'บุญสร้าง'เตือนสติผู้นำทหารต้องมีคุณธรรมอย่าทำชั่วเสียเอง


เพิ่มเพื่อน    

9 ก.ย.62- พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ สมาชิกวุฒิสภา ผู้บรรยายเกียรติยศ (Keynote Speaker) ในพิธีเปิดการประชุมผู้บัญชาการทหารบกกลุ่มประเทศอินโดแปซิฟิกตอนหนึ่งว่า ภายใต้หัวข้อหลักในครั้งนี้ ตนเห็นว่ามี 3 เรื่องหลักที่จะได้ร่วมกันพิจารณา คือ ประการแรก ความมั่นคงที่ยั่งยืน ในหลาย ๆ เวทีเสวนาความมั่นคงทั่วโลก มักให้ความสำคัญกีบกระบวนทัศน์ของการควบคุม (Control Paradigm) ซึ่งอาจหมายถึงแนวความคิดที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ผิดพลาดว่าเราสามารถควบคุมสถานการณ์ความไม่มั่นคงได้ด้วยกำลังทหาร หรือสมดุลของอำนาจทางการเมืองและการปิดล้อม เพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่ง status quo ซึ่งนโยบายความมั่นคงที่ยึดตามกระบวนทัศน์ของการควบคุมนี้ อาจสามารถกลับมาทำร้ายตัวเองได้ในระยะยาว เนื่องจากอาจเป็นการสร้างให้เกิด Pressure Cooker Effect ตัวอย่างที่เห็นได้ของแนวคิดนี้ได้แก่สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อยับยั้งการก่อการร้าย ของกลุ่มที่ได้รับแรงบันดาลใจจากอัลกออิดะห์ โดยไม่มีการพิจารณาถึงรากเง้าแห่งสาเหตุของปัญหา 

พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า กระบวนทัศน์นั้นลึก ๆ แล้ว มีข้อบกพร่องอยู่พอสมควรต่อความมั่นคงในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และทำให้ผู้ที่มีอำนาจตกลงใจในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาที่อยูบนข้อเท็จจริงและเป็นแนวทางที่ยั่งยืน ตนจึงเห็นว่า เรามีความจำเป็นต้องมีแนวคิดใหม่ในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ผลงานทางวิชาการ โดย Oxford Research Group (ORG) นำเสนอแนวคิดใหม่ที่เรียกว่า ความมั่นคงที่ยั่งยืน(sustainable security) ซึ่งสมมุติฐานหลักของ sustainable security กล่าวว่า “เราไม่สามารถควบคุมผลที่เกิดขึ้นตามมาจากสภาวการณ์ที่ไม่มั่นคงได้” หรืออาจกล่าวได้ว่า “การ ต่อสู้กับอาการป่วย” ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง “การเข้าใจและรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้ หายขาด” น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ทั้งนี้ แนวความคิดดังกล่าว ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวโน้มสถานการณ์ความมั่นคงและการพัฒนามาตรการโต้ตอบเชิงป้องกันที่มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน ทั้งนี้ ภัยคุกคามที่แท้จริงของโลกในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย ประเด็นปัญหา 5เรื่องคือ Climate change, Competition over resources, Marginalization of the ‘majority world’, International terrorism และ Global militarization 
ประเด็นปัญหาเหล่านี้ เป็นแนวโน้มที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะนำไปสู่ความไม่มั่นคงในระดับโลกและระดับภูมิภาค และการสูญเสียชีวิตขนาดใหญ่ที่ไม่มีภัยคุกคามอื่น ๆ เทียบได้ 

"เราในฐานะหน่วยงานทางทหาร หน่วยงานความมั่นคงของชาติ อาจถึงเวลาแล้วที่ต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เราอาจต้องทบทวนบทบาทและหน้าที่ของทหารในการที่จะสนับสนุนให้ เกิดความมั่นคงที่ยั่งยืน โดยในปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ผมเชื่อว่า ความร่วมมือทางทหารที่มีอยู่ในปัจจุบัน  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฝึก การปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ การให้ความช่วยเหลือ ประชาชนและบรรเทาสาธารณภัย การประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนการเยือน การลาดตระเวนร่วม การศึกษา, การจัดตั้งคณะกรรมการชายแดน และความร่วมมือระหว่างกันในทุกรูปแบบจะเป็น รากฐานสำคัญที่จะนาไปสู่การเสริมสร้างความมั่นคงที่ยั่งยืน ในอนาคตระยะยาว ผู้บังคับบัญชาระดับสูงและผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจจะต้องร่วมกันพิจารณากำหนดนโยบายด้านความมั่นคงที่สามารถนาไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อความมั่นคงที่ยั่งยืน ตนอาจยังไม่มีคำตอบให้ท่านในวันนี้ แต่ขอฝากไว้เป็นแง่คิด "

ประการที่สอง “การพัฒนาความไว้วางใจ” นั้นภารกิจที่ตนประทับใจและภาคภูมิใจที่สุดในชีวิตการรับราชการคือการปฏิบัติหน้าที่ผู้บัญชาการ กองกาลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก Force Commander, United Nations Transitional Administration in East Timor : FC UNTAET) ซึ่งมีปัจจัยต่าง ๆ ทั้งทางทหารและมิใช่ทางทหาร เป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จโดยเฉพาะ“ความไว้วางใจ หรือ Trust” 
ทั้งภายในกองกำลังของเราเองและกำลังพลมาจากหลากหลายประเทศ หลากหลายวัฒนธรรม ขณะเดียวกัน เราต้องสร้างความไว้วางใจกับประชาชนชาวติมอร์ในพื้นที่อีกด้วย โดยยุทธศาสตร์การปฏิบัติภารกิจของตนนั้น ก่อนอื่นต้องหาว่าจะใช้อะไร เป็น "จุดศูนย์ดุล" (Center of gravity) ซึ่งหมายความว่าถ้าทำจุดนั้นสำเร็จ ปฏิบัติการทั้งหมดก็จะสำเร็จ ดังนั้น ตนเห็นว่าในภารกิจนี้จุดศูนย์ดุลคือประชาชน กล่าวคือ พยายามทำให้ประชาชนเข้ามาเป็นพวกให้มากที่สุดไม่มองประชาชนเป็นฝ่ายตรงข้ามหรือศัตรู และ หากสามารถเอาชนะจิตใจประชาชนได้แล้วข้าศึกก็จะหมดสิ้นไปเอง โดยผมได้น้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทานของ รัชกาลที่ 9เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา มาเป็นเข็มทิศในการปฏิบัติงาน และเข้าไปช่วยเหลือโดยตรง ในส่วนนี้ตนได้ใช้ประสบการณ์ การต่อสู้คอมมิวนิสต์ของประเทศไทย ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่มุ่งที่จะปราบปราม แต่พยายามทำให้ ประชาชนหันมาให้ความร่วมมือ ชาวบ้านที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ต่างเป็นคนยากจน จึงหาวิธีแก้ไขความ ยากจน คนติมอร์ก็เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่ล้วนยากจน 

"ผมอาจอยากมองว่าเราควรจะทำอย่างไร เพื่อเป็นการพัฒนาความไว้วางใจมากกว่าจะทำอย่างไร เพื่อการลดความเสี่ยงต่อปัญหาความมั่นคงหรือความขัดแย้งใดๆ ทุกวันนี้เรามี เครื่องมือและกลไกระหว่างประเทศมากมาย เพื่อแก้ปัญหาพิพาทระหว่างประเทศหรือปัญหาใน ภูมิภาค ที่เกิดขึ้นทั้งทางบก ทางน้า หรือ ทางอากาศ ผมขอยืนยันว่ายุทธศาสตร์พระราชทานฯ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาจะเป็นเข็มทิศในการปฏิบัติงานในทุกๆเรื่องได้เป็นอย่างดี "

ประการที่ 3 การพัฒนาความทรหดทางจิตใจ ซึ่งมีหลายองค์ประกอบ เช่น คุณธรรมของผู้นำและ ความเข้าใจเพื่อนมนุษย์ โดยคุณธรรมของผู้นำ ตนเห็นว่า กาลังพลทุกชั้นยศเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของกองทัพไทย เป็นปัจจัยบ่งชี้ถึงความสำเร็จและ ล้มเหลวของงานในแต่ละหน่วยได้เป็นอย่างดี โดยปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล โดยเฉพาะผู้ที่จะเป็นผู้นำหน่วย ถ้าผู้นำดี ลูกน้องเชื่อมั่นนับถืองานก็ประสบความสำเร็จ ผู้นำทางทหารที่ดีต้องมีคุณธรรมจริยธรรมหลักธรรมาภิบาลสูง เพราะทหารเป็นผู้ถืออาวุธเป็นผู้มีฤทธิ์ จะต้องรู้จักใช้อาวุธในกาลอันควร และไม่ใช้อาวุธโดยไม่ถูกต้อง หากผู้ถืออาวุธเป็นคนดีในบ้านเมือง คนชั่วมักไม่กล้าทำในสิ่งเลวร้าย แต่ถ้าผู้ถืออาวุธทำความชั่วเสียเอง แล้วใครจะกล้าเข้ามาจัดการ บ้านเมืองจะเป็นอย่างไร  สาหรับคุณธรรมเบื้องต้นที่ทหารควรมี ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรือไม่คงต้องยกคติพจน์ของเวสต์ปอยต์มาเป็นแนวทางคือ Dutyคือ หน้าที่ ทหารต้องรักษาหน้าที่ไม่เพียงเฉพาะ การรบ หากรวมถึงหน้าที่ตามภารกิจที่กระทำอยู่ทุกวัน สำหรับความเข้าใจเพื่อนมนุษย์ในฐานะเป็นเด็กบ้านนอกทำให้ตนเข้ากับ ลูกน้องได้ดี และที่สำคัญ ช่วยให้ผตนอดทนต่อความยากลำบาก และพร้อมที่จะเข้าใจเพื่อนมนุษย์ ซึ่ง เป็นผลดีต่อการทำงาน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"