“เศรษฐพงค์” จี้ “กสทช.”เปิดแผนโรดแมป 5G ให้ชัดเจน หวั่นดึงคลื่น 3.5 GHz สะเทือนไทยคม


เพิ่มเพื่อน    

21 ต.ค. 2562 พันเอก เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และรองประธานคณะกรรมาธิการ การสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอี) เปิดเผยว่า คลื่นความถี่ในย่าน 3.5 GHz หรือ C-band เป็นคลื่นความถี่ที่ถือเป็นยุทธศาสตร์สำหรับเทคโนโลยี 5G เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกในการทำ 5G มีอุปกรณ์รองรับเป็นจำนวนมาก แต่ในประเทศไทยคลื่นความถี่ย่านนี้ใช้ในกิจการดาวเทียม ดังนั้นหน่วยงานกำกับดูแลของประเทศโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงควรมีการวางแผนจัดสรรคลื่นความถี่ ( Roadmap)  สำหรับการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 3.5 GHz และที่สำคัญควรจะต้องมีการวางแผนร่วมกันกับหน่วยงานกำกับดูแลในประเทศอื่นๆ ในระดับภูมิภาคด้วย


ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนของแผนจัดสรรคลื่นความถี่ในย่านนี้ เพื่อเลือกวิธีการที่เหมาะสมในอนาคตสำหรับแผนงานในการจัดสรรคลื่นความถี่ 3.5 GHz ในอาเซียน เพราะอาจเกิดผลกระทบกับดาวเทียมไทยคม 5 และไทยคม 7 ซึ่งจะต้องมีการหารือร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้มีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เพราะหากมีความเห็นไม่สอดคล้องกัน จะก่อให้เกิดปัญหาการประสานงานคลื่นความถี่ที่จะทำให้เกิดปัญหาการรบกวนกันของสัญญาณ


อย่างไรก็ตามการวางโรดแมปในการจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 3.5 GHz สำหรับเทคโนโลยี 5G ควรมีการดำเนินการดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและตัดสินใจ

ตรวจสอบการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 3.3 - 4.2 GHz ในปัจจุบันประเมินศักยภาพสำหรับการใช้ช่องสัญญาณร่วมกัน และการใช้คลื่นความถี่ในช่องสัญญาณข้างเคียง

ประเมินทางเลือกและวิเคราะห์ผลประโยชน์ทางด้านต้นทุน ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินงานสำหรับการใช้คลื่นความถี่ในช่องสัญญาณเดียวกัน (Co-channel) โดย แจ้งผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับมาตรการและเวลาในการดำเนินการการใช้คลื่นความถี่ในช่องข้างเคียง (Adjacent channel)  และแจ้งผู้ประกอบการเกี่ยวกับมาตรการเพื่อลดการรบกวน

การประสานงานและการจัดการข้ามพรมแดน


นอกจากนี้ขั้นตอนที่ 3 การจัดสรรใบอนุญาต ควรกำหนดเงื่อนไขทางเทคนิคสำหรับคลื่นความถี่ที่จะนำมาจัดสรร ออกแบบการจัดสรรใบอนุญาตที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์หลักของประเทศ ดำเนินการจัดสรรใบอนุญาต ขณะที่การจัดสรรคลื่นความถี่หน่วยงานกำกับดูแลควรจะต้อง มีการกำหนดความชัดเจนทั้งในเรื่องระยะเวลาและคลื่นความถี่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่มากขึ้น และช่วยผู้ประกอบในการวางแผนการลงทุน 5G และพัฒนาเครือข่าย อำนวยความสะดวกในการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ต่อเนื่อง และหามาตรการในการใช้คลื่นความถี่ที่เหมาะสม เนื่องจากการพัฒนาเครือข่าย 5G ที่มีประสิทธิภาพ ควรจะต้องใช้แบนด์วิดท์ที่มีขนาดใหญ่และต่อเนื่องกันจำนวน 80 - 100 MHz 

สร้างความมั่นใจว่ากลไกการออกใบอนุญาตที่เหมาะสมนั้นได้รับการออกแบบมาอย่างดี โดยคำนึงถึงเงื่อนไขเฉพาะของตลาด นอกเหนือไปจากเงื่อนไขทางด้านการเงิน เช่น ความครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ การพัฒนาอุตสาหกรรม ความสามารถในการใช้บริการของประชาชน และคุณภาพของการบริการ


ทั้งนี้หากประเทศไทยจะเดินหน้าเข้าสู่ 5G ในปี 2020 ควรต้องดำเนินการในเรื่องคลื่นความถี่ให้ชัดเจน ทั้งในเรื่องคลื่นความถี่ที่จะนำมาใช้ เงื่อนไขในการประมูลคลื่น ในขณะที่ในประเทศต่างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ และทางฝั่งยุโรป ได้เตรียมการจัดสรรช่วงคลื่นดังกล่าวมาให้บริการ 5G กันแล้ว ประเทศเหล่านั้นจึงไปได้เร็ว


“การเรียกคืนคลื่นความถี่ย่าน 3.5 GHz ที่ปัจจุบัน ไทยคม เป็นผู้ถือครองอยู่นั้น จะเป็นเรื่องยากหรือง่ายในการเรียกคืนขึ้นอยู่กับความจริงใจของทุกฝ่ายว่าอยากให้  5G มาตรฐานโลกเกิดในไทยหรือไม่ ส่วนการเปิด 5G ของลาวที่กำลังจะเปิดให้บริการ 5G แต่ก็เป็นเพียงการเปิดระบบ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการให้บริการระบบ 5G ในประเทศไทยเป็นอะไรที่จะมีมูลค่ามากกว่าประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ เนื่องจากไทยมีนิคมอุตสาหกรรม มีระบบการแพทย์ที่มีพื้นฐานดี ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเปิดแต่ไม่มี กรณีการใช้งานจริง (Use case) อย่างจริงจัง


รายงานข่าวแจ้งว่า ลาวเตรียมเปิดตัวบริการ 5G โดย LTC จะเป็นบริษัทแรกที่ให้บริการโดยการเปิดตัวจะเปิดในการประชุมรัฐมนตรีด้านICT ของอาเซียน ระหว่างวันที่ 21-25 ตุลาคมนี้ ที่กรุงเวียงจันทร์


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"