สสส.-สินเจริญบราเธอร์ขับเคลื่อนเรือนจำสุขภาวะ


เพิ่มเพื่อน    

                 

                  สสส.ขับเคลื่อนเรือนจำสุขภาวะ มุ่งสร้างสุขภาวะพื้นฐานผู้ต้องขัง แจงตัวเลข 46% ซึมเศร้าคุกคาม หนุน The Prison Project“สินเจริญบราเธอร์” ศิลปินจิตอาสาเพื่อนร่วมทางเติมพลังบวกใช้ดนตรีเยียวยาใจ “ผู้ต้องขัง” คืนคนใหม่กลับสู่สังคม พร้อมด้วยกลุ่มพันธมิตร, วิฑูรย์ ศิลาอ่อน นักธุรกิจผู้บริหารเครือ S&P, ผิง เฉิน อุปนายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน, สาโรจน์ เลิศพงษ์วรพันธ์ ผจก.แผนกส่งเสริมการขาย ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9, อภิชาต ไทยรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย ร่วมสนับสนุน 15 ผู้ต้องขังหญิงอยุธยาโชว์พลังด้วยเสียงเพลงใจใหญ่กว่าอะไรทั้งนั้น พร้อมเปิดตัวผู้พ้นโทษหัวใจดวงใหม่กลับสู่สังคมด้วยอาชีพสุจริต

                งานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ The Prison Project : สร้างหัวใจดวงใหม่กลับสู่สังคม” ที่ชั้น 7 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 เมื่อวันที่ 16 กันยายน โดย “สินเจริญบราเธอร์” ประกอบด้วย บอม สุทธิศักดิ์, เบิ้ล ธีรยุทธ และบอย ธนัญชัย สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งเป็นโครงการเสริมสร้างสุขภาวะจิตในเชิงบวก เริ่มต้นที่ทัณฑสถานหญิง 4 เรือนจำ เรือนจำในกรุงเทพมหานคร เรือนจำในเขตปริมณฑลและเรือนจำในจังหวัดใกล้เคียง เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แดนหญิง) ทัณฑสถานบำบัดพิเศษหญิง (คลองห้า) เรือนจำกลางนครปฐม ทัณฑสถานหญิงธนบุรี

                ในงานนี้วงดนตรีทีมสราญใจร้องนำโดยปราชญ์ จูน แซ็ก-เล่นดนตรีกู่เจิ้งดังก้องกังวานไปทั่วชั้น 7 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 โดยมีเชอรี่ The Voice Thailand ทำหน้าที่พิธีกร ทั้งนี้ยังเปิดตัวพันธมิตรสำคัญร่วมสนับสนุนบนเวที ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส., วิฑูรย์ ศิลาอ่อน นักธุรกิจผู้บริหารเครือ S&P, ผิง เฉิน, ณัฐพัชร์ เชษฐธนินภัชร์ อุปนายกสมาคมนักธุรกิจยุคใหม่ไทย-จีน, สาโรจน์ เลิศพงษ์วรพันธ์ ผจก.แผนกส่งเสริมการขาย ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9, อภิชาต ไทยรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย, คืนสิทธิ์ สุวรรณวัฒน์ (พิธีกรคู่กับวิทวัส สุนทรวิเนตร์ รายการตีสิบ)

                ภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. ในฐานะประธานเปิดงาน กล่าวว่า ประเทศไทยมีปัญหาผู้ต้องขังล้นคุก และเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อมูลจากกรมราชทัณฑ์ พบว่าปี 2561 มีจำนวนผู้ต้องขังรวม 355,543 คน แบ่งเป็นชาย 308,532 คน และผู้ต้องขังหญิง 47,011 คน ถือว่ามีผู้ต้องขังมากเป็นอันดับ 6 ของโลก และมีผู้ต้องขังหญิงสูงเป็นลำดับ 4 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย รองจากประเทศอินเดีย จีน การที่มีผู้ต้องขังจำนวนมากเกินกว่าที่เรือนจำจะรับได้ ทำให้เกิดปัญหาทั้งความแออัด น้ำดื่ม น้ำใช้ ขาดแคลนพื้นที่สำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งล้วนผลต่อสุขภาวะทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

                ภรณีกล่าวต่อว่า สสส.สนับสนุนขับเคลื่อนเรือนจำสุขภาวะ ซึ่งหมายถึงเรือนจำ มีสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ สังคม และวัฒนธรรมที่ผู้ต้องขังได้รับการปฏิบัติที่เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ให้ผู้ต้องขังมีโอกาสได้พัฒนาตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ เพื่อให้กลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ นำไปสู่การสร้างสังคมที่มีสุขภาวะที่ดี ผ่านกิจกรรมหลากหลาย เช่น โยคะในเรือนจำ การปลูกพืชผักและพืชสมุนไพร รวมถึง Music Therapy

                เรือนจำสุขภาวะ 7 ด้าน ดูแลตัวเองมีพลังความคิด และทำให้ผู้ต้องขังได้รับการฟื้นฟู มองโลกผ่านเสียงดนตรี มีทักษะในศิลปะทุกด้าน ทุกคนร้องเพลงเป็น ดึงการมีส่วนร่วมได้รับโอกาสที่ดี เป็นการสร้างความประทับใจในจิตวิญญาณ เป็นสะพานเชื่อมเรือนจำสู่โลกภายนอก ช่วยให้สังคมเปิดโอกาสหลายมุมมองใหม่แก่ผู้ต้องขัง ในเรือนจำแต่ละแห่งมีผู้ต้องขัง 1,000 คนขึ้นไป ตลอดทั้งโครงการมีการเสริมสร้างสุขภาวะจิต เสริมกำลังใจให้ผู้ต้องขังมากกว่า 6,000 คน มีตัวอย่างผู้พ้นโทษที่สามารถประกอบอาชีพเป็นที่ยอมรับในสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมที่จะประชาสัมพันธ์ให้กับสังคมในวงกว้าง เพื่อจะได้สร้างทัศนคติที่ดีในเชิงบวกต่อผู้พ้นโทษในอนาคตต่อไป

                “เราไม่ควรมีผู้ต้องขังเยอะขนาดนั้น ต้องประคับประคองให้มีชีวิตตามอัตภาพ มีการสำรวจว่า เมื่อ 3 ปีก่อนปล่อยผู้ต้องขังจากเรือนจำ 33% กลับเข้ามาในเรือนจำด้วยความผิดซ้ำๆ เมื่อพ้นโทษ เป็นเพราะสังคมไม่ได้ให้โอกาส ปัญหานี้ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน การเปิดโอกาสให้คนดีกลับคืนสู่สังคมเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งผลการสำรวจจากโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ โดยสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต พบว่าผู้ต้องขังร้อยละ 45.67 มีภาวะซึมเศร้า ปัญหาสุขภาพจิต หรือโรคทางจิตเวช อยู่แยกจากครอบครัวตัวเอง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด เรื่องสุขภาวะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงได้รับ”

                "โครงการ The Prison Project : คืนคนใหม่ ให้สังคมไทยแข็งแรง เป็นโครงการที่ สสส.สนับสนุน โดยมีการนำเอาแนวคิดเรือนจำสุขภาวะเข้ามาปรับใช้ในโครงการ ทำให้ผู้ต้องขังมีพลังชีวิต คิดบวก สร้างกำลังใจให้ผู้ต้องขังผ่านเสียงเพลง และกลับมามีโอกาสสร้างที่ยืนในสังคมได้ โดยดำเนินการเล่นดนตรีเพื่อชีวิตในลักษณะของคอนเสิร์ตใน 4 เรือนจำ คือ เรือนจำอยุธยา เรือนจำธนบุรี เรือนจำนครปฐม และเรือนจำธัญบุรี" ภรณีกล่าว

                สุทธิศักดิ์ สินเจริญ (บอม) ผู้รับผิดชอบโครงการ The Prison Project กล่าวว่า โครงการนี้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจและกำลังใจให้แก่ผู้ต้องขังที่ถูกควบคุมตัวมีโอกาสกลับตัวกลับใจ และสำนึกในความผิดก่อนกลับไปเป็นคนดีของสังคม และในส่วนของผู้ต้องขังที่ใช้เวลาว่างหลังฝึกอาชีพ รวมตัวกันจัดตั้งวงดนตรีเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึก ใช้ดนตรีปลอบโยนจิตใจ ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ส่วนตัวอยากให้ทุกคนมีส่วนร่วมกับโครงการสร้างหัวใจดวงใหม่กลับสู่สังคม “เมื่อ 3 ปีก่อนผมให้เงินผู้ต้องขัง 3 หมื่นบาทซ่อมกีตาร์โปร่ง ไม่ได้คาดหวังว่ากีตาร์โปร่งจะกลับมาดีเหมือนเดิม แต่อยากให้โอกาสผู้ต้องขังกลับตัว มีที่ยืนในสังคม ขณะนี้ผู้ต้องขังคนนั้นพ้นโทษแล้ว รวมทั้งผู้ต้องขังหญิงที่พบกันข้างนอกโดยบังเอิญที่สนามเสือป่า เมื่อผมไปซื้อโทรศัพท์มือถือแล้วเธอเป็นคนขายโทรศัพท์มือถือ บอกกับผมว่าหนูพ้นโทษแล้ว”

                “ผมใช้เงินทุน 3 พี่น้องเล่นดนตรีทุกวัน เก็บหอมรอมริบทำโครงการ The Prison Project ให้บอยเป็นคนตั้งชื่อให้ อุปสรรคมีทุกครั้ง แต่มีเจ้าหน้าที่ช่วยคลี่คลาย การเข้าไปในเรือนจำเป็นแดนสนธยา มีข้อจำกัดหลายอย่าง เมื่อเราพิสูจน์ว่าเราทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องขังจริงๆ

                ประชา ประสงค์ธรรม นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ เรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นำผู้ต้องขังจากเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (แดนหญิง) ทั้งหมด 15 คน สวมเสื้อ Cook 9 Coff วังจันทร์ Fresh Coffee มาร่วมร้องเพลงใจใหญ่กว่าอะไรทั้งนั้น.. “ปล่อยหัวใจตัวเองออกมา อาจจะมีบางครั้งเรานั้นล้มลง และยังคงไม่มีหนทางไปต่อ เรื่องมันรุมเร้าใจแค่นั้น บอกเลยไม่ต้องท้อ คิดว่ายังไม่พอที่จะทำร้ายเรา ไม่ต้องโทษใครทั้งนั้น เราต้องมั่นใจว่ายังมีหนทางทำให้ไปต่อ บอกหัวใจเราชัดๆ บอกเลยว่าไม่ท้อ เกิดมาหนึ่งชีวิต (ยกมือขวาขึ้น) เพราะใจของเราใหญ่กว่าอะไรทั้งนั้น ใจใหญ่กว่า ใจนั้นสำคัญ คนเราวัดกันที่หัวใจ ไม่โทษใครทั้งนั้น เราต้องมั่นใจ เพราะยังมีหนทางให้ไปต่อ....บอกหัวใจเราชัดๆ บอกเลยว่าไม่ท้อ ....”

                ในช่วงท้ายเป็นรายการสัมภาษณ์พิเศษเพื่อสร้างแรงบันดาลใจจากผู้พ้นโทษตัวอย่างจากโครงการ The Prison Project : คืนคนใหม่ให้สังคมไทยแข็งแรง ไพวรรณ น้อยคูณ, ศศิธร สุวรรณเทศ ที่ขณะนี้ทั้งสองประกอบอาชีพสุจริตด้วยการซ่อมเครื่องดนตรีและขายโทรศัพท์มือถือฯลฯ ศศิธร สุวรรณเทศ กล่าวว่า “กว่าหนูจะยืนถึงจุดนี้ทำได้ยาก หนูพูดจากใจจริง เป็นเพราะแรงบันดาลใจจากพี่ๆ วงดนตรีสินเจริญที่ให้กำลังใจ ฝากถึงพี่ๆ น้องๆ ทุกคน คนเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่อยู่ที่ตัวเราเลือกดีเลือกชั่วได้ สังคมให้โอกาสผู้ต้องขังทำให้มีวันนี้ได้”.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"