งศาลอาญาและศาลเยาวชนฯ หัวหน้าศูนย์สามารถออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้ทันที กรณีสามีภรรยา หากเกรงว่าภรรยาจะถูกทำร้ายซ้ำ หัวหน้าศูนย์สามารถออกคำสั่งห้ามสามีเข้าใกล้ภรรยาในเวลา 48 ชั่วโมงได้ทันทีก่อนยื่นต่อศาลให้ออกคำสั่งอีกครั้ง

           

สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวมีในระดับจังหวัด 77 จังหวัด โดยเฉพาะศักยภาพ บุคลากร เจ้าหน้าที่คนทำงาน บางแห่งเพิ่งผ่านการฝึกอบรมและเข้าทำงานได้ไม่นานถือว่าเป็นเรื่องใหม่มาก บทบาทหัวหน้าศูนย์ต้องมีอำนาจออกคำสั่งตาม กม. เพื่อให้ผู้กระทำยุติการกระทำความรุนแรง ภายหลังออกคำสั่งควรมีการติดตามว่าผู้กระทำปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่เพื่อป้องกันการถูกกระทำซ้ำๆ หรือต้องกำหนดมาตรการบังคับผู้กระทำหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ก็ยังอยู่ภายใต้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีการบุคคลในระดับตำบล มีความสำคัญยิ่งที่จะต้องมีพัฒนาเพิ่มเติม เพราะงานนี้เป็นงานส่งเสริม ป้องกัน ดูแล เยียวยา ฟื้นฟูศูนย์หรือบุคลากร เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง คนทำงานต้องมีความเข้าใจในปัญหาความรุนแรงอย่างแท้จริง หากเรื่องไม่ยุติหรือแก้ไขไม่ได้ก็จะเพิ่มความรุนแรง เลวร้ายมากขึ้นจนถึงการฆ่ากันดังที่ปรากฏเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง

           

มูลนิธิฯ มีโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานให้มีทักษะด้านการดำเนินคดี การเขียนคำร้องคุ้มครองสวัสดิภาพ และเรียนรู้ปัญหาความรุนแรงผ่านประสบการณ์ของผู้ประสบความรุนแรง และหนุนการทำงานร่วมกับเครือข่ายสหวิชาชีพ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหา เพราะเรื่องความรุนแรงในครอบครัวเป็นเรื่องซับซ้อน ทั้งนี้ ณัฐวุฒิ บัวประทุม  ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 40 พรรคอนาคตใหม่ กล่าวว่า ได้เคยหยิบยกปัญหาเหล่านี้นำเสนอในการประชุมสภา เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัวได้รับการแก้ไขปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์ด้วย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"