'โกษาปาน'นักการทูตผู้สุขุม รูปงาม


เพิ่มเพื่อน    

   
    วันนี้ยังอยู่ที่ละครอิงประวัติศาสตร์บุพเพสันนิวาส  บุคคลที่ การะเกต ชื่นชมมากที่สุดคนหนึ่งคือ  เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ผู้มีบทบาทในด้านการต่างประเทศสูงในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
     เจ้าพระยาโกษาปาน   เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต (บัว) ซึ่งเป็นพระนมในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับขุนนางเชื้อสายมอญ เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระนัดดาในสมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญ และท่านได้เดินทางไปพร้อมกับเชอวาเลีย เดอ โชมองต์ โดยขณะนั้นยังมีบรรดาศักดิ์เป็นออกพระวิสุทธิสุนทร 
    ท่านได้อยู่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเวลา 6 เดือนท่านจึงกลับสยาม ภายหลังท่านถึงแก่อสัญกรรมในสมัยสมเด็จพระเพทราชา
    นอกจากนี้เจ้าพระยาโกษาปานท่านยังเป็นบิดาของเจ้าพระยาวรวงษาธิราช (ขุนทอง) และเป็นปู่ของ พระยาราชนิกูล (ทองคำ) ซึ่งเป็นบิดาของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกผู้เป็นพระปฐมวงศ์ของพระมหากษัตริย์ไทยในราชวงศ์จักรี
    ออกญาโกษาธิบดี มีชื่อเดิมว่า ปาน  เป็นน้องชายของออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) ต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระวิสุทธสุนทร (ปาน) ในสมัยที่โกษาปานดำรงตำแหน่งเป็นพระวิสูตรสุนทรได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส 
    ในสมัยดังกล่าวฝรั่งเศสมีอิทธิพลในราชสำนักของพระนารายณ์มาก จุดประสงค์ของฝรั่งเศส คือ การเผยแพร่คริสต์ศาสนา และพยายามให้พระนารายณ์เข้ารีตเป็นคริสต์ชนด้วย 
    รวมทั้งยังพยายามมีอำนาจทางการเมืองในอยุธยา ด้วยการเจรจาขอตั้งกำลังทหารของตนที่เมืองบางกอกและเมืองมะริด
    เจ้าพระยาโกษาปานเดินทางไปกับเรือฝรั่งเศสเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2228 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 และเดินทางกลับเมื่อ 27 กันยายน พ.ศ. 2230 รวมเดินทางไปกลับอยุธยาฝรั่งเศสทั้งหมด 1 ปี 9 เดือน 
    เจ้าพระยาโกษาปานเป็นนักการทูตที่สุขุม ไม่พูดมาก ละเอียดลออในการจดบันทึกที่ได้พบเห็นในการเดินทางครั้งนั้น 
    ในการเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14   ออกพระวิสุทธิ์สุนทร (ปาน) ได้กระทำหน้าที่เป็นผู้แทนของราชสำนักอยุธยาอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีการเข้าเฝ้า จนชาวฝรั่งเศสได้กล่าวยกย่องชื่นชมคณะทูตไทย ซึ่งถือว่าการไปเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 


    การเจริญสัมพันธไมตรีครั้งนั้นได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในทวีปยุโรป เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินทางด้านตะวันออกแต่งคณะราชทูตไปยังสำนักฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ทรงจัดการรับรองคณะราชทูตจากกรุงศรีอยุธยาอย่างสมเกียรติยศ และโปรดให้จัดทำเหรียญที่ระลึก และมีการเขียนรูปราชทูตไทยเข้าเฝ้า พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสเป็นที่ระลึกด้วย
    พระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้ว่า เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงส่งพระยาโกษาปานไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ตอนที่เจ้าพระยาโกษาปานเดินทางไปถึงเมืองเบรสต์ เมืองท่าทางภาคใต้ของฝรั่งเศส ทางราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ส่ง มองสิเออร์ เลอกงต์ ญัง เดอ วีเซ ติดตามคณะราชทูตไทยตั้งแต่ขึ้นฝั่งจนส่งลงสำเภากลับ 
    และบันทึกบทบาทของราชทูตไทยไว้โดยละเอียด นำออกพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ.2229 หลังที่เจ้าพระยาโกษาปานกลับไม่นาน ในชื่อ “Voyage des Ambassadeurs de Siam en France” ซึ่งกล่าวถึงความประทับใจของคนทั้งหลายต่อความเฉลียวฉลาดมีไหวพริบและมีคารมเป็นเลิศของโกษาปาน 
    โดยเฉพาะคำกราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสในวันเข้าเฝ้าเพื่อทูลลากลับนั้น เป็นที่ประทับพระราชหฤทัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นอย่างมาก ทรงรับสั่งให้จดไว้ทุกตัวอักษรแล้วพิมพ์แจกจ่ายให้อ่านกันทั่วราชสำนัก 
    ในปลายสมัยของพระนารายณ์มีความรู้สึกต่อต้านชาวต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งเศส ในหมู่ขุนนางไทยและพระสงฆ์ พระเพทราชา เจ้ากรมช้าง (ซึ่งต่อมาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 28 ของอยุธยา) ทรงเป็นผู้นำในการต่อต้านครั้งนี้ 
    เจ้าพระยาโกษาปานได้เข้าเป็นฝ่ายของพระเพทราชา เมื่อพระเพทราชาปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ โกษาปานได้รับมอบหมายให้เป็นผู้เจรจากับนายพลฝรั่งเศสที่คุมป้อมอยู่ที่เมืองบางกอกให้ถอนทหารออกไปจากอาณาจักรไทยได้สำเร็จ
    เจ้าพระยาโกษาปาน เป็นชายหนุ่มที่มีรูปงาม กิริยามารยาทเรียบร้อย มีไหวพริบดีรู้จักโต้ตอบ ได้ถูกเรื่องราวและกาลเทศะ ไม่มีอาการประหม่าสะทกสะเทิ้นเขินอาย เป็นคนช่างสังเกตจดจำสิ่งที่พบเห็นได้ทุกอย่าง


    เมื่อเปลี่ยนแผ่นดินเป็นสมเด็จพระเพทราชานั้น พระยาโกษาปาน  นั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี 
    แต่ด้วยเหตุที่เป็นคนซื่อสัตย์ต่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ ดังนั้นเมื่อเห็นว่าสมเด็จพระเพทราชากระทำการไม่สมควรกรณี แต่งตั้งทั้งพระมเหสีและพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์เป็นพระมเหสี จึงทำให้สมเด็จพระเพทราชานั้นทรงกริ้วเป็นอันมาก จึงหาเหตุให้ต้องพระราชอาญา เมื่อ พ.ศ. 2243 ภรรยาตลอดจนทรัพย์สมบัติของท่านก็ถูกริบหมด และมีโทษโบยด้วยเชือกจนสลบ 
    เล่ากันว่าหลังนั้นไม่มีเนื้อดีจนมีการกล่าวกันว่า เจ้าพระยาโกษาปาน นั้นมีความเกรงกลัวพระราชอาญาเสียจนไม่กล้าที่จะกราบทูลเรื่องสำคัญๆ จนในที่สุดถึงแก่อสัญกรรม ด้วยความโทมนัสที่ถูกพระราชอาญาและต้องโทษโบยอยู่เสมอ
    ส่วนครอบครัวของท่านก็ได้แตกฉานซ่านเซ็นไปอยู่คนละทิศละทาง เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งสุดท้าย คุณทองดีซึ่งเป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาโกษาปานได้อพยพไปอยู่กับเจ้าพระยา​พิษณุโลก​ (เรือง) 
    ต่อมาเมื่อเหตุการณ์สงบได้มาตั้งนิวาสสถานอยู่ ณ ตำบลสะแกกรัง เมืองอุทัยธานี ท่านผู้นี้ปรากฏว่าเป็นบิดาของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    ออกญาโกษาปาน ได้รับการยกย่องสรรเสริญในเรื่องความสามารถทำให้ไทยเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ และจากบุคลิกของท่านที่เฉลียวฉลาด มีมารยาทเรียบร้อย ช่างสังเกต ช่างจดจำ พูดจาหลักแหลมคมคาย ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการประกาศชื่อเสียง และเกียรติคุณของประเทศชาติ 
    จากผลงาน การเป็นหัวหน้าคณะราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสจนประสบผลสำเร็จของออกญาโกษาปาน ทำให้ไทยรอดพ้นจากการคุกคามของฮอลันดา
    ต่อมาในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาภาษาอังกฤษไปถึงเซอร์จอห์น บาวริ่ง ที่เคยเป็นราชทูตอังกฤษเข้ามาใน พ.ศ.2398และมีความสัมพันธ์สนิทสนมกันเป็นการส่วนพระองค์ ทรงขอให้หาหนังสือที่เกี่ยวกับราชทูตฝรั่งเศสเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาถวาย และทรงกล่าวถึงเรื่องที่เจ้าพระยาโกษาปานไปฝรั่งเศสไว้เช่นกัน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"