“ดรัมเซอร์เคิล”...จังหวะตีกลอง ตัวช่วยเด็กรับมือความเครียด


เพิ่มเพื่อน    

        คงไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าการที่เรารู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง เพราะเมื่อไรที่เรารู้เท่าทันความรู้สึกและความต้องการของตัวเองนั้น ย่อมทำให้เราสามารถหาทางออกในชีวิตได้ ไม่ว่ากำลังจะประสบปัญหาหรือทางตันในชีวิตด้านไหนก็ตามแต่ โดยการตีกลองเพื่อสะท้อนระดับอารมณ์อย่าง “ดรัมเซอร์เคิล (Drum Circle)...จังหวะแห่งความเข้าใจ”

                อ.เบิ้ม-นริศ มณีขาว วิทยากรผู้ให้คำปรึกษา Certificate Drum Circle & Drum Healing เป็นผู้ถ่ายทอดความองค์ความรู้เกี่ยวกับรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง เพื่อนำไปสู่แรงบันดาลใจในการรับมือกับปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้น จากจังหวะเสียงตีกลองของแต่ละคน ที่สำคัญหลักการในผู้ใหญ่ดังกล่าวสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กและเยาวชน ที่ปัจจุบันมีประสบปัญหาความเครียด ทั้งเรื่องของการเรียน การทำกิจกรรมที่อัดแน่นจนเทียบไม่มีเวลากระดิกตัว ที่สำคัญกิจกรรมนี้ไม่เพียงทำให้ผู้ฝึกเข้าใจตัวเอง แต่ยังทำให้เข้าใจคนรอบข้างได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

                กิจกรรม “ดรัมเซอร์เคิล” เริ่มจากการที่ อ.นริศ ให้ผู้ฝึกเริ่มต้นสำรวจสัญญาณเตือนจากร่างกาย โดยการยืนเป็นวงกลม พร้อมกับก้าวเท้าออกมาด้านหน้า 2 ก้าว ตามด้วยการสำรวจเรื่องที่ทำให้คุณรู้สึกไม่ดี หรือเป็นสิ่งที่กระทบจิตใจของคุณ (คิดในใจ) จากนั้นให้ฝึกลองสำรวจตัวเองว่า เวลาที่เราคิดถึงเรื่องที่ไม่สบายใจนั้น ผู้ฝึกรู้สึกอย่าง เช่น ใจเต้นแรง, อึดอัด, ตึงเครียด, ไม่สบายใจ, ขนลุก, ร้อนเย็น จากนั้นให้ผู้ฝึกก้าวเท้ากลับไปยืนในจุดเดิม ทั้งนี้หากผู้ฝึกมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นนั้น นับถือเป็นความเครียดอย่างหนึ่ง และนั่นจะทำให้ร่างกายบอกกับตัวเราเองว่า ร่างกายของเราไม่ปลอดภัยจากภาวะตึงเครียด จากเรื่องราวต่างๆ ที่เราได้รับ อีกทั้งภาวะหดเกร็ง เครียด ที่กล่าวมาข้างต้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ร่างกายของเราทำขึ้นเพื่อป้องกันตัวเอง และเมื่อบรรยากาศเข้าสู่ความปลอดภัย ร่างกายก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลังจากที่ฝึกการเรียนรู้สัญญาณเตือนของร่างกายแบบอัตโนมัติเกี่ยวกับความเครียดที่มนุษย์ได้รับแล้ว เข้าสู่ขั้นตอนของการตีกลองสะท้อนอารมณ์ “ดรัมเซอร์เคิล” เพื่อนำไปสู่การรู้เท่าทันตัวเอง และเป็นไอเดียในการแก้ไขสาเหตุของปัญหาหรือความเครียดได้ในที่สุด

                อ.นริศ บอกว่า “สำหรับหลักของการตีกลอง ดังกล่าวนั้น ประกอบด้วย 5 ข้อ 1.ให้จังหวะกลองที่ตีเป็นผู้นำตัวคุณ 2.แสดงความรู้สึกของตัวเองออกมาในขณะที่ตีกลอง ซึ่งไม่มีสิ่งถูกผิด 3.ตีกลองออกมาในเชิงของความสร้างสรรค์ 4.เสียงกลองของแต่ละคนนั้นจะแตกต่างกัน หรือหนักเบาต่างกัน ตามปัญหาหรือผลกระทบที่ได้รับ 5.ความรู้สึกปล่อยวางหลังตีกลองสะท้อนอารมณ์

                ส่วน “วิธีของการตีกลอง เริ่มจาก 1.ผู้ฝึกนำกลองมากอดไว้ที่หัวใจ พร้อมกับใช้มืออีกอย่างตีกลอง โดยคิดถึงเรื่องที่ทำให้รู้สึกเครียดและไม่สบายใจ หรืองานมีปัญหา (ความรู้สึกภายในใจจะสะท้อนออกมาผ่านเสียงกลอง ที่รัวหนักเบาแตกต่างกันในแต่ละคน) 2.ให้ผู้ฝึกหามุมตีกลองที่ตัวเองถนัด (แยกกันตีในมุมของตัวเอง) เพื่อสะท้อนอารมณ์หรือทำให้ฝึกได้ระบาย 3.ให้ผู้ฝึกเดินเข้าไปหากระดาษ 2 สี ตามคำบอกของครูผู้ฝึก ทั้งนี้ “กระดาษสีแดง” สะท้อน เช่น ประทับใจ, รำคาญ, สนุกสนาน, ร้อน, หนาว, เครียด, ปวดร้าว เป็นต้น ส่วน “กระดาษสีเหลือง” สะท้อนความต้องการ เช่น ต้องการความเข้าใจ, ต้องการการยอมรับ, ต้องการความสุข, ต้องการความสุข 4.ให้ผู้ฝึกเดินตีกลองไปหยิบกระดาษสีแดงก่อน เพื่อให้ผู้ฝึกรู้ความต้องการหรือรู้อารมณ์ของตัวเอง และตามด้วยกระดาษสีเหลือง ซึ่งถือเป็นจุดไคลแม็กซ์ที่จะทำให้ผู้ฝึกตีกลองนั้นมองเห็นทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต ว่าอันที่จริงแล้วเราต้องการอะไรกันแน่ เพื่อกลับไปแก้ไขสิ่งที่เป็นให้ดียิ่งขึ้น ทำให้ปัญหาเกิดการคลี่คลายไปในทางที่ดี

                ประโยชน์ของการ “ดรัมเซอร์เคิล” มีอยู่ค่อนข้างหลากหลาย เพราะเสียงดนตรีนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยบำบัดความเครียดได้ เพราะในร่างกายของมนุษย์ล้วนเต็มไปด้วยจังหวะ ตั้งแต่การหายใจ การเต้นของหัวใจ หรือแม้แต่การทำงานของสมองที่ต้องทำอย่างเป็นจังหวะ ที่สำคัญยังมีการงานวิจัยในอังกฤษที่ออกมาระบุว่า การตีกลองสัปดาห์ละ 90 นาที รวม 10 สัปดาห์ จะช่วยลดความเศร้าลงได้ นอกจากนี้หากผู้ฝึกอยู่ในวัยทำงาน ก็จะช่วยลดอาการหมดไฟในการทำงานลงได้ ส่วนการฝึกในเด็กและวัยรุ่นนั้น ก็จะช่วยลดความโกรธและเครียดจากการเรียนการใช้ชีวิตได้ โดยสรุปแล้วหลักการของการตีกลอง หรือ “ดรัมเซอร์เคิล” คือการค้นหาความรู้สึก และความต้องการของเรา ว่าแท้จริงแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์เรานั้นคืออะไร และจะแก้ไขอย่างไร โดยการอ่านข้อความที่อยู่ในกระดาษทั้ง 2 สีประกอบ เพื่อเป็นไกด์ไลน์ของการหาทางออกร่วมกันนั่นเอง”.

--------------------------------------

 

 

                เด็กและเยาวชนเรียนรู้ดรัมเซอร์เคิล...ได้อะไร??

 

                อ.นริศ บอกว่า “คำถามที่ว่าการตีกลองสามารถนำไปใช้กับเด็กได้อย่างไร สำหรับเด็กข้อดีคือว่ามันตอบโจทย์คือความสนุกสนาน ดังนั้นการตีกลองดรัมเซอร์เคิลก็เท่ากับเป็นการให้เด็กมีโอกาสเล่นกลอง ซึ่งเด็กก็จะทำให้สนุกสนานและเฮฮา แต่โดยรวมแล้วดรัมเซอร์เคิลตอบโจทย์เด็กและเยาวชนได้อย่างไรนั้น มันจะช่วยให้เขาลดความตึงเครียด เพราะเด็กยุคใหม่เรียนหนัก และมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ว่ายน้ำ ตีเทนนิส แตะฟุตบอล และต้องไปเรียนพิเศษอีก โดยเฉพาะเด็กที่อาศัยอยู่ในเมือง ดังนั้นนอกจากการเล่นกีฬาแล้ว การตีกลองก็เป็นอีกการสร้างความผ่อนคลายให้กับเด็กได้อีกวิธีหนึ่ง

                สำหรับตัวอย่างกิจกรรมในวันนี้ เราดีไซน์ขึ้นมาสำหรับผู้ใหญ่ แต่จากประสบการณ์ที่เคยเห็นนั้น มีการใช้ในเด็กและเยาวชน เช่น กรณีที่เด็กรู้สึกไม่สบายใจ อึดอัด และต้องการเวลาพักผ่อน แต่เราอาจจะต้องหาเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับเด็กให้มากขึ้น หรือดีไซน์ให้เหมาะสมกับเด็ก เช่น ทำการ์ดรูปภาพ เพื่อสื่อถึงอารมณ์และความต้องการของเด็ก เพื่อให้เด็กดูแล้วสื่อความหมาย เป็นต้น เพราะถ้าเด็กดูรูปภาพการ์ดที่ผู้ใหญ่ทำขึ้น เด็กก็จะเข้าใจและสื่อสารอารมณ์ของตัวเองออกมาได้อย่างชัดเจน เนื่องจากเด็กบางคนจะสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด แต่จะสะท้อนผ่านการหยิบการ์ดรูปภาพขึ้นมา (เปลี่ยนจากตัวอักษรบนกระดาษ เป็นวาดภาพรูปการ์ตูน เพื่อสื่ออารมณ์และความต้องการของเด็ก) สำหรับประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ คือการที่เขาจะรู้อารมณ์ และความรู้สึกของตัวเองได้ เพราะถ้าเขารู้ว่าถ้าเขารู้สึกแบบนี้ มันจะทำให้เด็กรู้ว่าคำพูดหรือความต้องการที่แท้จริงมันคืออะไร เขาก็จะดูแลอารมณ์และความต้องการของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น

                เช่น เวลาที่เด็กไปซื้อของกับพ่อแม่ ถ้าเด็กรู้ความต้องการของเขาเอง คือหมายความว่าเด็กชอบอะไรที่สวยๆ มีสีสัน ฉะนั้นการเลือกซื้อของก็จะตรงจุด หรือได้ของเล่นที่ถูกใจเด็ก ส่วนการเรียนก็เช่นกัน แต่อย่างน้อยที่สุด คือครอบครัวสามารถใช้กิจกรรม “ดรัมเซอร์เคิล” เพื่อให้ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ผมคิดว่าพ่อแม่ควรให้ทางเลือกเด็ก และให้เด็กเลือกทำ แทนที่พ่อแม่จะเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับเขา เนื่องจากบางครั้งพ่อแม่สนใจเรื่องดรัมเซอร์เคิลก็จะบังคับให้ลูกทำ ประกอบกับเด็กมีกิจกรรมมากมาย มันจะกลายเป็นว่าทำให้เด็กไม่ได้มีทางเลือกด้วยตัวเขาเอง เพราะการให้เขามีทางเลือก ในการที่ผู้ใหญ่เสนอทางเลือกนี้ไป และลูกๆ ตอบรับ นั่นแปลว่าเขาอยากเรียนรู้เรื่องของ “ดรัมเซอร์เคิล” ก็จะทำให้การฝึกฝนนั้นเป็นไปแบบมีความสุข แต่ถ้าเป็นการให้ที่เป็นคำสั่งของพ่อแม่ เด็กก็จะไม่มีความสุข ตรงกันข้ามถ้าเด็กได้เลือกทำอะไรที่เขาชอบ ก็จะทำให้เด็กมีความสุขทางใจมากกว่า พูดง่ายๆ ว่าถามลูกก่อนว่าชอบวิธีนี้หรือไม่ หรือให้เด็กลองดู ถ้าลูกไม่ชอบก็ไม่ต้องบังคับ แต่ถ้าชอบก็สนับสนุนเขาต่อไป”

                อ.นริศ กล่าวเสริมว่า “สำหรับประโยชน์ที่เราเจอในผู้ใหญ่ คือทำให้ผู้ใหญ่รู้ว่าเขาต้องการอะไร และจะแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างไร ส่วนในเด็กเล็กและเยาวชนนั้น ก็ทำให้เขารู้ว่าเขาต้องการอะไรเช่นกัน เพราะด้วยวัยที่ยังเด็กมากเกินไป จึงทำให้ไม่รู้ความต้องการของตัวเอง รวมถึงยังทำให้เด็กมองเห็นอาชีพที่อิสระ มั่นคง เมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นถ้าเขาได้ฝึกจากความสนใจจริงๆ ก็จะทำให้เขาได้เรียนรู้คีย์เวิร์ดตรงนี้ และทำให้เขาสามารถไปค้นหาอาชีพที่เขารักได้เมื่อโตขึ้น

                สำหรับระยะเวลาในการฝึก กรณีที่ถ้าเด็กสนใจ ต้องบอกว่าเนื่องการเล่นดนตรีใช้เวลาเท่าไร มันก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็ก พูดง่ายๆ ระยะเวลาการฝึกที่เห็นผลนั้นขึ้นอยู่กับตัวเด็กแต่ละคน เพราะสิ่งสำคัญคือเมื่อทำแล้ว เด็กรู้สึกแฮปปี้และสบายใจ อีกทั้งมีทัศนคติที่ดีกับเด็กอื่นๆ แต่ถ้าเขาสนใจจริงๆ เขาก็จะนำไปต่อยอดในเรื่องต่างๆ เอง หากว่าเขาเลือกแล้ว เด็กก็จะทำให้ด้วยความมุ่งมั่น และหันมาสนใจจริง ส่วนกิจกรรม “ดรัมเซอร์เคิล” นั้น ไม่จำเป็นเข้าคอร์สเรียน เพราะถ้าสนใจจริงๆ ในยูทูบก็จะมีการสอน หรือการโชว์ให้ดูในสื่อออนไลน์ ผู้ปกครองสามารถนำมาพลิกแพลงใช้ เพื่อให้เด็กรู้เท่าทันอารมณ์ของตัวเองได้เช่นกันครับ”. 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"