เปิดสูตรเปลี่ยน 'ศัตรู' เป็น 'มิตร' กระตุก 'ปชป.' พรรคร่วม 'จอมดื้อ'


เพิ่มเพื่อน    

แม้ที่สุดแล้ว ฝ่ายรัฐบาลจะสามารถคว่ำญัตติคณะกรรมาธิการ​ (กมธ.)​ วิสามัญศึกษาการใช้ศึกษาผลกระทบจากประกาศคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการใช้อำนาจของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ได้สำเร็จ แต่ดูเหมือนเรื่องราวยังไม่จบ

ควันหลง “งูเห่า” จากพรรคฝ่ายค้าน 10 ชีวิต และ 4 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่โหวตสวนมติคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ยังเป็นที่พูดถึง

พูดถึงทั้ง “เบื้องหน้า” และ “เบื้องหลัง” โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคประชาธิปัตย์ ที่คล้ายจะเคลียร์ใจ สมานรอยร้าวกันได้ หลังรับประทานอาหารร่วมกันที่สโมสรราชพฤกษ์ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับตรงกันข้าม

แม้ฝ่ายรัฐบาลจะได้ ส.ส.จากพรรคฝ่ายค้านมาช่วย  แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการควบคุมเสียงของ ส.ส.ของรัฐบาลไม่ได้ ทั้งที่มีสัญญาใจกันไว้แล้ว

  และนอกจากควบคุมไม่ได้ ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์บางคนยังคงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของผู้บริหารในรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการไม่เหมาะไม่ควรกับกติกาในการอยู่ร่วมกัน

ขณะที่ก่อนหน้านี้ 2 พรรคใหญ่ในรัฐบาล มีประเด็นเรื่องการทำงานที่ไม่เข้าขาในกระทรวงเศรษฐกิจ เมื่อเกิดประเด็นล่าสุด ทุกๆ เรื่องจึงถูกขยำรวมกันในทีเดียว และนำมาสู่การปล่อยข่าวปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์บางส่วนออก

แน่นอนว่า ในทางปฏิบัติ เรื่องที่เกิดขึ้นยังไม่ได้ร้ายแรงถึงขนาดต้องหักหาญน้ำใจกัน จนต้องผลักมิตรไปเป็นศัตรูในเวลารวดเร็ว เพียงแต่เป็น “สูตร” ที่มีการสำรองเอาไว้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่ผ่านมาไม่ใช่แค่มือเศรษฐกิจอย่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ที่วันนี้อึดอัดกับสภาวะการทำงานไร้ทีมเวิร์กของพรรคร่วมรัฐบาล หรือลูกพรรคพลังประชารัฐ ที่ไม่พอใจกับการดำเนินการบางอย่างของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ในสภาผู้แทนราษฎร แต่รวมถึง “3 ป.” ด้วย

   ตั้งแต่จัดตั้งรัฐบาลมา พรรคประชาธิปัตย์ถูกมองว่า ทำงานเป็นเอกเทศ มุ่งนโยบายพรรคตัวเอง โดยไม่สนภาพรวมของรัฐบาล

ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า อย่างไรรัฐบาลชุดนี้ก็ขาดพรรคเก่าแก่ไม่ได้ ในสภาวะที่เสียงปริ่มน้ำ

  หากแต่ไม่ใช่ความคิดของ “บิ๊กรัฐบาล” ชุดนี้ นั่นเพราะภายในพรรคประชาธิปัตย์เองก็ไม่ได้เป็นน้ำหนึ่งเดียวกัน มีทั้งสาย “เอาบิ๊กตู่” และ “ไม่เอาบิ๊กตู่”

  นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่สามารถคุมลูกพรรคได้หมดทุกคน ดังจะเห็นจากกรณี 4 ส.ส.โหวตแหกมติวิปรัฐบาล

  ขณะเดียวกัน “พรรคเพื่อไทย” ที่ใครต่อใครมองว่า เป็นศัตรูหมายเลข 1 ของ “พรรคพลังประชารัฐ” ความจริงแล้ว ส.ส.และแกนนำของทั้งสองพรรคมามีรากเหง้าเดียวกันมาก่อน

   และศัตรูหมายเลข 1 ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ในตอนนี้คือ พรรคคนรุ่นใหม่

   ในสภา แม้จะเห็นพรรคเพื่อไทยฟาดฟันใส่รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง แต่นั่นคือหน้าฉาก เมื่อเสร็จจากงาน ส.ส.หลายคนของ 2 พรรคนี้ ยังคงมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกันเช่นเดิม

  ห้องนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 คลาคล่ำไปด้วยเพื่อนฝูงจากทุกพรรคที่มาสนทนาพาที รับประทานอาหารร่วมกันอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายสรอรรถ กลิ่นประทุม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย

  ขณะที่ “กลุ่มสามมิตร” ที่นำโดยนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต่างก็มีพรรคพวกเพื่อนฝูงในพรรคเพื่อไทยมากมาย

    ขณะเดียวกัน ที่ผ่านมาภายในพรรคเพื่อไทยเองมีข่าวมาตลอดว่า “นายใหญ่” ไม่ค่อยได้เข้ามาดูแล และให้อิสระ  ส.ส.ในพรรคพอสมควร

    การจับมือกันระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทยอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ก็ไม่ได้ปิดประตูตายว่า ภายภาคหน้ามันจะไม่เกิดขึ้น

    มันเป็น “สูตร” ที่หากวันใดวันหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์ หรือแม้แต่พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ เกิดปริแยกจนไม่สามารถทำงานร่วมกันได้

     เป็นการเปิดสูตรให้เห็นว่า ถึงอย่างไร “3 ป.” จะไม่มีทางจนมุม แม้อยู่ในสภาวะน้ำปริ่มจมูก มันเป็นดังสัญญาณ “ขู่” ให้รู้ว่า วันนี้ดุลอำนาจในประเทศยังอยู่ในการควบคุมของใคร.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"