เปลี่ยนห้องเรียน ด้วยการ"เล่น" และ"เสริมทักษะไม่รู้จบ"


เพิ่มเพื่อน    

การเปิดโอกาสให้เด็กมีอิสระทางความคิด ได้เรียนรู้ ทดลอง ปฏิบัติจริง จะช่วยให้นักเรียนในห้องสี่เหลี่ยมได้มองเห็นสิ่งที่ตนเองชื่นชอบ ค้นหาความเป็นตัวเองได้มากขึ้น การมีทั้งวิชาการ และทักษะความรู้เป็นองค์ประกอบเสริมจะเพิ่มศักยภาพให้เด็กได้มีแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเองมากขึ้น

ในโครงการขับเคลื่อนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัวและพัฒนาศักยภาพเยาวชน โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักพิมพ์ bookscape และศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชวนครูอาจารย์ พ่อแม่ และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในหัวข้อ Teach Like Finland : สอนฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์ เจาะลึกแนวทางการสอนและห้องเรียนสไตล์ฟินแลนด์เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่สนุกและมีคุณภาพ

จุดเริ่มต้นการจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้แรงบันดาลมาจากหนังสือ " Teach Like Finland สอนฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์” ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ bookscape กล่าวว่า กิจกรรมในครั้งนี้มีผู้สนใจจำนวนมากจึงคัดเลือกผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากการเขียนถึงเหตุผลที่อยากมาเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่เป็นครูจากหลายพื้นที่ และพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของลูก ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้

“ รูปแบบกิจกรรมถอดเนื้อหาจากหนังสือเรื่อง Teach Like Finland สอนฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์ และเรื่องที่เสริมจากประสบการณ์ของวิทยากร เน้นทำให้ห้องเรียนสนุก การจัดห้องเรียน การจัดกิจกรรมให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่านการเล่นและเรื่องของครูผู้เป็นตัวเชื่อมการเรียนรู้ นำไปสู่การปฏิบัติใช้ในห้องเรียนได้ง่ายขึ้น และช่วยกระตุ้นระบบการเรียนการสอน” ณัฏฐพรรณ กล่าว

‘Teach Like Finland สอนฟิน เรียนสนุก สไตล์ฟินแลนด์’ เป็นหนังสืออีกหนึ่งเล่มที่ฉายภาพระบบการเรียนการสอนในประเทศฟินแลนด์ที่หลายคนจับตามองว่าทำอย่างไร เด็กที่ประเทศฟินแลนด์จึงมีขีดความสามารถในการเรียนรู้ที่น่าพอใจ โดย 5 ปัจจัย ที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน คือ สุขภาวะ ความสัมพันธ์ที่ดี ความมีอิสระ ความเชี่ยวชาญ และกรอบความคิด

นีนา นอร์ดแมน ครูชาวฟินแลนด์ ปัจจุบันย้ายมาสอนหนังสือที่สิงคโปร์ กล่าวว่า การเรียนที่สนุกและมีคุณภาพ คือ เน้นให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ เพื่อกระตุ้นให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ และเกิดการจัดการแก้ปัญหาระหว่างการเล่นได้ สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างภูมิภาคเอเชียกับประเทศฟินแลนด์ คือ เอเชียจะมีกรอบ มีระบบ มีโครงสร้างที่ชัดเจนมากตั้งแต่สมัยเด็ก ซึ่งวิธีที่คิดว่าจะช่วยได้ คือ เปิดโอกาสให้เด็กมีอิสระมากขึ้น และพยายามหากิจกรรมที่ให้เด็กเป็นคนนำเอง ว่าเด็กสนใจอะไร เด็กอยากจะทำอะไร เช่น ถามเด็กว่าเด็กมีความฝันอะไรแล้วเราจะไปถึงความฝันนี้ได้อย่างไรบ้าง และเอาสิ่งที่เป็นความฝันของเขามาใช้ในห้องเรียน

“ สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ ในประเทศฟินแลนด์ทุกคนมีความเสมอภาค เท่าเทียม เป็นโรงเรียนที่รัฐบาลสนับสนุน จึงไม่มีความเหลื่อมล้ำของการเรียน ด้านความสำเร็จที่จะทำตามความฝันไม่จำเป็นต้องเน้นวิชาการเพียงอย่างเดียว เราอาจจะฝึกฝนด้านศิลปะที่ส่งเสริมกันได้ เพราะเอเชียจะเน้นเรียนวิชาการ เรียนเลข เรียนภาษากันเร็วมากตั้งแต่ชั้นอนุบาล ซึ่งแตกต่างจากฟินแลนด์ที่เริ่มเรียน ตอน 9 ขวบ เพราะเป็นวัยที่เด็กเรียนรู้ได้ดีที่สุด” นีนา กล่าว

ผศ.ทิพย์ลักษณ์ โกมลวณิช รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ กล่าวว่า จาก 5 ปัจจัยที่ในหนังสือ Teach Like Finland ระบุไว้นั้น เรื่อง กรอบความคิด เป็นปัจจัยสำคัญและเป็นจุดตั้งต้นวิธีคิด กำหนดวิถีชีวิต ที่จะทำให้เด็กสามารถนำปัจจัยนี้ไปใช้ได้ตลอดชีวิต ซึ่งประโยชน์จากการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ คือ การนำเรื่องของการจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนกลับไปพัฒนาต่อยอด โดยประยุกต์เกมในการที่ให้เด็กละลายพฤติกรรม เทคนิคการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ให้สนุกและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นักศึกษาตอนนี้คือผลผลิตเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว แต่ปัจจุบันเด็กกำลังพัฒนาตามรูปแบบการเรียนการสอนที่ใกล้เคียงกับฟินแลนด์อยู่

การเปลี่ยนห้องเรียนธรรมดา ให้กลายเป็นการเล่นเสริมทักษะการเรียนรู้นั้น นับเป็นพื้นฐานที่สามารถเปลี่ยนแปลงและประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของไทยได้ไม่ยาก เพราะถึงแม้รูปแบบหลักสูตรของไทยจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แต่ก็สามารถเชื่อมโยงนำหลักการดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการศึกษาไทย ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่น่าพอใจได้


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"