โคก หนอง นา โมเดลฟื้นผืนป่าบ้านฮ่าง จ.ลำปาง


เพิ่มเพื่อน    


ภาพเขาหัวโล้นแถบภาคเหนิอ ที่คนไทยเห็นจนชินตา ผลจากการแผ่วถางป่าเพื่อปลูกพืชไร่เชิงเดี่ยว การบุกรุกตัดไม้ ทำให้ป่าไม้ถูกทำลาย ทำลายหน้าดินเสียหาย  ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบว่าประเทศไทยมีป่าต้นน้ำเหลืออยู่เพียงร้อยละ 23.01 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ซึ่งภาคเหนือเป็นพื้นที่ที่มีป่าต้นน้ำมากที่สุด ร้อยละ 42.25 ในทางการแก้ปัญหาก็ยังไม่สามารถที่จะลงมือทำและเห็นผลได้ในทันที่ ด้วยปัจจัยหลักคือ คน เพราะผู้ครอบครองพื้นที่ ที่ยังคงใช้ผืนป่าใช้สอยเพื่อประโยชน์ส่วนตน นำไปสู่ปัญหาน้ำป่าไหลหลาก ไฟป่า น้ำท่วม อีกทั้งยังส่งผลด้านสุขภาพจากการได้รับสารเคมีจากการเกษตรสะสม


บ้านแม่ฮ่าง ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง คือหนึ่งในพื้นที่ที่มีเขาหัวโล้นถึงจะไม่มากเท่ากับพื้นที่ภาคเหนืออื่นๆ แต่ก็มีพื้นที่ป่าต้นน้ำกว่า 600ไร่ ป่าใช้สอยอีก 700 ไร่ และพื้นที่ทำกินกว่า 1 พันไร่  ซึ่งส่วนใหญ่ประชากรในพื้นที่ประมาณ 144 ครัวเรือน ปลูกพืชเชิงเดี่ยว  โดยเฉพาะข้าวโพด ดังนั้นพื้นที่ 100 ไร่ ของชาวบ้านที่เข้าร่วมในการนำแนวทางศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยรูปแบบ โคก หนอง นาโมเดล มาปรับใช้เพื่อเป็นตัวอย่าง  ในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงผืนป่าในไทย ในโครงการวิจัยการออกแบบเชิงภูมิสังคมไทยการติดตามและประเมินผลเพื่อบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ภายใต้โครงการโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดิน” ปี7  โดยบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัดร่วมกับศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (Integrated TechnologyOperations KMITL (ITOKmitl) และภาคีเครือข่าย


ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร หรืออาจารย์ยักษ์ นายกสมาคมดินโลก และที่ปรึกษามูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวว่า การทำวิจัยในโครงการครั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรได้เห็นถึงประโยชน์ของการนำศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะหัวใจของศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่นอกเหนือไปจากการออกแบบพื้นที่และการทำ โคก หนอง นา คือ การพัฒนาคนซึ่งมีกระบวนการสำคัญ 4 ข้อ คือ เปลี่ยนความคิด เรียนรู้ทักษะ ฝึกให้มีความชำนาญและจัดเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาต่อในอนาคต


  สำหรับ พื้นที่บ้านแม่ฮ่าง มีชาวบ้านส่วนหนึ่งที่เห็นด้วยกับการทำตามศาสตร์พระราชาจำนวน 10 ครัวเรือน อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2559  ซึ่งเดิมพื้นที่ส่วนใหญ่ชาวบ้านปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพดจำนวนมาก แม้ว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจ แต่การปลูกแค่ข้าวโพดได้ทำลายสภาวะการเป็นป่าต้นน้ำ ทำให้ความสามารถในการอุ้มน้ำของภูเขาก็หายไป ทำให้เวลาฝนตกก็จะซัดเอาหน้าดินซึ่งเป็นดินที่มีปุ๋ยสมบูรณ์ที่สุด ไหลลงไปจากภูเขาหัวโล้นก็จะขุ่นเป็นโคลน ตะกอนดิน กักเก็บไว้ในหนอง คลอง บึง หรือเขื่อน คิดเป็นปริมาณน้ำฝนไร่ 1 ที่ไหลลงไปยังด้านล่างจาก 2.5 -3 พันคิวบิกเมตร ก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 4 พันคิวบิกเมตร ที่ทำให้เกิดการตื้นเขิน ดังนั้นแม้จะสร้างฝาย สร้างเขื่อนก็จะไม่สามารถที่จะเก็บน้ำไว้ได้ นำไปสู่ปัญหาน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก และไฟป่า


"การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ เราต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ซึ่งตอนนี้มี 7 กลุ่มหลัก ที่ช่วยกันผลักดัน  คือ 1.ภาครัฐ 2.ครู ที่มีโรงเรียนกว่า 3 หมื่นโรงเรียน และ อีก 200 มหาลัย ที่จะต้องทำงานวิจัยเกี่ยวกับป่าให้มากขึ้น  และพระ ที่มีกว่า  4 หมื่นวัด นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญในการชี้นำสังคม 3. ประชาชน ที่มีบทบาทกับพื้นที่และการลงมือทำ 4. ภาคเอกชน ที่จะมีพลังร่วมสนับสนุน 5. สื่อมวลชน มูลนิธิภาคประชาสังคม เชื่ออย่างยิ่งว่าหากเกิดการร่วมมือกันไม่ถึง 10 ปี ปัญหาป่าต้นน้ำจะมีทิศทางที่ดีขึ้น” อ.ยักษ์ กล่าว


ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาประเทศ สจล. กล่าวว่า ในการลงสำรวจพื้นที่ก่อนทำวิจัยพื้นที่ทั้ง 100 ไร่ ที่ทำตามโมเดล โคก หนอง นา มีชาวบ้านเข้าร่วม 14 ราย  ซึ่งเดิมบ้านแม่ฮ่างมีสภาพเป็นภูเขาหัวโล้น ดินเสื่อมสภาพ  แข็งจากการใช้สารเคมีมานาน เกิดความแห้งแล้งในพื้นที่ หน้าดินถูกทำลาย กักเก็บน้ำได้ไม่เกิน 10% ของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ ส่วนรายรับชาวบ้านจากการขายข้าวโพดอย่างเดียวไม่แน่นอน  เช่น มีรายได้จากข้าวโพดปีละ 30,000 บาท และมีรายจ่ายเรื่องสารเคมี ซึ่งรายได้ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ ที่สำคัญคือ ชาวบ้านขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการดิน น้ำ ป่า ตามแนวทางศาสตร์พระราชา   แต่หลังจากเริ่มทำการวิจัยกว่า 3 ปี จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลง  ทั้งในเรื่องของดิน พบมีแร่ธาตุ NPK จากสารเคมีลดลง พันธุ์ไม้ และสัตว์หน้าดินเพิ่มขึ้น ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ อุ้มน้ำได้ดี  ในส่วนของน้ำ ในพื้นที่วิจัยไม่ตรวจพบสารเคมีตกค้าง สามารถเก็บน้ำใต้ดินโดยเฉลี่ยได้ถึง 45% ของปริมาณน้ำฝนที่ตกลงในพื้นที่ ส่วนที่เหลือจะเก็บในหนอง นา  และคลองไส้ไก่ หรือน้ำบนดิน ซึ่งสามารถเก็บได้เกิน 100% ทุกแปลง ด้วยการจัดการน้ำด้วยหลุมขนมครก ในรูปแบบ โคก หนอง นา มีการเน้นการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ครอบคลุมการปลูกต้นไม้ 5 ระดับ คือ สูง กลาง เตี้ย เรี่ยดิน และหัวใต้ดิน รายได้จากการปลูกพืช และการเป็นวิทยากร ลดค่าใช้สารเคมีได้มาก ที่สำคัญคือ คน ที่มีความเข้าใจถึงความสำคัญและสัมพันธ์กันของ ดิน น้ำ ป่า เลิกเผาป่า กลายเป็นจิตอาสา และสามารถต่อยอดเป็นวิทยากร ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการวิจัยสามารถให้ความรู้แก่ผู้อื่นได้


“อย่างในพื้นที่ของ นายประวีณ ศิราไพบูลย์พร หรือ ติ่ง ที่มีพื้นที่ 48 ไร่ และได้นำพื้นที่เข้าทดลองเพื่อเป็นตัวอย่างโครงการฯ 10 ไร่ และขยาย เพิ่มอีกประมาณ 11 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ที่เหลือก็ยังคงปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งติ่งมีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการทำตามแนวศาสตร์พระราชาอย่างมาก ทั้งเป็นผู้นำโคก หนอง นา โมเดล มาออกแบบในพื้นที่ตนเอง ในปีแรกดินในพื้นที่ก็เริ่มมีการฟื้นฟู  ต้นไม้ต่างๆเริ่มเจริญงอกงาม ทำให้เขามีโอกาสที่จะทำการขยายไปยังพื้นที่ที่เหลือ และยังเป็นวิทยากรแนะนำให้กับพื้นที่อื่นๆได้ดีอีกด้วย ซึ่งในอนาคตหากผลการวิจัยนี้สมบูรณ์ก็จะมีการนำไปต่อยอดเป็นหลักสูตรในมหาวิทยาลัย และผลักดันให้เกิดการลงมือทำอย่างจริงจังต่อไป” รักษาการผู้อำนวยการฯ กล่าว


ด้านนายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด กล่าวว่า โครงการวิจัยการออกแบบเชิงภูมิสังคมไทยการติดตามและประเมินผลเพื่อบริหารจัดการน้ำชุมชนอย่างมีส่วนร่วม คิดน่านี้จะเป็นอาวุธสำคัญที่จะเกิดการยอมรับในวงกว้าง รวมไปผู้กำหนดนโยบายมากขึ้นที่ไม่ใช่แค่ในเมืองไทยแต่อาจจะสามารถประยุกต์ใช้ในประเทศอื่นๆที่ประสบปัญหาเหมือนกับประเทศไทยด้วย


นายประวีณ ศิราไพบูลย์พร หรือ ติ่ง ชาวปกาเกอะญอ หมู่ 4 บ้านแม่ฮ่าง ต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง ที่ได้เปลี่ยนพื้นที่ 21 ไร่ ที่เคยเป็นไร่ข้าวโพดให้เป็นป่าใช้สอยจนพึ่งพาตนเองได้  เล่าว่า เมื่อก่อนมีที่เท่าไหร่ก็จะปลูกข้าวโพด ซึ่งปลูกมานานแล้ว เพราะการปลูกรอผลผลิตไม่นาน ซึ่งก็จะมีหนี้อยู่บ้างจากค่าปุ๋ยค่ายา  พอมีการอบรมเกี่ยวกับงานวิจัยนี้ก็เข้าร่วมทันที เพราะมีความสนใจ ในการนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ จึงได้มีการปรับพื้นที่ของตนให้เป็นขันบันได และขุดคลองไส้ไก่ ตามแนวเขา เพราะเป็นพื้นที่สูง ซึ่งการทำตรงนี้จะสามารถกักน้ำได้ในร่องคลองไส้ไก่ และยังสามารถนำน้ำจากฝายสู่พื้นที่เกษตรได้ด้วย ในพืชที่ตอนนี้ก็จะพืชต่างๆ อย่างกล้วย  ผักสวนครัว ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น และดีใจที่ได้มีโอกาสนำความรู้ไปเผยแพร่ต่อโดยเป็นวิทยากรอบรมในพื้นที่ของการวิจัย


อีกหนึ่งชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ นางปนัดดา ปิ่นเงิน หรือแดง ไร่ตะวันแดง หมู่ 4 บ้านแม่ฮ่าง ต.นาแก อ.งาว จ.ลำปาง บอกว่า มีความมุ่งมั่นที่จะปรับพื้นที่ 10 ไร่ จากพื้นทั้งหมด 24 ไร่ ตามโมเดลโคก หนอง นา แทนไร่ข้าวโพดอย่างจริงจัง แม้ในช่วงแรกจะมีความเห็นไม่ตรงกับครอบครัว แต่ตนก็ยังยืนยันที่จะทำ โดยเริ่มต้นจากการปรับพื้นที่ขุดคลองไส้ไก่ เวลาฝนตกจะกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับพืชผลได้ และปลูกต้นกล้วย และไม้ผลต่างๆมาเสริม มะม่วง เงาะ โกโก้ อโวคาโด้ และปลูกข้าวภายใน 1 ปี และจากเดิมที่มีหนี้สินจากการทำไร่ข้าวโพด กำไรไม่เยอะ แต่จะมีหนี้ค่ายาค่าปุ๋ย จากหนี้สินกองทุนหมู่บ้าน 30,000 บาท โครงการวิจัยฯก็มาช่วยปลดหนี้ให้ด้วยการทำธนาคารต้นไม้  โดยโครงการวิจัยฯให้ค่าตอบแทนการปลูกต้นไม้ต้นละ 10 บาท เพื่อนำไปชำระหนี้ซึ่งปลูกต้นไม้ไปกว่า 4,000 ต้น ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ได้กิน ได้ใช้ผลผลิตเหล่านี้ แม้จะมีรายรับที่ยังไม่มากนัก แต่รายจ่ายลดลง ไม่มีหนี้ อีกทั้งจะขยายให้ครบทั้งหมดในพื้นที่ที่มี เพื่อช่วยรักษาดินและป่าด้วย


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"