DSI-อธิบดีอัยการฯงานเข้า!เครือข่ายต้านค้ามนุษย์ร้อง นายกฯตั้งกรรมการสอบสั่งไม่ฟ้องเจ้าของวิคตอเรีย ซีเครท


เพิ่มเพื่อน    

25 ก.ย. 62 - ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์รัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตัวแทนคณะทำงานเครือข่ายองค์กรผู้หญิงและเด็ก และเครือข่ายปฏิบัติการต่อต้านการค้ามนุษย์ (เอทีเอ็น) เดินทางมายื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เพื่อขอให้ตรวจสอบการใช้อำนาจของอธิบดีอัยการสำนักงานคดีค้ามนุษย์ รองอัยการสูงสุด และอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กรณีสั่งไม่ฟ้อง นางนิภา วิระเทพสุภรณ์ ผู้ต้องหาคดีสถานบริการอาบอบนวด “วิคตอเรีย ซีเครท” ซึ่งถูกตรวจค้นและพบว่าลักลอบค้าประเวณีเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทั้งนี้ น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนนายกรัฐมนตรี รับเรื่องดังกล่าว

โดย นายรณสิทธิ์ พฤกษยาชีวะ ผู้อำนวยการมูลนิธิรณสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีที่เจ้าหน้าที่บุกตรวจค้นสถานบริการอาบอบนวด “วิคตอเรีย ซีเครท” เมื่อวันที่ 12 ม.ค.2561 ซึ่งพบว่ามีการนำหญิงบริการอายุ 18-25 ปี จำนวนกว่า 113 คน ลักลอบค้าประเวณี ขณะเดียวกันหญิงกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวด้วย ต่อมามีการตัดสินผู้ต้องหาที่เป็นพนักงานไปหลายคน แต่ นายกำพล วิระเทพสุภรณ์ และนางนิภา ธีระตระกูลวัฒนา ที่เป็นเจ้าของสถานบริการดังกล่าว ตกเป็นผู้ต้องหา ซึ่งขณะนี้ยังหลบหนีนอกราชอาณาจักร โดยกรณีของนางนิภานั้น คณะทำงานของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และของอธิบดีอัยการสำนักงานคดีค้ามนุษย์ได้มีความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง แต่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้อง แต่เมื่อผู้ต้องหาร้องขอให้ทบทวนความเห็นดังกล่าว ปรากฏว่าอธิบดีอัยการสำนักงานคดีค้ามนุษย์ได้กลับความเห็นเป็นให้มีคำสั่งไม่ฟ้องนางนิภา ต่อมา รองอัยการสูงสุดและอธิบดีดีเอสไอมีความเห็นสั่งฟ้องเช่นกัน ทั้งที่คดีนี้เป็นคดีค้ามนุษย์และความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี อีกทั้ง ความผิดดังกล่าวยังเป็นมูลฐานในความผิดฐานฟอกเงิน

นายรณสิทธิ์ กล่าวว่า ทางเครือข่ายฯ วิตกกังวลอย่างมากว่า ถ้าไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่เป็นเจ้าของและผู้บริหารสถานบริการอาบอบนวดแล้ว อาจทำให้ประเทศไทยถูกลดชั้น (เทียร์) ในรายงานการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ทิป รีพอร์ต) เพราะรัฐบาลกำหนดให้เรื่องการค้ามนุษย์เป็นวาระแห่งชาติ รวมถึงคดีนี้มีความสำคัญและเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมถึงมีผลกระทบกับความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม จึงขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลดีเอสไอ และยังเป็นประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ สั่งการเรียกเอกสารและแต่งตั้งคณะกรรรมการเพื่อตรวจสอบขั้นตอนการออกคำสั่ง และดุลพินิจในการพิจารณาไม่สั่งฟ้องคดีนางนิภา ว่าเป็นไปตามกระบวนการ ขั้นตอนตามกฎหมาย และตามหลักการความสุจริตในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาหรือไม่ รวมถึงขอให้พิจารณาสั่งฟ้องคดีนางนิภาต่อไป

ด้าน น.ส.รัชดา กล่าวว่า ตนจะนำข้อเรียกร้องทั้งหมดส่งถึงนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยคดีนี้อยู่ในขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรี และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลการปราบปรามการค้ามนุษย์ จะต้องติดตามการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเป็นธรรมอย่างแน่นอน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"