เสียงแตกผลสำรวจสูสีหนุน-ต้าน 'ทอน' ปลุกม็อบ


เพิ่มเพื่อน    

22 ธ.ค. 2562 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ธนาธร ปลุกม็อบ”   ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16 - 17 ธันวาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ      รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,277 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จัดกิจกรรมการชุมนุม (แฟลชม็อบ)          บริเวณสกายวอล์ค สี่แยกปทุมวัน เมื่อวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จัดกิจกรรมการชุมนุม (แฟลชม็อบ) บริเวณสกายวอล์ค สี่แยกปทุมวัน เมื่อวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 30.62 ระบุว่า เป็นสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมที่ปราศจากอาวุธและความรุนแรง รองลงมา ร้อยละ 16.76 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่ออนาคตของประเทศ ร้อยละ 16.60 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตยและต่อต้านเผด็จการ ร้อยละ 15.74 ระบุว่า เบื่อการชุมนุมบนท้องถนน ร้อยละ 14.57 ระบุว่า เป็นจุดเริ่มต้นของความแตกแยกและสถานการณ์ความวุ่นวายในอนาคต ร้อยละ 10.88 ระบุว่า เป็นการจัดการชุมนุมเพื่อต่อต้านความไม่ยุติธรรมในสังคม ร้อยละ 10.34 ระบุว่า เป็นการจัดชุมนุมเพื่อปกป้องนายธนาธร และ พรรคอนาคตใหม่ที่กำลังโดนคดีความต่าง ๆ ร้อยละ 4.31 ระบุว่า เป็นเรื่องของการไม่ยอมรับในกฎหมาย กติกาในสังคม ร้อยละ 2.82 ระบุว่า เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายการชุมนุม และร้อยละ 5.25 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดกิจกรรมการชุมนุม (แฟลชม็อบ) เมื่อวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 พบว่า    ร้อยละ 27.80 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ เป็นการชุมนุมเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม เสรีภาพ ให้กับประชาชน โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับบ้านเมือง ขณะที่บางส่วนระบุว่า อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงโดยการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทนคนเก่าที่เป็นอยู่ ร้อยละ 20.75   ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะ เป็นสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของประชาชน ถ้าไม่ทำให้การชุมนุมบานปลายสร้างความวุ่นวาย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเห็นประเทศไทยมีการพัฒนาขึ้นในทุก ๆ ด้าน ร้อยละ 15.35 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ เบื่อการชุมนุมน่าจะต่อสู้   ตามกระบวนการกฎหมายมากกว่าออกมาสู้แบบการชุมนุม เนื่องจากจะทำให้เกิดความวุ่นวาย ความแตกแยกในสังคม และจะส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน ร้อยละ 28.35 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ การจัดชุมนุมไม่สามารถทำให้ประเทศพัฒนาไปข้างหน้าได้ สร้างความเดือดร้อนให้กับประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เป็นการทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัวมากกว่า และกลัวบ้านเมืองจะเกิดความแตกแยก วุ่นวาย เหมือนในอดีตที่ผ่านมา และร้อยละ 7.75 ระบุว่า เฉย ๆ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ   


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"